การสร้างทฤษฎีสังคมศาสตร์จากแบบแผนทางวิทยาศาสตร์


การสร้างทฤษฎี สังคมศาสตร์ ปฏิฐานนิยม

             ในระดับปรัชญาแล้ว แนวคิดของสาขาวิชาต่าง ๆ มีฐานความคิดที่ร่วมกันอยู่อย่างน่าตื่นเต้น องค์ความรู้ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ได้บ่งชี้ให้เราเห็นเรื่องนี้อย่างชัดเจน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วต้นสายของแขนงความรู้ของมนุษย์อาจบรรจบกันเข้าเป็นเส้นทางเดียวกัน ดังเช่น สายพันธุ์ของมนุษย์     ศาสนาต่าง ๆ ของโลก และเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตมนุษย์   ถ้าหากเราทำความเข้าใจกฎพื้นฐานเหล่านี้ได้แล้ว ความเป็นอื่น (Others) อาจลดความเข้มข้น (Degree) ลง และวิถีทางของมนุษย์อาจเดินไปในเส้นทางที่ไม่ขัดแย้ง ราบรื่น สงบสุข มากกว่าที่เป็นอยู่             AS THE FUTURE CATCHES YOU หนังสือเล่มแรก ๆ ที่นายกฯ ทักษิน ชินวัตร แนะนำให้รัฐมนตรีร่วมรัฐบาลอ่าน  กล่าวถึงความรู้ทางชีววิทยาว่า             พันธุศาสตร์... ภาษาหลักลำดับต่อไป ... สังคมใดที่ไม่เข้าใจถึงการค้นพบทางพันธุกรรมหรือไม่เข้าใจถึงความท้าทายที่จะตามมาจากการค้นพบครั้งนี้ ... ก็จะกลายเป็นคนไม่รู้หนังสือ ... หนังสือเล่มนี้พูดถึง เทคโนโลยีชีวภาพ ที่กำลังมีการศึกษา วิจัย อย่างกว้างขวาง โดยพยายามจะนำความรู้ที่ได้มา ควบคุมวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ และสายพันธ์อื่น ๆ ทั้งหลาย บนดาวเคราะห์ดวงนี้ อย่างโดยตรงและจงใจ …” รวมไปถึงการสร้างคอมพิวเตอร์ที่คิด แก้ปัญหา และซ่อมแซมตัวเองได้  โดยนำชิปซิลิคอน กับดีเอ็นเอ มาผสมกัน  Biocomputing  (Enriquez, 2003, p. XIV,90,106)                         การศึกษาสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์            ย้อนกลับไปเมื่อปี 1975 มีความพยายามที่จะสร้างศาสตร์สองศาสตร์เข้าด้วยกันภายใต้ชื่อว่า Sociobiology โดย Edward Wilson ทำการศึกษาสังคมของสัตว์ และนำความรู้ที่ได้มาอธิบายสังคมของมนุษย์  โดยมีฐานคติว่า (Assumption) สิ่งมีชีวิตมีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างร่วมกัน และถูกกำหนดโดยสิ่งที่เรียกว่า Biological Programming เมื่อเราเข้าใจสิ่งนี้ก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกได้   (Thompson, 2001, p.132)  แต่การรวมกันของ สังคม  (Social)  และ ชีวิต (Bio)  มีรากฐานที่ซับซ้อนและยาวนานกว่านั้น Aguste Comte (1798-1857 ) เห็นว่า สังคมวิทยา และชีววิทยา สนใจเรื่องเดียวกันคือ Organic Bodies เมื่อเราเข้าใจโครงสร้างทางชีวิทยา เราก็จะเข้าใจ อินทรีย์ทางสังคม (Social Organism) ด้วย  นี่คือจุดเริ่มต้นของการเปรียบโครงสร้างทางสังคม (Social Structures)  กับแนวคิดทางชีววิทยา   Hebert Spencer (1820-1903) ทำให้แนวคิดการเปรียบสังคมกับอินทรีย์เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น  กล่าวคือ ทั้งสังคมและอินทรีย์สามารถจะพิจารณาได้จากการเติบโต และการพัฒนา  ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วยการเพิ่มขึ้นของขนาด  ความซับซ้อน และการจำแนกแตกต่าง[1] กระบวนการนี้เป็นไปเพื่อความสมบูรณ์ของการทำหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนใดส่วนหนึ่ง (Parts) ก็จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนอื่น ๆ ด้วย (Comte, 1875, pp. 239-240; Spencer, 1860 p.680 Cited by Turner, 1971 pp.21-24)             วิวัฒนาการทางสังคมกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต            การเทียบเคียง[2] (Analogy) ระหว่างสังคมกับอินทรีย์  ที่ส่วนต่าง ๆ (ของสังคม) หรือสิ่งมีชีวิต จะต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติหรือโครงสร้างทางสังคมนั้น  คือการรับเอาแนวคิดวิวัฒนาการ Evolution และ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ของ Charles Darwin (1809 ) มาอธิบายสังคม (Gross, 1959 p.260;  Kinloch, 1977 p.58; Ritzer, 2000 pp.14-15; Sztompka, 1974 pp.143-144)            Darwin ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตจาก ฟอสซิล (fossil) ที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงเวลาต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของลักษณะทางกายภาพที่เกิดจากการวิวัฒนาการ    ภายใต้การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ความคิดนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควรสำหรับ Darwin ด้วยเหตุที่หลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical) นั้นมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งกับแนวคิดของศาสนาในเวลานั้น  “But I am bound to confess, that, with all my faith in this principle, I should ever have anticipated that natural selection could have been efficient in so high a degree…” (Darwin, 1974 p.262 Cited by Ankerberg and Weldon, www.johnankerberg.org/Articles/ _PDFArchives/science/SC3W0602.pdf) สำหรับแนวคิดของ Darwin ก็คือ สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอดและสืบเผ่าพันธุ์ ยกเว้นสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีกว่า(Farabee,[email protected],www.emcmaricopa. edu/faculty/BIOBK/BioBookEVOLI.html) ความคิดของ Darwin ได้รับการสนับสนุนจากการทดลองของ  Thomus Multhus ที่อธิบายว่า ทำไมการคัดเลือกโดยธรรมชาติจึงเกิดขึ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า สิ่งมีชีวิตขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นในพื้นที่หนึ่ง ๆ (Geometric) ในลักษณะทวีคูณ (2,4,6,8) ขณะที่พื้นที่ และอาหารเพิ่มขึ้นในโดยลำดับของจำนวนนับ (1,2,3,4) ดังนั้น ประชากรของสิ่งมีชีวิตจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผันแปรของทรัพยากร (ธรรมชาติ) ได้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องแข่งขันท่ามกลางสิ่งมีชีวิตด้วยกัน นำไปสู่การต้องปรับตัวและสร้าง Species ใหม่ขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเทียบเคียง (Analogies) สิ่งที่ Multhus ทดลอง (Artificial Selection) กับการเลือกสรรโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ดังนี้ (Thagard, 1992 pp.140-141) 

Multhusian Principles

Struggle for existence
Natural selection
Evolution
Embryology
Geographical distribution
Etc. 

            ในปี 1858 Darwin ร่วมกับ Wallace ที่สนใจแนวคิดวิวัฒนาการพัฒนาทฤษฎีขึ้น โดยผนวกเอาแนวคิดของ Geology ของ Lyell  และแนวคิดของ  Multhus  กล่าวคือ              ปัจเจกประชากร (Individual Population) นั้นผันแปรไปตามระดับของการปรับตัว ขนาด ความสามารถในการหาอาหาร  การเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณของจำนวนประชากรได้นำไปสู่การขาดแคลนของทรัพยากร  นำไปสู่การต่อสู้ แย่งชิง ซึ่งในที่สุด ปัจเจกประชากรที่ประสบผลสำเร็จมากกว่าก็จะอยู่รอดและสืบเผ่าพันธุ์ที่ขยายออกไปมากกว่าปัจเจกประชากรที่ไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง species ที่ส่งผ่านไปยังรุ่นต่อ ๆ มา เป็นผลให้เกิดการส่งผ่านของ species เดิมไปสู่ species ใหม่ที่แตกต่างจากพ่อแม่ (parent species) (Farabee, [email protected], www.emcmaricopa.edu/faculty/BIOBK/ BioBookEVOLI.html)                                    จากรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการ และการเลือกสรรโดยธรรมชาติ นักสังคมวิทยาได้ใช้หลักการเทียบเคียง  Term ที่ Darwin ใช้มาอธิบายสภาวะสังคม ได้แก่            สิ่งมีชีวิต (Organisms)   =          ส่วน (Parts) ต่าง ๆ ที่ก่อรูปขึ้นเป็นสังคม            การต่อสู้ (Struggle)        =          การเติบโตและพัฒนา (เพื่อความสมบูรณ์ของการทำหน้าที่   )            การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)      =          การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง (Change of Structure)             การเกิดขึ้นของโครงสร้างสังคม            ความไม่ชัดเจนของ ส่วนต่าง ๆ ที่ก่อรูปขึ้นเป็นสังคม การเปลี่ยนแปลงและเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ได้ถูกพัฒนาให้ชัดเจนขึ้น  ในปี 1937 Talcott Parsons ได้ตีพิมพ์ผลงาน The Structure of Social Action โดยพยายามสร้างทฤษฎีทางสังคมวิทยาให้มีความสมบูรณ์และเข้มแข็งในลักษณะที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective)  เขาเห็นว่าจะต้องสร้าง Concept ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมขึ้นจากความจริงเชิงประจักษ์ (Empirical Reality) Parsons ได้สร้างองค์ประกอบของสังคมขึ้นโดยเรียกว่า Actor ที่มีอิสระในการคิด ตัดสินใจและแสดงออก (Voluntarism) เพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย แต่การตัดสินใจนั้นอยู่ภายใต้ บรรทัดฐาน (Normative) และเหตุการณ์ (Situation) ทำให้บุคคลจะต้องเลือกวิธีการที่จะไปให้ถึง  จากนั้น Parsons ได้เพิ่มความซับซ้อนเข้าไปในโครงสร้างทางสังคมเพื่อต้องการจะวิเคราะห์การหน้าที่ (Functional Analysis) ในงานชิ้นต่อ ๆ มาของ Parsons ได้พยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงการทำหน้าที่ที่มีอยู่ในองค์ประกอบของโครงสร้าง             โดยให้ Actor ที่ตัดสินใจและสร้างทางเลือกเพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของ บรรทัดฐาน และเหตุการณ์ เป็นระบบหนึ่งที่ประกอบขึ้นในโครงสร้างสังคม เรียกว่า Personality System  ระบบนี้จะทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรเพื่อไปให้สู่เป้าหมาย เรียกว่า Goal Attainment            แต่นอกจาก Actor จะไปสู่เป้าหมายแล้วลักษณะทางกายภาพ (Organism System) ของ Actor ซึ่งอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมจำเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมด้วย เรียกการทำหน้านี้ว่า Adaptation             ส่วนบรรทัดฐานที่คอยกำหนดควบคุมการกระทำของ Actor เป็น Cultural System ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่กำหนดการกระทำของ Actor แล้วยังทำหน้าที่ธำรงรักษาแบบแผนของสถาบันทางสังคมที่เป็นองค์ประกอบในระบบทางสังคมด้วย เรียกการทำหน้าที่นี้ว่า Latency (ในงานชิ้นหลัง ๆ ของ Parsons ใช้คำว่า Pattern Maintenance            การที่บุคคลในระบบแสดงบทบาท เพื่อแสวงหารางวัลและหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ภายใต้เงื่อนไขของบรรทัดฐาน และเหตุการณ์เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น นำไปสู่แบบแผนที่เป็นมาตรฐาน   และบุคคลซึมซับเป็นค่านิยมที่คนในโครงสร้างสังคมยอมรับร่วมกัน บทบาทที่บุคคลแสดงออกภายใต้ค่านิยมนี้นำไปสู่การเกิดขึ้นของสถาบันทางสังคม หรือกระบวนการกลายเป็นสถาบัน (Institutionalization)  สถาบันทางสังคมเหล่านี้มีการจำแนกแตกต่างของการทำหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อการกระจายทรัพยากรให้กับ Actor  และแสดงบทบาทในการทำหน้าที่ที่ซับซ้อนที่สังคมมีความต้องการ  เมื่อสถาบันทางสังคมเกิดขึ้นหลาย ๆ สถาบันและต่างทำหน้าที่สนองตอบต่อกันได้นำไปสู่ระบบทางสังคม Social System  และเนื่องจากสถาบันทางสังคมก่อรูปขึ้นจากความเหนียวแน่นของค่านิยมชุดต่าง ๆ ที่คนในสังคมยึดถือร่วมกันและมีสถาบันทางสังคมขึ้นมาทำหน้าที่ ดังนั้น ระบบทางสังคมจึงมีหน้าที่ที่สำคัญคือการทำให้เกิดบูรณาการทางสังคม (Social Integration)             ดังนั้นโครงสร้างสังคมของ Parsons ประกอบไปด้วยระบบคือ   Organism System ทำหน้าที่ ในการปรับตัว (Adaptation),  Personality System ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรเพื่อไปให้สู่เป้าหมาย เรียก(Goal Attainment),  Social System ทำหน้าที่ให้เกิดบูรณาการทางสังคม (Social Integration) และ Cultural System ธำรงรักษาแบบแผนของสถาบันทางสังคม (Pattern Maintenance)  โครงสร้างทางสังคมอันประกอบขึ้นด้วยระบบทั้งสี่ระบบสามารถเขียนเป็น Proposition ได้ดังนี้            1.ระบบมีส่วนประกอบย่อยของตนเองที่เป็นระเบียบ และมีอิสระ            2.ระบบธำรงรักษาแบบแผนของตนเอง หรือรักษาดุลยภาพ (Equilibrium)            3.ระบบอาจไม่เปลี่ยนแปลง (Static) หรือเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการจัดระเบียบ            4.ส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบจะได้รับผลกระทบจากส่วนอื่นของระบบ            5.ระบบจะธำรงรักษาเขตแดนของตนเอง            6.การจัดสรร (Allocation) ทรัพยากรและการบูรณาการเป็นกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญของความจำเป็นที่จะนำไปสู่ภาวะดุลยภาพของระบบ (กระบวนการนี้เกิดขึ้นในระบบสังคม) (Parsons, Alexander ed. 2001 pp.100-124; Turner, 1971 pp.38-53; Ritzer, 2000 pp.233-239)            การสร้างทฤษฎีของ Parsons มีพื้นฐานจากความคิดของนักทฤษฎีรุ่นก่อนหน้า โดยสร้าง ความหมายของคำให้เป็นระบบ และมีลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งมีความหมายอื่น ๆ ร่วมอยู่ในคำนั้น ๆ ด้วย โดยสร้างขึ้นจาก Primitive Term หรือคำที่นักทฤษฎีก่อนหน้าใช้ในการพรรณนาสังคม การสร้าง Term ขึ้นใหม่ให้มีความหมายเฉพาะ และมีลักษณะเป็นนามธรรมนี้เรียกว่า General Term หรือ Technical Term จากคำว่า ส่วน (Path) ถูกแทนที่ด้วยคำว่าระบบ ซึ่งหมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อเป้าหมายของสังคมโดยรวม  โดยมี Term ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้น ดังนี้             ส่วน (Path)                                                       ระบบ (System)             การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง                                   การหน้าที่            การเติบโตและพัฒนา                                           เป้าหมาย             จากนั้นได้แบ่งระบบออกเป็นสี่ระบบ ที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างของสังคม ระบบแต่ละระบบมีหน้าที่ และเป้าหมายของตนเอง  การแบ่งแยกระบบออกเป็นสี่ระบบนี้ในทางสังคมวิทยาเรียกวิธีการนี้ว่า Typologies คือการจัดระบบแนวคิดออกเป็นประเภทต่าง ๆ  หรือบางครั้งเรียกว่า Idea type หลักในการสร้างก็คือ การค้นหาคำที่ใช้แทนองค์ประกอบที่เป็นสมาชิกของแนวคิดและให้คำนิยามมันในฐานะเป็นส่วนประกอบที่มีความหมาย (Runder, 1966 pp.54-56)   ซึ่งในที่นี้ Parsons แยกส่วนต่าง ๆ ของสังคมออกเป็นระบบ และภายในระบบแต่ละระบบมีส่วนประกอบย่อยของระบบ            ความคิดของ Parsons ข้างต้นคือรากฐานสำคัญ ของโครงสร้าง (สังคม) และการหน้าที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสาหลักของสังคมวิทยามาจนกระทั่งปัจจุบัน และเป็นจุดเริ่มต้นของดุลยภาพในทางสังคม (Social Equilibrium) แต่แม้ว่าทฤษฎีของ Parsons จะสร้างตัวตนของ โครงสร้างสังคม (Social Structure) และ การหน้าที่ (Function) ได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แต่สิ่งที่ Parsons ได้รับการโจมตีอย่างมากก็คือคำอธิบายเกี่ยวกับ Equilibrium ของเขาที่ไม่สามารถจะตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ โดย Parsons ได้ใส่องค์ประกอบเข้าไปในภาวะดังกล่าวมากเกินไป (Ritzer, 2000  p.235)  แม้ว่าเขาจะพยายามชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของภาวะดุลยภาพ โดยการเสนอแนวทางวิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis)  ไว้ว่า            1. ระบบต่าง ๆ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน            2. ระบบสังคมคือระบบที่นำไปสู่ภาวะดุลยภาพ            3. การส่งเสริมให้เกิดภาวะดุลยภาพของระบบสังคมก็โดยการบูรณาการความแตกต่างในระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน            4.สังคมวิทยาจึงต้องวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมที่มีบูรณาการ และวิเคราะห์บูรณาการระหว่างระบบต่าง ๆ ที่รักษาดุลยภาพของสังคมทั้งหมดไว้             การวิเคราะห์โครงสร้างคือการทำความเข้าใจโครงสร้างทำงานว่าอย่างไร และมันผันแปรไปตามความต้องการที่จะไปสู่ดุลยภาพอย่างไร   สิ่งที่สามารถอธิบายความจำเป็นที่นำไปสู่ภาวะดุลยภาพได้ก็คือโครงสร้างที่ได้รับการเลือกสรรให้ต้องปรับตัวเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ  (Turner, 1971 pp.97-98, 64) ข้อเสนอของ Parsons            P 1 โครงสร้างสังคมประกอบด้วยระบบ                  P 2 ระบบมีองค์ประกอบย่อยที่แตกต่างกัน            P 3 องค์ประกอบย่อยทำหน้าที่ต่อระบบ            P 4 ระบบทำหน้าที่ต่อโครงสร้างทางสังคม            ดังนั้น  องค์ประกอบย่อยทำหน้าที่ต่อโครงสร้าง                        P 5 ระบบสังคมคือระบบที่ทำหน้าที่ไปสู่ภาวะดุลยภาพ            P 6 การเกิดภาวะดุลยภาพคือการทำให้เกิดบูรณาการในความแตกต่างของระบบ            ดังนั้น ภาวะดุลยภาพคือภาวะของบูรณาการของระบบสังคม              P 7 โครงสร้างสังคมที่มีบูรณาการทำหน้าที่รักษาดุลยภาพ            p 8 ระบบทำหน้าที่บูรณาการโครงสร้าง            ดังนั้นระบบทำหน้าที่รักษาดุลยภาพของโครงสร้าง   

            Axioms ชุดที่ 1             As1 องค์ประกอบย่อยทำหน้าที่ต่อระบบ            As 2 ภาวะดุลยภาพคือภาวะบูรณาการของระบบสังคม            As 3 ระบบทำหน้าที่รักษาดุลยภาพของโครงสร้าง

             ในฐานะทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์แนวคิดของ Parsons นับว่ามีจุดอ่อนอยู่มาก โดยยังคงมีลักษณะที่เป็นทฤษฎีเชิงพรรณนามากกว่าจะอธิบาย และมีความห่างไกลจากการตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์             Thomas Kuhn ได้ให้หลักการของทฤษฎีที่ดีไว้ 5 ประการคือ (Kuhn, 2002 ed.by Balashov and Rosenberg 421-437)            1.ทฤษฏีจะต้องชัดเจนในสิ่งที่มันอธิบาย ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ การนิรนัยทฤษฏีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะทดลอง และสังเกตมันได้ (Observation)            2.ทฤษฎีจะต้องมีความสอดคล้อง (Consistent) ไม่เพียงในตัวของมันเองเท่านั้นแต่จะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีที่ยอมรับกันในขณะนั้น เพื่อที่จะนำไปใช้ร่วมกันได้ด้วย              3.จะต้องมีขอบข่ายที่กว้าง ขยายออกไปเพื่อที่จะสร้างการสังเกต  สร้างกฎ หรือทฤษฎีย่อย ในการอธิบายได้เพิ่มขึ้น            4.ง่าย และเป็นระบบ            5.ทฤษฎีจะต้องช่วยในการตัดสินใจได้ และใช้ประโยชน์สำหรับการทำวิจัยใหม่ ๆ ที่จะเปิดเผยประกฎการณ์ที่ยังไม่สามารถค้นพบ                        อย่างไรก็ตามเราปฏิเสธไม่ได้ว่าทฤษฎีของ Parsons มีคุณูปการอย่างมากต่อนักสังคมศาสตร์ในรุ่นต่อ ๆ มา  โดยใช้เป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ และสร้างทฤษฎีใหม่ ๆ  รวมไปถึงนักปรัชญาทางสังคมศาสตร์ได้ให้ความสนใจการวิเคราะห์หน้าที่อย่างกว้างขวาง              การศึกษาโครงสร้างสังคมและการสร้างทฤษฎีระดับกลาง            Robert K Merton ศิษย์คนสำคัญของ Parsons พยายามที่จะลดข้อจำกัดของการสร้างทฤษฎีที่มีขอบเขตกว้างขวางรวมทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่มีความชัดเจนและขาดระเบียบ โดยใช้คำที่คลุมเครือมากกว่าจะสร้างให้เกิดความเข้าใจ เขาเสนอการสร้างทฤษฎีในระดับกลางที่เรียกว่า Middle Theories โดยเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ 

หมายเลขบันทึก: 90971เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท