อะไรคือ CUP Board


เป็นหน่วยที่เล็กสุดที่สามารถทำสัญญาในการให้บริการแก่ประชาชน กับผู้ซื้อบริการได้ ซึ่งหมายถึงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) CUP Board จึงทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารเครือข่ายหน่วยบริการ

     ต่อจากบันทึกที่นำเสนอไว้ คือ จาก กพ.สอ. มาเป็น คปสอ. ในระบบสุขภาพระดับอำเภอ ซึ่งในปัจจุบันระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ก็มีคณะกรรมการบริหารเครือข่ายหน่วยบริการ หรือ CUP Board ด้วย และยังไม่มีการยกเลิกคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ หรือ คปสอ. (District Heallth Coordinating Committee: DHCC) แต่อย่างได ฉะนั้นทั้ง ทั้ง DHCC และ CUP Board จึงเป็นคนละเรื่องกัน เรื่องนี้ที่จังหวัดพัทลุงมีเครือข่ายหน่วยบริการ (CUP) หนึ่ง คือ CUP เมืองพัทลุง จะมีโครงสร้างภายในเป็น 2 คปสอ. คือ คปสอ.เมืองพัทลุง และ คปสอ.กิ่ง อ.ศรีนครินทร์

     เมื่อได้เล่าแล้วเรื่อง DHCC แต่นิยมเรียกว่า คปสอ. (ไม่ค่อยมีใครเรียก DHCC) ก็จะขอเล่าถึงเรื่อง CUP Board (หรือ คณะกรรมการบริหารเครือข่ายหน่วยบริการ อันนี้ก็ไม่ค่อยมีใครเรียกเช่นกัน) บ้าง

     CUP Board เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามนโยบายของรัฐบาล คือ ปี 2543- 2544 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ได้มีการพูดถึงอยู่บ้าง เช่น ความพยายามจะเปลี่ยน คปสอ.เป็น กสพ. หรือคณะกรรมการสุขภาพพื้นที่ เป็นต้น แต่ก็ไม่สำเร็จ ไป ๆ มา ๆ ก็มาเป็น คณะกรรมการบริหารเครือข่ายหน่วยบริการ หรือ CUP Board โดย CUP หรือ Contracting Unit of Primary Care ถือเป็นผู้ให้บริการที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายบริการมีบริการระดับปฐมภูมิ มีหน่วยบริการหลัก มีหน่วยบริการรอง อย่างครบถ้วนภายในเครือข่าย เป็นหน่วยที่เล็กสุดที่สามารถทำสัญญาในการให้บริการแก่ประชาชน กับผู้ซื้อบริการได้ ซึ่งหมายถึงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) CUP Board จึงทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารเครือข่ายหน่วยบริการนี้ โดยมีหน้าที่ที่สรุปมาได้ดังนี้

          1. บริหารจัดการในภาพรวมของระดับอำเภอ ที่ทำหน้าที่ทั้งในด้านการบริหารงาน บริหารงบประมาณ สนับสนุน และติดตามประเมินผล ซึ่งในระยะยาวต้องพัฒนาไปสู่ระบบภายใต้การกระจายอำนาจ

          2. จัดการให้มีการขึ้นทะเบียนสิทธิ ระบบข้อมูล ฐานประชากรที่ขึ้นทะเบียน ฐานข้อมูลและเวชระเบียนเพื่อให้ใช้ในการบริการปัญหาเฉียบพลัน ปัญหาเรื้อรัง ระบบข้อมูลเพื่อการติดตามผู้ป่วย ระบบข้อมูลเพื่อการกำกับผลงาน ความครอบคลุม คุณภาพงาน

          3. การพัฒนาบุคลากรการและจัดการองค์ความรู้ของบุคลากรในแต่ละระดับ

          4. การจัดการการเงิน การคลัง ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

          5. บริหารเงิน ภายในเครือข่ายทั้งหมด และการตามจ่ายนอกเครือข่าย

          6. บริหารจัดการให้มีบริการตามเป้าหมาย และตามเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมติดตามกำกับ และสนับสนุน

          7. ส่งเสริมการสร้างสุขภาพ เร่งการสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพที่เห็นผล มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นการปรับพฤติกรรม

          8. สนับสนุนการจัดบริการตามสิทธิประโยชน์ของประชาชน

          9. การพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานตามที่กำหนด

     คงต้องติดตามอ่านในบันทึกตอน [จะบูรณาการ DHCC กับ CUP Board อย่างไร] ก็จะครบถ้วนประเด็นที่วางไว้ คือการสะท้อนให้เห็นโอกาสในการพัฒนาระบบสุขภาพที่เป็นการปรับจุดอ่อนเดิมของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ด้วย จุดแข็งของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายหน่วยบริการ และกลับกันก็ลดความแข็งกระด้างเกินไปของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายหน่วยบริการ ด้วยคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ หากใครจะได้ร่วม ลปรร.กันบ้างในประเด็นนี้ก็ขอเชิญด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 9993เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2005 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ของอำเภอผมมีคณะกรรมการชุดเดียวครับ คือ คปสอ. ผมได้เขียนไว้บางส่วนเผื่อจะมีอะไรชี้แนะครับ

คปสอ.บ้านตาก จะบริหารจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพในอำเภอครับ มีประชุมกันทุกเดือน มีวาระที่แน่นอน มีกรรมการที่มาจากทั้งโรงพยาบาล สสอ. สถานีอนามัยและตัวแทนชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ พวกเราเลยไม่คุ้นกับคำว่าCup Board แต่ชินกับ คปสอ.มาตลอด

เรียนท่าน ผอ.พิเชฐ

 เป็นการบูรณาการที่เป็นตัวอย่างที่ดีมากครับ จะได้ทิศทางชัดเจน ระบบเดียว ทีมเดียว ประชาชนในถิ่นเดียวกัน ประเทศเดียวกัน(ไทย)ครับ

JJ

     ในบันทึกหน้าจะเล่าต่อเรื่องที่บูรณาการกันเข้าทุก คปสอ.ครับ (เว้น เมืองพัทลุง และ กิ่ง อ.ศรีนครินทร์)

     ที่ CUP เมือง เมื่อสอบถามเหตุผล (จากรายงานการประชุม) ก็ได้ว่า เพราะความต่างของเขตเมือง (เทศบาลเมือง) กับเขตชนบท (กิ่ง อ.ศรีนครินทร์) จึงคงความเป็น 2 คปสอ.ไว้

     การบูรณาการที่ว่านะดีแน่ครับ แต่ถ้าบอกบูรณาการ แต่แท้จริงคือตัดออกเหลือเพียง คปสอ. หมายความว่า ถ้างบประมาณจาก UC มาถึง รพ.แม่ข่ายตัดสินใจจัดการไปเองหมด เหลือแต่งบ P&P นิดหน่อยนำเข้า คปสอ. อย่างนี้แหละที่ไม่โปร่งใสตรวจสอบได้ แล้วก็ยังมีอยู่จริง ๆ ระบบสุขภาพระดับอำเภอที่ยังไม่จริงใจกันทั้ง สอ./สสอ./รพ. ไม่ไว้ใจกันก่อน ประชาชนจะได้อะไรครับ ตอบได้ยากมาก

     เรื่องนี้ต้องการความเห็นจากหมออนามัย สสอ. บ้าง ต้องเอาเรื่องจริงมาเล่า ถึงจะได้เกิดการพัฒนาครับ

ขอทราบอำนาจหน้าที่ของcup แบบละเอียดหน่อยครับ พอดีทำรายงานอยู่ในเรื่องความแตกต่างของCup การบริหารจัดการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท