เริ่มทำวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายๆกันดีกว่า(2)


ทำวิจัยในชั้นเรียนนี้ ทำในทุกห้องเรียน หมายถึง 6 ห้องเรียนที่ครูอ้อยสอนนั้น ครูอ้อยต้องจัทำไปพร้อมๆกัน ซึ่งครูอ้อยจะเห็นถึงความแตกต่างและศักยภาพของนักเรียนได้ชัดเจนทีเดียว
เมื่อวานก่อนนี้ครูอ้อยได้จัดทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่ายซึ่งได้เขียนในบันทึกเรื่อง      เริ่มทำวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายๆกันดีกว่า  แล้ว 
ซึ่งได้รับความสนใจจากท่าน  วรชัย  หลักคำ 
จึงทำให้ครูอ้อยมาเขียนบันทึกเรื่องนี้อีกครั้ง  เพื่อท่านจะได้จัดทำไปพร้อมๆกับครูอ้อย  
หลังจากที่ทำแบบทดสอบ 10 ข้อ  ถ่ายเอกสารดิจิตอลจนครบจำนวนนักเรียนแล้ว 
หลังจากที่ได้เกริ่นนำ  เรื่อง  กฏ  กติกา  มารยาท  ชี้แจงหนังสือเรียน  สมุดและอุปกรณ์   แนะนำหนังสือ  ..... รายงานไปบ้าน  ให้นักเรียนได้รู้จัก  และตระหนักในคุณค่า  
 เมื่อนักเรียนทำแบบทดสอบครบแล้ว  จึงตรวจให้คะแนน  และจัดกลุ่มนักเรียน 3 กลุ่ม   ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเกณฑ์การให้คะแนนลดหลั่นกันไป    นักเรียนแต่ละคนทราบดีแล้ว  
นักเรียนบางคนประเมินตนเองไว้ในระดับปานกลาง   ซึ่งตัวนักเรียนเองก็ย่อมรับรู้ศักยภาพของตนเอง   เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดี   ที่ทำให้นักเรียนต้องมีการพัฒนา 
เมื่อวานนี้  บางห้องเรียนได้รับคะแนนและการจัดกลุ่มแล้ว  ซึ่งครูอ้อยใช้วิธีวาดรูปบ้าน 3 หลังไว้บนกระดาน
 
     
หลังจากประกาศว่า...ใครได้คะแนนเท่าไร  นักเรียนก็เดินมาเขียนชื่อของตนเองลงในบ้านหลังที่ตัวเองควรอยู่   
เป็นอันว่า  ครูอ้อยจัดกลุ่มให้นักเรียนเสร็จแล้ว  
คราวนี้ล่ะจะได้เริ่มขั้นตอนของการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ชัดเจนเสียที....    ในบันทึกอันดับต่อไป
หมายเลขบันทึก: 96946เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 04:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ดีจังค่ะ  จะคอยติดตามผลนะคะ

    ผมจะขออนุญาตก๊อป

    ฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยคนครับ คงไม่รังเกียจนะครับ

สวัสดีค่ะ

ครูอ้อยมีไฟมากๆค่ะ ยอดๆค่ะ คุณยายอ้อย จะมีหลานหรือยังคะ

ครูอ้อย ต้องเป็นยอดคุณยายแน่ๆค่ะ

http://gotoknow.org/blog/goodliving/96908

สวัสดีค่ะน้อง...sprite

  • ครูอ้อยจัดทำเนื้อหา  ซึ่งเป็นเครื่องมือชุดแรกเสร็จแล้วค่ะ   แต่ไม่ได้จัดทำเป็น PDF ซึ่งจะไม่ทันเวลากับการใช้นะคะ  ก็เสร็จสมบูรณ์แล้วมีเวลา  ครูอ้อยจะทำเผยแพร่ค่ะ  ตอนนี้ก็คงจะไปแต่เพียงวิธีการเท่านั้น    กำลังเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ติดตาม

สวัสดีค่ะท่าน....นายวรชัย หลักคำ

  • ท่านก็จะเป็นศิษย์รุ่นแรกค่ะ....ครูอ้อยดำเนินการไปยังขั้นตอนที่ 3 แล้วค่ะ 
  • ขั้นตอนที่ 3 ที่กล่าวถึงเครื่องมือที่นำไปสู่นักเรียนได้เรียนรู้แล้วนะคะ   จะได้เห็นการพัฒนาของนักเรียนที่ต้องมี pre-test ก่อนเรียน   และ  post-test  หลังเรียนแล้วล่ะค่ะ
  • อดทนนิดนึงที่จะสร้างเครื่องมือให้ทันเวลา  แต่คุ้มค่าเมื่อได้ช่วยเหลือนักเรียนอย่างแท้จริงค่ะ

ขอบคุณค่ะที่จะเป็นศิษย์  ..หากขี้เกียจ  จะทำโทษนะคะ

สวัสดีค่ะคุณพี่...sasinanda

  • ครูอ้อยทำเป็นตัวอย่างแก่เพื่อนครูค่ะ  เผื่อว่าจะเป็นแรงหนึ่งที่ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในการจัดการเรียนรู้  ..ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดค่ะ...และไม่ได้ทิ้งเด็กนักเรียนของเราด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะที่เป็นกำลังใจให้ครูอ้อยเสมอมา...

นางเนตรหทัย เรืองสุข

ลองclickเพื่อติดตามในวันนี้ แล้วเล็งเห็นเค้าร่างว่า ได้ดำเนินงานวิจัยในระดับใกล้เคียงกับครูอ้อยในวันนี้แล้ว เพราะจัดอันดับคุณภาพให้กับนักเรียนแล้วเช่นกัน แล้วจะติดตามต่อไปค่ะ

                                ขอบคุณ

สวัสดีค่ะคุณน้อง...นางเนตรหทัย เรืองสุข

  • ขอบคุณค่ะที่ติดตาม...ระยะนี้..วางแผนการในขั้นต่อไปก่อน

1.   วิเคราะห์บทเรียน แบบ two in one หมายถึง  ให้ได้การอ่านคิด วิเคราะห์   และได้เครื่องมือในการทำวิจัยที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตร

2.  หาคุณภาพของเครื่องมือด้วยการออกแบบทดสอบหลายประเภท  ไม่น่าจะมี choice  อย่างเดียว  มีการโยงเส้นจับคู่  หรือ เติมตัวอักษรที่หายไป 

3.  จากนั้น  หาค่า ioc โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ  คือ  ครูภาษาอังกฤษด้วยกัน  เช็คสิลต์ให้หน่อย  และหาค่า  ตามสูตรออกมา  จะได้ค่า ioc  ทราบแล้วใช่ไหมคะ

อ้อ..รออ่านบันทึกใหม่ดีกว่านะคะ..เดี๋ยวจะยาวค่ะ

ขอบคุณค่ะค่ะ

  • จะกวนใจมากไปไหมครับ อยากให้พี่ลง ข้อสอบ 10 ข้อด้วยครับ ถ้าจะยุ่งยากเกินไป ก็ไม่เป็นไรครับ

สวัสดีค่ะครูบัว...ครู บัว ทองกะไลย

  • คำถาม 10 ข้อ  ไม่ลืมค่ะ...ขอเวลาสักนิดค่ะ
  • กำลังจัดให้ค่ะ  หาไฟล์ก่อนค่ะ

จะขอเดินตามแนวทางครูอ้อยอีกคน

ครูปุ๊ก

สวัสดีค่ะครูปุ๊ก

ยินดีต้อนรับ  ผู้ร่วมเดินทางไปกันอย่างสุขุมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท