ระบบบริการสุขภาพ คิดเชื่อมโยง บูรณาการปัญหาเสี่ยง โรคติดต่อทางเดินหายใจ


ในฐานะของนักวิชาการสาธารณสุข  ผมยินดีแลกเปลี่ยนมุมมอง การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

ผมเชื่อส่วนตัวมานานแล้วว่า  ต้องพัฒนาโพลีคลินิคของราชการ หรือ ท้องถิ่นก็แล้วแต่  ให้มีความชำนาญ การรักษาควบคุมโรคติดต่อ

ผมเชื่อตั้งแต่ ผมทำงาน เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ ทางใต้  แล้วย้ายมาทำงานที่ รพ หาดใหญ่ ในปี 2539  เพื่อทำโพลีคลินิคของราชการ และมุ่งเป้า รักษาวัณโรค ซึ่งจัดเป็นโรคของคนจน  ตั้งใจรักษาอย่างดี ให้ฟรีทุกอย่าง ค่ายา ค่าตรวจ (ก่อนยุค30บาท ที่มาเริ่มในปี 43)

พบว่า มีผลการรักษา ค่อนข้างดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป  แต่ผลลัพธ์นี้ ไม่ยั่งยืน เมื่อคลินิค มีภาระงานมาก  มีจำนวนแพทย์มากนับ 10 คน

หากวันนี้ โรคSARS หรือ ไข้หวัดนกกลายพันธ์ กลับมาระบาดจริงๆ  ลองคิดดูว่า   โรงพยาบาลจะเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อ จากความแออัด  เลวร้ายขนาดใด

ดังนั้น ผมขอเสนอ ต่อ  กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และ สำนักควบคุมโรคต่างๆ  รวมถึง ผู้บริหารระดับบนๆ และ  รวมถึงสปสช ทั้งหลายว่า

1 จะดีมั้ย หากเราคิดพ่วง บูรณาการ การลดความแออัด รพ ใหญ่  รวมกับ การคิดมุ่ง ให้ศูนย์สุขภาพบางศูนย์นำร่อง เป็นศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ ท้องถิ่น ไปด้วย

 เรื่องนี้ ยังไม่มีการดำเนินการ ในปัจจุบัน  แต่ควรมองความเป็นไปได้ แล้ว หาพี่เลี่ยง ช่วยกระตุ้น ให้มีโครงการนำร่อง หลายๆรูปแบบ ของสังคมไทย  อย่างน้อย  13 จังหวัด นำร่อง ของ โครงการลดความแออัด รพ ใหญ่   ต้องเริ่มไปก่อน

งานนี้ จะเป็น ภาคีความร่วมมือ ระหว่งาง สปสช  กรมควบคุมโรค และ องค์กรปกครองท้องถิ่น   

ต้องตกลงกันว่า งบประมาณ ร่วมลงขันอย่างไร

บุคลากร จะจัดสรร กันอย่างไร    จะฝึกอบรมใหม่ กันอย่างไร   สายการบังคับบัญชา จะเป็นอย่างไร   

สถานบริการ จะเป็นส่วนราชการ สังกัด กับใคร  ท้องถิ่น หรือ สาธารณสุข

การควบคุมโรค ตามการกระจายอำนาจ เป็นบทบาท ของท้องถิ่น แต่ความชำนาญของท้องถิ่น ยังไม่มาก ( ยกเว้น กทม ที่มีศักยภาพสูง )

โอกาสเช่นนี้ หากบูรณาการได้  จะดีต่อระบบสุขภาพของประเทศ

เท่าที่ผมทราบ จากบทความรายงานของบางประเทศ คือ จีน เขาปรับเปลี่ยน สร้างขึ้นใหม่ เป็นหน่วยบริการควบคุมโรค ขนาดย่อย ( เรียก CDC  faclity )  หลายพันแห่ง

ปรากฎว่า เกิดผลพลอยได้ คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค ครอบคลุม และมีผลลัพธ์ดี ขึ้น อย่างพุ่งพรวด

กลายเป็นบทเรียน แก่ นานาชาติ ไปเลย  จากการจัดการเพื่อหวังป้องกัน โรค SARS และกลุ่มโรคติดต่อทางเดินหายใจ

2 ควรเพิ่ม ความชำนาญ ด้านการบริการ และควบคุมโรคติดต่อคุกคามเยาวชนด้วย  ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกัน โรคเอดส์ด้วย

3  ควรทบทวนบทบาท ภาระกิจ บริการสุขภาพ ว่า  ควรมุ่งสัดส่วนอะไรมากน้อย  ระหว่างโรคติดต่อ กับ โรคไม่ติดต่อ    งบประมาณที่มีไม่พอจัดสรร เราควรเลือก ทุ่มเท กับโรคอะไร เช่น เชื้อรา ที่เล็บ ค่ายา  3พันบาท ต่อผู้ป่วย 1 ราย กับ ค่ารักษาวัณโรค 1ราย 3พันบาท  ขณะนี้ นานาชาติ มึนกับการจัดการระบบสุขภาพของไทย ว่า ทำไมการจัดงบประมาณดูแลรักษาวัณโรค ของประเทศไทย มั่วมากๆ  แถมผลงานการรักษาผู้ป่วย อ่อนด้อย แพ้ ทุกประเทศในกลุ่มอาเชียน แพ้ตั้งแต่ พม่า   เวียดนาม  จีน เขมร  อินโด  มีฝีมือระดับ กลุ่มแอฟริกา

หากผมเป็นนักลงทุน(ไม่ใช่ ขายยา )  รู้จักระบบสุขภาพไทยดี   ผมก็คงเลือกไปเวียดนาม จีน   พม่า   เพราะประเทศเขาเหล่านั้น ควบคุมโรคติดต่อพื้นฐาน ดีกว่า ไทย

เชิญร่วมวงถกเถียงได้ครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #ควบคุมโรค
หมายเลขบันทึก: 93533เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมกำลังค้นคว้า ทำอุปกรณ์ที่ใช้การกรอง และการฆ่าเชื้อด้วย UV-C ควบคุมให้อากาศไหลจากบนลงล่าง

จะมีประโยชน์ช่วยเหลืออะไรได้บ้างครับ

หมอวีรพัฒน์ รพ หาดใหญ่

มีประโยชน์มากเลยครับ 

แต่ต้องหาคุณหมอ ที่เชื่อถือ ความคิด เรา และ เราสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ได้ผลจริง  จึงได้ประดยชน์จริง

ห้องแยก รพ ต่างๆ ปัจจุบัน พยายามปรับอย่างที่คุณเสนอครับ คือ  มีแสง UV ฆ่าเชื้อ โดยแสงไม่โดนตาเราโดยตรง

และ มีระบบหมุนเวียนอากาศ และ กรองอากาศ

 

ค่ารักษาโรคแพงมั้ยครับ

ไม่บอกชื่อโรค จะตอบคงไม่ตรง กับที่อยากรู้ โดยทั่วไป วัณโรค ในประเทศไทย บางรพ.รักษา ให้ท่านฟรีได้ครับ แต่ต้องสอบถาม สักหน่อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท