เราจะจัดการกับ “ความจริง” อย่างไร ?


ญาณวิทยา การหาความรู้ การจัดการความรู้

 ... วิทยาศาสตร์แบบกลไกที่พัฒนามาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 กำลังจะหมดความหมายไป วิทยาศาสตร์แบบใหม่ที่เราเรียกว่า Postmodern Science  กำลังเข้ามาแทนที่และมีความสำคัญมากขึ้นในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับจักรวาลของเรา  ปัญหาที่วิทยาศาสตร์กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้สะท้อนให้เราเห็นถึงปัญหาใหญ่ของมนุษย์ชาติที่กำลังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความล้มเหลวของยุคทันสมัยนิยม (Modernism) ซึ่งถูกครอบงำโดยโลกทัศน์แบบกลไกมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนเกิดความหายนะใหญ่หลวงแก่การดำรงอยู่ของเรา ...     ในขณะเดียวกัน เรากำลังพบว่า Postmodern Science กำลังท้าทายขีดจำกัดของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่... (โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547 น. 1)            ข้อความข้างต้นคือเค้าโครงการศึกษา วิชา  สห.844  ปรัชญาวิทยาศาสตร์  ของโครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   แสดงให้เห็นถึงความรู้ และความจริง[1] ที่ได้จากวิทยาศาสตร์กำลังถูกท้าทาย               หนังสือรวมบทความทางปรัชญาวิทยาศาสตร์ เรื่อง Philosophy of Science Today  ตีพิมพ์เมื่อปี 2003 จากบทความเรื่อง New Age Philosophies of Science : Constructivism, Feminism and Postmodernism   ตอบโต้กลุ่มที่ต่อต้านวิทยาศาสตร์ว่า  นักภาษาศาสตร์ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มากนัก ได้เล่นบทบาทการทำสงครามกับวิทยาศาสตร์ (Science Wars) ทั้งที่ตนเองก็ไม่เคยยอมรับตรรกทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษาแต่เป็นความพยายามที่จะพัฒนาสาขา วรรณคดีวิจารณ์ (Literary Criticism) ให้เกิดความก้าวหน้า และใช้วิธีการที่ได้ซึ่งได้แก่การ รื้อสร้าง (Deconstruction) โจมตีวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การเขียนวิพากษ์วิจารณ์วิทยาศาสตร์ในกลุ่มที่ได้รับการศึกษามาในสาขาวรรณกรรม แต่มีพื้นฐานเล็กน้อยในเรื่องวิทยาศาสตร์   บทความนี้ได้เรียกร้องให้นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ออกมาตอบโต้ ความเห็นที่คัดค้านวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะเกิดผลกระทบในทางที่เลวร้ายต่อสังคม  เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียน การพัฒนาเทคโนโลยี ทุนวิจัย การตัดสินใจทางนโยบาย ถูกล้มเลิก  (Koertge, Naretta. Edited by Cark, Peter and Hawley, pp.83-96)  ความคิดของกลุ่มต่อต้านวิทยาศาสตร์ได้รับการยอมรับ และมีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ มีหนังสือหลายเล่มที่เขียนขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของการแสวงหาความรู้ ความจริง ด้วยวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกัน ในประเทศไทย ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคือภายใน หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  อาจารย์ของคณะต่าง ๆ ด้านสังคมศาสตร์ได้ตีพิมพ์หนังสือที่แสดงให้เห็นข้อบกพร่องของแนวคิดตะวันตกที่ศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  เช่น   งานของ ศ. ดร.อภิชัย    พันธเสน เรื่อง พุทธเศรษฐศาสตร์  กล่าวถึง  วิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักว่า              วิชาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันมีความเข้าใจมนุษย์ไม่ครบถ้วนอย่างรอบด้าน เป็นการนำความจริงบางส่วนของมนุษย์มาเน้นหรือขยายจนเกินความเป็นจริง จนนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาด  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอากระบวนทัศน์แบบพุทธเข้ามาประยุกต์ โดยที่ผู้เขียนมีความเห็นว่ากระบวนทัศน์ดังกล่าวช่วยให้สามารถเข้าใจมนุษย์ในมิติที่กว้างขวางและลึกซึ้งกว่า  เพื่อใช้ปรับแก้ข้อสรุปที่ผิดพลาดอันเกิดจากกรอบความคิดที่แคบกว่าของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้เรียกว่า เศรษฐศาสตร์ที่มิได้อยู่บนฐานความจริง  (Autistic Economics) (อภิชัย พันธเสน, 2547 น.3-4)           หรืออย่างงานของ อ.ธีรยุทธ บุญมี ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่เสนอความคิดเรื่อง หลังตะวันตก (Post western)             ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และปฏิกิริยาของปัญญาชนตะวันตกต่อโลกโมเดิร์นแบบตะวันตก กล่าวอย่างง่าย ๆ ปัญญาชนตะวันตกเหล่านี้มองว่า โปรแกรมการสร้างสังคมสมัยใหม่ที่ตะวันตกได้ดำเนินมาหลายศตวรรษไม่ได้พัฒนาซึ่ง ความสุข การหลุดพ้น หรือ การมีชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกัน พวกเขาจึงต้องการผลักสังคมของเขาให้ก้าวไปอีกขั้น เพื่อไปสู่สังคมโพสต์โมเดิร์นที่มนุษย์ปัจเจกจะมีเสรีภวะ มีการหลุดพ้น มีการดำรงอยู่ในโลกที่ความหมายไม่มีเสถียรภาพได้ดีขึ้น...   ความคิดหลังตะวันตก (Post western) ได้รับอานิสงค์จากโพสต์โมเดิร์น แต่พยายามจะไปให้ไกลกว่า คือการปลดเปลื้องความคิดตะวันตก และเสนอเสรีภวะใหม่ มีค่านิยมบางอย่างเป็นเครื่องนำทาง (ธีรยุทธ บุญมี, 2546 น.7-8)              เช่นเดียวกันงานของ ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร  แห่งคณะรัฐศาสตร์ เรื่อง วาทกรรมการพัฒนา ได้รับเอาแนวคิดที่โจมตีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ว่าเป็นเพียง วาทกรรม (Discourse) ที่ถูกสร้างขึ้น   มาศึกษาและตีความคำว่า พัฒนา  ซึ่ง วาทกรรม ถือเป็น Concept หลักของกลุ่ม Postmodern  แนวคิดนี้มองว่า วาทกรรม โดยตัวของมันไม่มีเนื้อหาความจริง แต่เป็นกระบวนการสร้าง และการผลิต เอกลักษณ์ (Identity)  และความหมาย (Meaning)              ในฐานที่เป็นวาทกรรม การพัฒนา ก็เป็นเพียงเทคนิควิทยาการของอำนาจแบบหนึ่ง ที่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกคิดค้นขึ้นมาใช้เพื่อเพิ่มการปกครอง ควบคุม จัดระเบียบความรู้ของวาทกรรมการพัฒนายุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเป็นความรู้ที่มีฐานสังคมแคบมาก เป็นความรู้ที่สั่งสมมาจากประสบการณ์ของประเทศตะวันตก และเป็นความรู้ความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ขาดสุนทรียภาพ เพราะเน้นแต่การต้องการหาความจริง ต้องการเป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2545ว น. 51-60)              แม้ว่าตัวอย่างงานข้างต้นจะเป็นเพียง ตัวอย่างเดียวในผลงานของนักวิชาการที่สังกัดอยู่ในคณะรัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์  สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  แต่ก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของแนวคิดกลุ่ม Postmodernism ที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์  กับการขยายสู่แวดวงวิชาการของไทย               บทความนี้ต้องการจะค้นหารากฐานทางปรัชญา ความเชื่อ ของวิทยาศาสตร์ และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะกลุ่ม Postmodern เพื่อค้นหา เอกลักษณ์ และความหมาย ของทั้งสองแนวคิดนำมาใช้จัดการกับ ความจริง ภายใต้การปะทะกันอย่างรุนแรงของแนวคิดทั้งสองกลุ่ม                          ความคิดหลังความทันสมัยประเด็นข้อโต้แย้งวิทยาศาสตร์             จุดเริ่มต้นของ Postmodern เริ่มขึ้นจากความไม่เห็นด้วยในการศึกษาวรรณกรรม ภาษา ในแวดวงสาขามนุษย์ศาสตร์ ของประเทศฝรั่งเศส นับแต่ปี 1960 ที่ในขณะนั้นยอมรับเรื่อง โครงสร้างทางภาษา ว่า เป็นกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว และสามารถเข้าใจได้ ด้วยการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์  ภาษาเป็นเรื่องที่เมื่อรับรู้กฎเกณฑ์ของมันแล้ว ก็สามารถนำมาใช้สื่อสารกันได้เข้าใจ และถูกนำมาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางในฐานะการส่งผ่านความรู้ ความคิด และความจริงที่ได้จากข้อค้นพบ    ไม่เพียงภาษาเป็นตัวแทนของสัญญะ (Signs) เท่านั้น แต่มันยังเป็นตัวแทนของพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ด้วย              แนวคิดข้างต้นได้เชื่อมโยงกับความคิดทางสังคม ที่มองว่า สังคมมีโครงสร้าง  ที่คอยกำกับคนให้แสดงออกตามโครงสร้าง  ดังเช่นแนวคิดของ Marx ที่มองว่า โครงสร้างสังคม (Super Structure and Sub Structure) ซึ่งได้แก่  กฎ ระเบียบ แบบแผนการกระทำต่อกันระหว่างคนในสังคม  ความเชื่อ ค่านิยม รวมทั้งสถาบันทางสังคม ถูกสร้างขึ้นด้วยภาษา โดยชนชั้นปกครอง สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นเพื่อเอารัดเอาเปรียบ และแสวงหาผลประโยชน์จากชนชั้นถูกปกครอง  ที่จะต้องยอมทำตามข้อกำหนดของโครงสร้างเหล่านี้ โดยไม่รู้ตัว  (แนวคิดในลักษณะนี้เป็นความคิดของกลุ่มนักสังคมวิทยากระแสหลัก ที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างทางสังคม (Social Structure) ว่ามีอิทธิพลกำกับการกระทำของคน)            Jacques Derrida (1966) คือจุดเริ่มแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม (Post Structurism)[2]  ซึ่งต่อมาถูกรวมเรียกว่า แนวคิดหลังความทันสมัย (Post modern)  เห็นว่า งานเขียนไม่ได้มีอิทธิพลใด ๆ ต่อคน ไม่สามารถส่งผ่านความคิด ความเห็นของผู้เขียนถ่ายทอดมายังผู้อ่านได้  แต่มันขึ้นอยู่กับการตีความของตัวผู้อ่านเอง  งานเขียน หรือตัวบท (Text) เมื่อถูกเขียนออกมาแล้วมันเป็นอิสระโดยตัวของมันเองไม่ผูกพันกับผู้เขียนอีกต่อไป  การตีความภาษาขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ (Social Context) ที่แตกต่างกันทำให้คำ ๆ เดียวกัน ถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวบทจึงมีลักษณะไม่แน่นอน และไม่สามารถค้นหาระเบียบแบบแผนได้ และในเมื่อความจริงทางสังคมถูกสร้างขึ้นด้วยภาษา เมื่อภาษามีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ ความจริงทางสังคม เช่น สถาบันทางสังคม จึงไม่มีอยู่จริงแต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์บางอย่างของผู้สร้าง  Derrida สนใจที่กระบวนการรื้อโครงสร้างทางภาษาที่ก่อรูปขึ้นเป็นตัวบท (Deconstruction of Logocentrism) เพื่อเปิดเผยให้เห็นแบบแผนบางอย่างที่ซ่อนอยู่ (Derrida,  1978, Smith, 1996 Cited by Ritzer, 2000 pp.454-459)            กลุ่ม Postmodern มองว่า ความจริงไม่สามารถค้นหาได้ด้วยประสบการณ์ (Empirical) มันไม่มีอยู่โดยธรรมชาติอย่างเป็นสากล (Universal) แต่เป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวบุคคลที่จะมีความปรารถนาหรือยืนยัน (Insist)  ต่อสิ่งใด ๆ ภายในบริบทเฉพาะ (Local)  ดังนั้นเราจึงไม่สามารถสร้างมุมมองที่มีต่อโลกได้อย่างตายตัว  ไม่มีอะไรที่เป็นความจริง (Fact) ไม่มีอะไรที่จะวัดออกมาได้ ความรู้ข้อค้นพบในทางทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ นั้นใช้ได้ในกรณีนั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปที่จะอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้   การอธิบายโลกทางกายภาพ ในลักษณะที่ต้องสังเกตได้ จับต้องได้ในเชิงประจักษ์นั้น เป็นความผิดพลาด เพราะปราศจากความรู้สึก  ไม่สนใจความแตกต่างของความเชื่อ และบริบททางสังคม (Trigg, 1993, pp.64-69) องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ยิ่งใหญ่ (Grand Narrative)  ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุม และครอบงำนักวิชาการโดยส่งผ่านในรูปของทฤษฎีมหภาค (Grand Theory) และสร้างความจริงที่คิดว่าเป็นความจริงแน่นอนขึ้นจาก ความจริง สัมพัทธ์ (Truth Relative) ที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล  Postmodern เรียกความจริงที่วิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ว่าเป็นเพียง วาทกรรม (Discourse) (Sayer, 2000 pp.67-79)               วิทยาศาสตร์กับการค้นหาความจริงเป้าโจมตีของ Postmodern            แนวคิดในทางปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่เป็นเป้าโจมตีที่สำคัญที่สุด คือแนวคิดวิทยาศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า  Scientific Realism ที่เน้นการนำความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง (Generalization)  และเป็นทฤษฎีที่เปิดโอกาสให้นำมาพัฒนาต่อในวงกว้าง แต่การสร้างทฤษฎีในลักษณะนี้มีข้อจำกัดของการใช้ Term ที่จะต้องเป็นนามธรรมสูง จนยากที่จะทดสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Unobservation)  ข้อเสนอ (postulation) ของทฤษฎีแนวนี้มักจะไม่ได้รับการทดสอบยืนยัน และล่อแหลมต่อการใช้ประสบการณ์ที่ไม่สามารถจะพิสูจน์ได้  ตรงข้ามกับทฤษฎีแนว  Instrumentalist ที่เน้นการสร้างทฤษฎีเฉพาะที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ หรือกฎ (principle or rule) ที่กระชับ และเหมาะสมสำหรับการทดสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ เน้นการใช้ทฤษฎีเป็นเครื่องมือที่จะจัดการกับคำถามในปรากฏการณ์ที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าที่จะนำไปใช้ได้ทั่วไป (Negel, ed.Balshov and Rosenberg, pp.197-210)  อย่างไรก็ตามทั้งสองแนวของวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะร่วมกันและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน  กล่าวคือ  การนำหลักเกณฑ์พื้นฐานทางทฤษฎีหนึ่งไปใช้ในอีกทฤษฎีหนึ่ง  ซึ่งไม่เพียงแต่มีการใช้ภายในสาขาวิชาแล้ว ยังมีการใช้ข้ามสาขาวิชาด้วย และไม่จำกัดอยู่เพียงในสาขาทางวิทยาศาสตร์ด้วยกันเท่านั้น แต่ถูกนำมาใช้ในทางสังคมศาสตร์ด้วย   ตรรกวิทยาแบบนิรนัย (Logic of Deductive) คือเครื่องมือสำคัญของการสร้างทฤษฎีขึ้นใหม่ จากทฤษฎีเดิม โดยเฉพาะการสร้างสัจพจน์ (Axioms)   ขึ้นจากข้อเสนอของทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ (Proposition)[3] (บางครั้งเรียก Postulate) สัจพจน์มีลักษณะเป็นนามธรรมผ่านกระบวนการอนุมาน (Inference) ในลักษณะนิรนัย กระบวนการนี้ไม่ได้เป็นการอนุพันธ์ (Derivation) แต่เป็นการตั้งสมติฐานว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกโดยไม่ต้องพิสูจน์ (Assumed) ตามข้อเสนอทางทฤษฎี[4] การสร้างทฤษฎีในระบบ Axioms  มีข้อดีคือมันสามารถลดระดับลงมาใช้ (Reduction)  ในทฤษฎีอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้มีคำอธิบายที่ลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเมื่อมันถูกนำไปใช้ในทฤษฎีอื่นแล้ว ยังสามารถจะย้อนกลับมา “reduction” ตัวมันเองได้อีกด้วย  ไม่เพียงเท่านั้น Axioms เมื่อถูกนำไปใช้กับทฤษฎีอื่น ๆ  และได้รับการตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical)  อาจนำไปสู่การปฏิเสธทฤษฎีซึ่งเป็นที่มาของมันและข้อปฏิเสธดังกล่าวอาจกลับไปแทนที่ทฤษฎีเดิม (Rosenberg, 2000 p.71-96) ซึ่งลักษณะนี้คือการสร้างทฤษฎีเฉพาะเจาะจงขึ้นตามแนว Instrumentalism โดยลดระดับลงมาจากทฤษฎีในแนว  Realism และเมื่อนำไปตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์มันก็อาจนำไปยืนยันทฤษฎีในแนว Realism ถ้าทฤษฎีนั้นเป็นจริงซึ่งช่วยให้ทฤษฎีทางวิทยานั้นแข็งแกร่งขึ้น ขณะเดียวกันก็จะได้ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่อธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างเฉพาะเจาะจงด้วย              หลักการสำคัญของการค้นหาความจริงที่วิทยาศาสตร์ยอมรับนั้นจะต้องสามารถสังเกตได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เรียกว่า Empiricism   ซึ่งได้แก่การเข้าถึงความจริงด้วยประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การสัมผัส  ได้ยิน มองเห็น รับรู้รส และได้กลิ่น ถ้าหากเราไม่สามารถจะรับรู้ (perceived) สิ่งเหล่านี้ได้ก็แสดงว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง[5] (ดังนั้นประสบการณ์จึงเกิดขึ้นก่อนความรู้) การรับรู้ความจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสนี้เป็นกระบวนการที่บรรจุความทรงจำเข้าสู่สมอง แต่การจะยอมรับได้ว่าสิ่งที่รับรู้นั้นถูกต้องหรือไม่จะต้องใช้กระบวนการย้อนกลับไปหาความจริงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง  (Regress Argument) การย้อนกลับไปนี้ก็ด้วยการกลับไปทบทวนทฤษฎีหรือความรู้ที่มีมาก่อนตามหลักนิรนัย (Deductive) ถ้าหากข้อค้นพบ หรือสิ่งที่รับรู้นั้นสอดคล้องกับความจริงที่มีมาก่อนก็ถือว่าเป็นความจริง  อย่างไรก็ตามวิทยาศาสตร์จะไม่ยอมรับว่าเป็นความจริงทั้งหมด แต่จะยอมรับโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability) โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการประมาณค่า เรียกวิธีการหาความจริงในลักษณะนี้ว่า Foudationalism  (Dancy, 1987 pp.10, 54-58,147)            การมองความจริงแบบวิทยาศาสตร์จึงมีลักษณะที่มองความจริง ที่จับต้องได้ด้วยประสาทสัมผัส  เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม (Materialism)  มุ่งค้นหาให้พบกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติที่มีอยู่ เพื่อสร้างกฎที่สามารถอธิบายได้ทั่วไป (Generalization)  เชื่อว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันเชิงเหตุผล      (Causation) โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือคำนวณและทดสอบความจริง  (Putnam, 1982 ed.by Worrall, pp.3-8)             ปรัชญาของแนวคิดหลังสมัยใหม่ : ข้อโต้แย้งการแสวงหาความจริงแบบวิทยาศาสตร์                        ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า หลังสมัยใหม่ได้เกิดแนวความคิดที่มอง ความจริง และวิธีการแสวงหาความจริง ที่แตกต่างจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มาก่อนหน้านั้นแล้วซึ่งนักปรัชญาวิทยาศาสตร์เรียกแนวคิดกลุ่มที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ว่า Anti Science หรือบางครั้งเรียก Anti Realism                                        1.การค้นหา ความจริง            คู่ตรงข้ามของการแสวงหาความรู้ตามแนว Fundationism[6] ที่อยู่ในทฤษฎีของการแสวงหาความรู้ (Epistemology)  ซึ่งมีลักษณะร่วมกับความคิดของกลุ่ม Post modern ก็คือ แนวคิดที่เรียกว่า Coherentism  แนวคิดนี้เชื่อว่าความจริง เป็นความจริงเพียงชั่วเวลา  พิจารณาปรากฏการณ์จากทั้งหมดที่แวดล้อม  (Holistic) โดยตรวจสอบสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ที่สอดคล้องและสนับสนุนกับความเชื่อ  ไม่มองความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นเส้นตรงแต่สนใจทั้งหมดที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ศึกษา ในบริบทเฉพาะเจาะจง (Local) เพราะไม่เชื่อว่าจะสามารถค้นหาความจริงสากลได้ (Universal) ไม่สนใจการตรวจสอบข้อค้นพบกับความจริงที่อยู่สูงกว่า  หรือกระบวนการอนุมาน (Inference) ในลักษณะนิรนัย    แต่ใช้หลักการตีความ  (Williams, 2001 pp.117-126)             2.การรับรู้ ความจริง            ขณะที่ Foudationalism เชื่อในการรับรู้ของประสบการณ์ แต่กลุ่ม Phenomenalism ซึ่งถือเป็นรูปแบบแนวคิดที่จัดอยู่ในกลุ่ม Idealism (Williams, 2001 p.138) ไม่เชื่อว่าความจริงจะรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส  เพราะเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ประสาทสัมผัสย่อมไม่สามารถจะตรวจสอบสิ่งที่ต้องการศึกษาได้อย่างคงที่  เช่นเดียวกัน กับประสบการณ์ของคนคน หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ย่อมต่างไปจากของอีกคนหนึ่ง หรือของคนคนเดียวกัน แต่ช่วงเวลา หรือพื้นที่ต่างกัน การสังเกตสิ่งที่ศึกษาย่อมแตกต่างกันตามไปด้วย การรับรู้ความจริงจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจของบุคคล  ไม่ใช่การรับรู้ภายนอกที่มีความไม่แน่นอน  (Dancy, 1987 pp.89-90)              3.ลักษณะของ ความจริง            กลุ่ม Anti Science เชื่อว่า ความจริงมีลักษณะเป็นอัตวิสัย สัมพัทธ์ไปตามช่วงเวลา และสถานที่ ที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างกัน  เรียกแนวคิดนี้ว่า  Relativism (Williams, 2001 p.220-221)การค้นหาความจริง ค้นหาได้เฉพาะตัวบุคคลหรือ เฉพาะบริบททางวัฒนธรรมย่อยเท่านั้น  ไม่สามารถจะหาสิ่งที่เป็นสากลได้  ไม่มีสิ่งที่คนรับรู้ร่วมกัน (Common Ground) ปฏิเสธความคิด ที่เป็นวัตถุวิสัยการค้นหาความจริงสามารถทำได้โดยการพรรณนาให้เห็นถึงรายละเอียดในบริบทเฉพาะเจาะจง (Sater, 2000 p.47)                           4.วิธีการค้นหา  ความจริง             Postmodernism  พยายามชี้ให้เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการสร้างความจริง  ว่าเป็นเพียงสิ่งหลอกลวงและถูกสร้างขึ้นเพื่อกระบวนการทางอำนาจของผู้สร้างความรู้  แนวคิดนี้ถูกเสนอโดย Michel Foucault นักคิดคนสำคัญในกลุ่ม Postmodernism เขาสนใจที่การค้นหา ระบบของการก่อรูปและการส่งผ่านประโยคที่เรียกว่า วาทกรรม การค้นหาดังกล่าวไม่ได้เป็นไปเพื่อการทำความเข้าใจ แต่ค้นหาสิ่งที่อยู่ลึกลงไป (Ritzer, 2000 p.460)     ซึ่งได้แก่อำนาจ ในรูปแบบของความรู้  ที่สะท้อนออกมาในรูปกฎเกณฑ์ จารีตประเพณี ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งหลาย เช่น วิทยาศาสตร์  ชีววิทยา แพทย์ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์             การวิเคราะห์วาทกรรม ก็คือการศึกษา สืบค้น ถึงกระบวนการ ขั้นตอน ลำดับเหตุการณ์ รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในการสร้างเอกลักษณ์ และความหมายให้กับสรรพสิ่ง การแสดงออกของวาทกรรมผ่านระบบภาษานั้น เป็นสิ่งที่วาทกรรมเป็นตัวกำหนดผู้พูด หรือผู้เขียน ให้เลือกใช้ชุดของวาทกรรมในบริบทเฉพาะๆ  ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า  เช่น นักเศรษฐศาสตร์ พูดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ  แพทย์พูดถึงการรักษาพยาบาลคนไข้  ซึ่งถ้าหากผู้พูดไม่อยู่ในสถานะของน

หมายเลขบันทึก: 90959เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จึงหลีกไม่พ้นที่จะต้องถอดรื้อองค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าเป็นเรื่องเล่าอันยิ่งใหญ่ (Grand Narratives) อันประกอบด้วยชุดวาทกรรมที่รวมกันอยู่              Postmodern มีลักษณะทางความคิดในทางปรัชญาที่รับเอาแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการแสวงหาความรู้ และการมอง ความจริง ตามแนวทางต่าง ๆ ที่กล่าวมา ร่วมในการสร้างตัวตนขึ้น    ซึ่งเป้าโจมตีของ Postmodern นั้น ไม่ใช่วิทยาศาสตร์โดยตรง แต่เป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นจากวิทยาศาสตร์ และด้วยเหตุที่การมอง ความจริง มีลักษณะที่แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ในทุก ๆ แง่มุม Post modern จึงสามารถโต้แย้งวิทยาศาสตร์ได้ในทุก ๆ มิติ ขณะที่สังคมศาสตร์ได้รับเอาความคิดแบบ Postmodern ไปใช้ และเริ่มตั้งคำถามกับความเป็นศาสตร์ของตนเอง Postmodern จึงมีความความแข็งแกร่ง และสร้างอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนได้เทียบเคียงใกล้กับวิทยาศาสตร์มากกว่ากลุ่มความคิดที่ต่อต้านวิทยาศาสตร์กลุ่มใด ๆ ในปัจจุบัน              โดยสามารถจับคู่ตรงข้ามระหว่างวิทยาศาสตร์ และ Post modern ในมิติต่าง ๆ  ได้ดังนี้ (Sayer,  2000 p.55)                                     Modern            -           Post modern                                    Realism            -           Idealism                                    Reason                        -           Emotion                                    Body                -           Mind                                    Universal         -           Local                                    Objective         -           Subjective                                    Empirical          -           Interpretation                                      การสร้างความจริงทางสังคม[1]            หากเราเชื่อตามปรัชญาหลังสมัยใหม่ (Postmodern)  เราจะไม่สามารถสร้างระเบียบใด ๆ ทางสังคมขึ้นมาได้เลย เนื่องจากไม่มีแบบแผนใด ๆ ที่จะใช้ได้ทั่วไป  หรือภาษาใช้ได้เฉพาะที่ เฉพาะเวลา  และเฉพาะกลุ่มบุคคล  เนื่องจากเราจะไม่สามารถส่งผ่านความรู้ ความคิด จากคนคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หรือถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้            ถ้าคุณเดินเข้าไปในร้านอาหาร  สั่งอาหารตามเมนู  เมื่อรับประทานเสร็จ  ก็หยิบเงินมาวางบนโต๊ะ และเรียกให้บริกรมารับ จากนั้นก็เดินออกจากร้านไป ...              คุณจะไม่เดินเข้าไปในร้านอาหารเลย ถ้าไม่รับรู้มาก่อนจากประสบการณ์ว่า ที่นี่จำหน่ายอาหาร   และแน่นอนว่าก่อนจะเดินเข้าไปก็จะต้องรู้สึกหิว และคาดการณ์ได้ว่าร้านอาหารจะสามารถตอบสนองต่อความหิวได้   การเลือกรายการอาหารตามเมนูก็เช่นกันคือการรับรู้ภาษาร่วมกันระหว่างเจ้าของร้าน  พนักงาน  ลูกค้า  พ่อครัว   หรือการที่หยิบเงินมาชำระค่าอาหารก็เช่นกัน  เบื้องหลังของการแลกเปลี่ยน และการแทนค่าเงินกับอาหาร เต็มไปด้วยความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์   การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน  การพิมพ์ธนบัตร  สถาบันทางการเงิน  การทำงานประกอบอาชีพเพื่อแลกกับเงิน การคำนวณ              สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากเราไม่เชื่อประสบการณ์ความหิว กับการรับประทาน   เราไม่ใช้วิธีการนิรนัยลักษณะของร้านอาหารที่เราเคยเห็นกับร้านอาหารที่เรากำลังจะเดินเข้าไป เราไม่ใช้การคำนวณปริมาณอาหาร  ประเภท ราคา และคาดการณ์ความน่าจะเป็นต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวันของคนจึงหลีกไม่พ้นวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์            การที่เราปฏิบัติต่อวัตถุใดวัตถุหนึ่ง  เช่น การเข้าไปนั่งบนเก้าอี้ว่างในร้านอาหารนั้น เราไม่จำเป็นต้องรับรู้เลยว่า สิ่งนั้นเรียกว่าเก้าอี้  เพียงแต่รับรู้ถึงประโยชน์ใช้สอยของมัน  คือใช้ในการนั่ง เราก็จะปฏิบัติต่อมันในฐานะวัตถุที่ใช้นั่ง  ดังนั้น บุคคลรับรู้ ปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากหน้าที่ (Function) ของมัน ที่จะตอบสนองต่อความต้องการ  เรามั่นใจมันได้ว่าสิ่งที่เรียกว่าเก้าอี้นี้ สามารถนั่งได้ ก็ด้วยประสบการณ์ที่เราพบเห็นและรับรู้ความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุ (Causal Relation) เมื่อพบว่า ทุกครั้งที่เห็นคนเดินเข้าไปในร้านอาหารแล้วจะต้องนั่งบนเก้าอี้  เราจะรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง  คน ร้านอาหาร เก้าอี้ จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส  และรับมันมาใช้เมื่อเราเดินเข้าไปในร้านอาหาร ซึ่งหมายถึงแบบแผนนี้ได้ซึมซับเข้าไปในการรับรู้ (Consciousness)  ของเรา 
            แต่หากเราเดินเข้าไปในร้านอาหารพบวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม นั่งอยู่ในร้าน  และในร้านมีลูกค้าไม่กี่คน   ขณะเดียวกันร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวก็หาได้ไม่ง่ายนัก  เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  เราไม่สามารถจะเลือกนั่งเก้าอี้ตัวใดตัวหนึ่งในมุมที่ชอบ หรือโดยอาศัยประสบการณ์โดยปกติได้  แต่จะต้องตีความสถานการณ์  ประเมินในบริบทเฉพาะที่เป็นอยู่ในเวลานั้นว่าสมควรเข้าไปนั่งในร้านหรือไม่ อย่างไร   ซึ่งจำเป็นจะต้องตรวจสอบปรากฏการณ์แวดล้อมในลักษณะเฉพาะเจาะจง  ในวัฒนธรรม และเวลาที่ไม่สามารถจะนำประสบการณ์ที่เป็นสากล (Universal) มาใช้ได้ เป็นเรื่องของความรู้สึกปลอดภัย ที่ต้องอาศัยการตีความสถานการณ์ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป  เช่น หากวัยรุ่นกลุ่มใหญ่ทั้ง 2 กลุ่ม เดินออกจากร้านไป ผลการเลือกที่จะเข้าไปนั่งหรือไม่ย่อมเปลี่ยนไป              ดังนั้นกระบวนการหาความจริงในชีวิตประจำวันจึงมีความหลากหลาย บุคคลจะต้องเลือกใช้ตามสถานที่ เวลา ที่แตกต่างกันไป ภายใต้ระบบความคิดทางปรัชญาที่แตกต่าง
                        เมื่อแบบแผนการกระทำมีความคงที่ และรับรู้ร่วมกันของสมาชิกทางสังคม  แบบแผนเหล่านี้จะพัฒนาไปสู่สถาบันทางสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดระเบียบ  เช่น เมื่อมีร้านอาหารเพิ่มมากขึ้น ก็จำเป็นจะต้องมีองค์กรที่ขึ้นมาทำหน้าที่ ในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ   องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความสะอาด ปลอดภัย ของอาหาร  หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค  นักสังคมวิทยาเรียกกระบวนการเกิดขึ้นขององค์กรหน่วยงานเหล่านี้ว่าเป็นกระบวนการกลายเป็นสถาบัน (Institutionalization)  สถาบันทางสังคมเหล่านี้มีการจำแนกแตกต่างของการทำหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อการกระจายทรัพยากรให้กับบุคคล  และแสดงบทบาทในการทำหน้าที่ที่ซับซ้อนที่สังคมมีความต้องการ  เมื่อสถาบันทางสังคมเกิดขึ้นหลาย ๆ สถาบันและต่างทำหน้าที่สนองตอบต่อกันได้นำไปสู่ระบบทางสังคม Social System  (Parsons, Alexander ed. 2001 pp.100-124; Turner, 1971 pp.38-53; Ritzer, 2000 pp.233-239) การเกิดขึ้นของสถาบันเปรียบเสมือนมีผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการใช้กฎเกณฑ์  ลงโทษ และให้รางวัล  ดังนั้นจึงทำให้ระบบวัฒนธรรม ที่ประกอบด้วยชุดของ ค่านิยม กฎ เกณฑ์ บรรทัดฐาน มีความแข็งแกร่งขึ้น  และส่งผ่านวัฒนธรรมเหล่านี้จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งสู่อีกสังคมหนึ่ง  ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า (Universal Culture) ที่บุคคลรับรู้ร่วมกันอย่างเป็นสากล     
Function / ConceptNorms                                                  Socialization                            InternalizationInstitution/Structure
             เมื่อใดก็ตามที่เข้าไปสั่งอาหารและไม่ชำระเงิน สถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้องก็จะเข้ามาทำหน้าที่  และส่งผ่านเป็นขั้นตอนตามกระบวนการพิจารณาลงโทษ  ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์   ความจริงทางสังคมจึงมีอยู่ จับต้องได้ และเป็นรูปธรรม  เพื่อให้สังคมดำรงอยู่อย่างมีระเบียบ          สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากมันเป็นเพียง วาทกรรม   การจัดการ ความจริง ในมุมมองสหวิทยาการ            ความจริงในยุคสังคมหลังความทันสมัย  ดูจะเป็นความจริงที่สับสน ไม่มีศูนย์กลาง แต่กระจายไปอย่างไร้ขอบเขต ไม่สามารถ วัด คำนวณ และทำนาย ตลอดจน สร้างความกฎเกณฑ์สากลได้  ความจริงสัมพัทธ์ไปตามเวลา สถานที่  ความรู้สึก  และบริบทเฉพาะของแต่ละบุคคล วิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถศึกษาปรากฏการณ์เหล่านี้ได้ทั้งหมด วิทยาศาสตร์เองก็ยอมรับในเรื่องนี้จาก ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) ทำให้เห็นแนวโน้มที่วิทยาศาสตร์จะมาบรรจบกันกับศาสนา (ประเวศ วะสี, 2547 น.10) เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบหน่วยที่เล็กกว่าอะตอม  (sub-atomic) ที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือทางสถิติด้วยการประเมินความน่าจะเป็น (Probability)  เนื่องจากเครื่องมือทางสถิติเหล่านี้วัดตัวเลข และสรุปจากสถิติจำนวนมาก แต่ระดับที่เล็กกว่า atom นั้นไม่สามารถวัดด้วยเครื่องมือวัดได้ตามแนวทางดังกล่าวได้  ปฏิกิริยาของสิ่งเล็กเหล่านี้เมื่อกระทบกับปัจจัยต่าง ๆ และรวมกันเข้าจะกลายเป็นภาวะที่สับสนวุ่นวาย ตัวอย่างที่นำมากล่าวอ้างคือ การขยับปีกของผีเสื้อในบราซิลเป็นผลให้เกิดพายุเทอร์นาโดในรัฐเท็กซัส ของอเมริกา ภาวะเช่นนี้ เป็นภาวะที่เรียกว่า Chaos เป็นผลจากกฎการย้อนกลับไปกลับมาจนสั่งสมเกิดเป็นพลังมหาศาล นอกจากการเกิดของ Chaos แล้ว การค้นพบ  sub atomic  ที่มี electron วิ่งวนรอบ  nucleus  ที่ประกอบด้วย protons   และ neutrons  คล้ายกับระบบสุริยจักรวาล ขณะที่ Atom แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กันและมันส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน แต่การเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาภายใน Atom เราไม่สามารถจะเห็นได้  ดังนั้นการทำนายโลกตามหลักของ Newton  และหลักความน่าจะเป็นจึงไม่สามารถทำได้ ประกอบกับการค้นพบว่าแสงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงหากแต่มีลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็ก  การยอมรับว่าความจริงมีลักษณะสัมพัทธ์ ขณะเดียวกันการค้นพบ DNA ทำให้ทราบทำให้ทราบถึงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในการเพิ่มความซับซ้อนในตัวของสิ่งมีชีวิต                 ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำไปสู่การศึกษาระบบซับซ้อนที่สนใจที่ระบบทั้งหมด ขณะเดียวกันก็ศึกษาผลกระทบที่มีต่อส่วนย่อยภายในระบบด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาแนวนี้แม้ว่าจะศึกษาในระดับที่คลอบคลุมมากที่สุดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะศึกษาในระดับที่เล็กที่สุดด้วย เช่น ถ้าต้องการศึกษาระบบการจราจรทั้งระบบ ส่วนย่อยที่จะศึกษาไม่ใช่เครื่องยนต์ที่อยู่ในรถแต่เป็นวิธีการขับรถ (It’s maximum not its minimum) ผลกระทบสำคัญอีกประการของการเกิดขึ้นของความรู้เรื่องระบบซับซ้อนคือกระบวนการสร้างทฤษฎีแบบ reduction ที่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป   (Thompson, 2001 pp.31, 118-119,120-121)  วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เริ่มเบนมาบรรจบ มุมมองการหาความรู้แบบมองระบบทั้งหมดตามแนวปรัชญาแบบ Coherentism  ขณะเดียวกันก็สร้างเครื่องมือวัดปรากฏการณ์แบบไม่เป็นเส้นตรง เนื่องจากภาวะโกลาหล  (Chaos) ที่วิทยาศาสตร์ค้นพบนั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และไม่ได้เป็นเส้นตรงแต่เป็นปฏิกิริยาที่เหนี่ยวรั้ง สะท้อนกลับไป วิทยาศาสตร์จึงศึกษามันในภาวะที่เป็นเส้นตรงพอประมาณ (Linear Approximations) โดยใช้คอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ (Lucas, www.calresco.org/nonlin.htm) และมองความจริงในลักษณะสัมพัทธ์ (Relative)  มากกว่าความจริงในลักษณะความจริงแท้แน่นอน (Absolute Truth)              ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงทิศทางการเชื่อมประสาน ระหว่างปรัชญาการมองความจริง และการค้นหาความจริง  ที่เบนเข้าหากัน  วิทยาศาสตร์แนว Instrumentalism ที่ให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์เฉพาะ และไม่เชื่อว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จะอธิบายได้ทุกสิ่งอย่างเป็นสากล กับการสนับสนุนทฤษฎีในแนว Realism ในการตรวจสอบ ยืนยัน  ต่อเติม เมื่อนำทฤษฎีมหภาค มาพิสูจน์ในปรากฏการณ์เฉพาะควรจะเป็นทางออกที่ดี สำหรับการจัดการกับความจริงในระดับที่แตกต่างกัน มากกว่าจะยึดมั่นในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง  เช่นเดียวกับการศึกษาระบบซับซ้อน ภาวะโกลาหลที่กล่าวถึงข้างต้นที่ยังคงใช้หลัก Empiricism ในการศึกษาแต่ก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ไม่เป็นเส้นตรง และศึกษาในบริบทของระบบที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดของปรากฏการณ์ที่ศึกษาที่เรียกว่าองค์รวม  แสดงให้เห็นถึงการเลือกใช้ปรัชญา การมองความจริง และการค้นหาความจริง  ที่ไม่จำเป็นจะต้องเอนไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างสุดขั้ว              หากจะลองใช้การวิเคราะห์ วาทกรรม ของกลุ่ม Post modern มาอธิบายการจัดกลุ่มในทางปรัชญาแล้ว การจัดกลุ่มทางปรัชญาก็เป็นเพียงการจัดระบบองค์ความรู้ให้มีความเข้มแข็ง ชัดเจน เป็นหนึ่งเดียวกัน ชุดวาทกรรมที่มีลักษณะเดียวกันให้มาอยู่รวมกัน  เพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับ เชื่อมั่น และส่งผ่านมันต่อไปยังชุดของปรากฏการณ์ หรือความจริงที่เหมาะกับปรัชญานั้น ๆ เช่น การศึกษา โครงสร้างทางสังคมของคนกรุงเทพ ด้วยปรัชญาแบบ Realism ด้วยการค้นหาความจริงตามหลัก Foudationalism    การศึกษา   นักโทษคดีข่มขืน  ด้วยปรัชญาแบบ Idealism ใช้วิธีการค้นหาความจริงตามปรัชญาแบบ Coherentism หรือ Phenomenalism ก็เป็นไปเพื่อสร้างสาวกในวงวิชาการ  ที่เมื่อยึดมั่นอยู่กับปรัชญาแบบใดแล้ว ก็จะสนใจเฉพาะเรื่องที่ปรัชญาเหล่านั้นตีกรอบไว้ให้ศึกษา และใช้วิธีการ ระเบียบวิธี (Methodology) ที่ปรัชญานั้น ๆ ยอมรับ เมื่อศึกษาพบข้อ ““ความจริง””  ก็นำมาย้อนกลับเพื่อสนับสนุนปรัชญาเริ่มแรกที่ยึดถือไว้แต่ต้น  ปรัชญาการมองความจริงในกรณีจึงเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ควบคุม ครอบงำ นักวิชาการ ให้ยึดมั่นและปิดกั้นตนเองไม่ให้เปิดรับ ปรัชญาที่มีความเห็นแตกต่างจากสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับที่ตัวเองยึดถือ  ดังนั้นการจัดการกับ ความจริงจึงไม่ควรไปยึดติดอยู่กับ ปรัชญา ความเชื่อ หรืออุดมการณ์ ใดอุดมการณ์หนึ่ง หากแต่ควรเลือกใช้มันให้สอดคล้องเหมาะสมกับคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการศึกษา และเป้าหมาย ความจริง ที่ต้องการรู้             ถ้าหากเรายึดมั่นความจริง เป็นสิ่งสัมพัทธ์ (Relativism) ไปอย่างสุดขั้วแล้ว เราจะไม่มี ความจริง ให้จัดการ และความรู้ใด ๆ ก็จะไร้ประโยชน์ ใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้ ระบบการศึกษาจึงพังทลายลงทั้งระบบ ขณะเดียวกันหากเราเชื่อว่าความจริงนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เราสามารถค้นหากฎเกณฑ์ที่จะอธิบายได้ทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว  เราจะละเลย สิ่งที่เราสัมผัสไม่ได้ มองไม่เห็น ในธรรมชาติแต่มีอยู่และดำรงอยู่ดังเช่นที่วิทยาศาสตร์ผิดพลาดมาแล้วในอดีต  หรือในทางวิทยาศาสตร์สังคมก็เช่นกัน หากมุ่งค้นพบกฎเกณฑ์ทางโครงสร้าง เราจะละเลยกลุ่มชนชายขอบ สังคมที่เบี่ยงเบนไปจากสังคมส่วนใหญ่  คนไข้โรคจิต นักโทษประหาร ซึ่งเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่จะถูกมองข้าม และข้อค้นพบของฝ่ายตรงข้ามก็จะกลับมาโต้แย้งองค์ความรู้ที่ศึกษาด้วยการยึดมั่นปรัชญาของอีกฝ่าย ที่ละเลย    ความจริง  ของมุมมองในปรัชญาอื่น และกลายเป็นวิวาทะทางวิชาการที่ช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในอีกลักษณะหนึ่ง  แต่ในฐานะนักวิชาการที่ถูกบ่มเพาะมาในลักษณะสหวิทยาการ ควรวางตนให้เป็นกลาง ดังเช่นที่ น.พ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า              ถ้าจิตไม่เป็นกลาง ก็จะไม่รู้สภาพตามความเป็นจริง จิตที่มีอคติด้วยประการใด ๆ ก็ตาม เช่น ฉันทาคติ โมหาคติ โทสาคติ หรืออภยาคติ ก็จะเห็นเอียงไปตามคตินั้น ๆ จิตที่ยึดมั่นก็ทำให้ไม่เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง... การเข้าไปยึดมั่นในทิฐิ หรือทฤษฎี หรือหลักวิชาบางอย่าง ทำให้ติดอยู่อย่างนั้น แกะไม่ออก ขาดอิสรภาพที่จะรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง (ประเวศ วะสี, 2547 น.16)             ด้วยเหตุที่ความจริง และการค้นหาความจริง  มีการหยิบยืม สานต่อ โต้แย้ง กันระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ  กลุ่ม Post modern เริ่มขึ้นจากรากฐานความคิดจากมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาศาสตร์ ที่เรียกว่าโครงสร้างนิยม (Structurism) และพัฒนาต่อมาจนได้รับการยอมรับในทางสังคมศาสตร์ และเข้าไปมีผลกระทบต่อวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรง  ในปัจจุบันทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เริ่มถูกนำมาใช้ข้ามสาขาวิชา และข้ามศาสตร์  จะเห็นได้จากการศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ที่เป็นรากฐานของ Postmodern ที่เรียกว่า  สัญวิทยา ซึ่งได้แก่การมุ่งค้นหากระบวนการสร้างความหมายให้กับสิ่ง   ต่าง ๆ ด้วยภาษา ได้ถูกนำมาใช้ในสังคมศาสตร์อย่างกว้างขวางและถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพของปรากฏการณ์ทางสังคมด้วย (Penn, 2000 ed.by Bauer and Gaskell p.227-245) โดยไม่ต้องกล่าวถึง สังคมศาสตร์ ที่รับเอาปรัชญาวิทยาศาสตร์มาใช้ในการค้นหาความจริง จนสร้างความเป็นศาสตร์ได้เคียงบ่าเคียงไหล่กับวิทยาศาสตร์   ความเป็นสหวิทยาการจึงไม่ได้เป็นเพียงการสร้างองค์ความรู้ขึ้นจากความรู้ที่หลากหลายสาขาวิชาอีกต่อไป หากแต่เป็นการสร้างองค์ความรู้ขึ้นจากความหลากหลายของศาสตร์ ทั้งวิทยาศาสตร์  สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์              อย่างไรก็ตามสหวิทยาการไม่ควรจะจำกัดตนเองว่า จะต้องศึกษาแบบแยกส่วน หรือศึกษาแบบองค์รวม หรือบูรณาการ หรืออะไรที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ในลักษณะการกำหนดขอบเขตของการศึกษา  เมื่อกำหนดจิตให้เป็นกลางแล้ว ก็ไม่ควรรังเกียจ  หรือเลือกยึดถือแบบใดแบบหนึ่ง เพราะท้ายที่สุดแล้ว การศึกษาแบบองค์รวมก็ไม่สามารถจะกำหนดของเขตศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งที่ศึกษาต่อ เอกภพ หรือต่อจักรวาล ทั้งหมดได้ หากแต่ต้องตัดแยกส่วนออกมาศึกษาในขอบเขตที่จะเอื้ออำนวยให้ค้นพบข้อ ความจริงที่ต้องการจะรู้อยู่ดี หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ย่อมต้องไปด้วยกัน เช่นเดียวกับการศึกษาแบบแยกส่วน องค์รวม ที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ข้อพิจารณาจึงอยู่ที่ว่า ต้องการนำ ความจริง ที่ได้มาสร้าง อำนาจ แบบใดเท่านั้น              ท้ายที่สุดแล้ว การจัดการความจริงก็คือ ต้องดึงตนเองออกจากความจริง ในแบบใดแบบหนึ่ง และจัดการกับมันด้วยจิตที่เปิดกว้าง (Open Mind) เป็นกลาง  มิเช่นนั้นแล้วแทนที่จะสามารถจัดการกับความจริง ก็อาจจะถูกความจริงจัดการ เพราะความยึดมั่นกับความจริงนั้น จนละเลยความจริงอื่น และกลายเป็นสาวกของความจริงไปในที่สุด     นี่คือประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนเห็นถึงความแตกต่างระหว่างสหวิทยาการกับสาขาอื่น.


[1] ได้รับความคิดหลักจาก   John R. Searle, The Construction of Social Reality, 1995
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท