การตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test)


การตรวจการทำงานของตับ

                ในผู้ป่วยที่ติดสุรานั้น   หลายคนคงเคยเห็นแพทย์สั่งตรวจ Liver function test    แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ค่าที่ตรวจได้นั้นมีความหมายว่าอย่างไร      ได้ไปอ่านพบใน websites  เห็นว่าอ่านเข้าใจง่าย  เลยขอเอามาทบทวนให้ทราบดังนี้
                           
                การตรวจ Liver function test (LFT)  เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาความผิดปกติของทำงานของตับ   เนื่องจากตับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายมากมาย   การตรวจดู LFT จึงต้องดูจากผล Lab หลายค่าดังนี้

                                                                ค่าปกติของผลเลือด
                         Total protein                     6.0  -   8.0 g/dl
                         Albumin                             3.5  -  5.0 g/dL
                         Globulin                             1.5  -  3.2 g/dL
                         Total bilirubin                    0.1  -  1.0 mg%
                         Direct Bilirubin                  0.1  -  0.3 mg %
                         AST (SGOT)                        8   -   50 U/L
                         ALT (SGPT)                         8   -   50 U/L
                         ALP (Alk. Phosphatase)   35  -  110 U/L

                     ค่าต่างๆ เหล่านี้   สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้
          1.  กลุ่ม Enzyme ตับ บ่งบอกถึงสภาวะของเซลล์ตับในขณะนั้น 
          2.  กลุ่มผล Lab ที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์น้ำดี 
          3.  กลุ่มผล Lab ที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างโปรตีน 
          4. กลุ่มผล Lab ที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว (การตรวจสุขภาพทั่วๆ ไปจะไม่ค่อยได้ตรวจตัวนี้กัน  แต่จะตรวจในคนป่วยโรคตับที่เป็นมากแล้ว)
 
                 เรามาดูรายละเอียดกันทีละกลุ่มเลยดีกว่า

1. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกถึงสภาวะเซลล์ตับ หรือเอนไซม์ (enzyme)ตับ  ที่นิยมตรวจ ได้แก่
                 - AST  หรือเรียกอีกชื่อว่า SGOT
                 - ALT  หรือเรียกอีกชื่อว่า SGPT
                 - Alkaline phosphatase  หรือมักจะเขียนย่อๆ ว่า ALP

                 การที่มีค่าเอนไซม์เหล่านี้ โดยเฉพาะค่า SGOT และ SGPT ที่สูงขึ้นมากนั้น เป็นตัวบ่งบอกว่า เซลล์ตับกำลังมีการอักเสบหรือแตกสลายอยู่ จึงทำให้เอนไซม์ตับซึ่งปกติจะอยู่แต่ภายในเซลล์ตับเท่านั้นหลุดลอดออกมาในกระแสเลือดมากขึ้นให้เราตรวจเจอได้      ค่าเอนไซม์ ALP สูงขึ้นผิดปกติก็สามารถพบได้ในกรณีที่มีก้อนแอบแฝงเบียดในตับได้  จำเป็นจะต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น อัลตราซาวน์ (Ultrasound) เป็นต้น

2. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับการสังเคราะห์และขับน้ำดี   ค่าที่ใช้ตรวจ  ได้แก่ 
                  - Total Bilirubin มักถูกเขียนย่อๆ ว่า T. Bilirubin
                  - Direct  Bilirubin เขียนย่อๆ ว่า D. Bilirubin 
                  - Indirect Bilirubin (ปกติจะไม่มีการเขียนแสดงค่าในใบรายงานผล  แต่สามารถคำนวณได้ โดยใช้สูตร Indirect bilirubin = Total bilirubin – direct bilirubin)
           
              การแปลผลจะเน้นที่ค่าของ  Direct (Conjugated) Bilirubin และ Indirect (Uncojugated) bilirubin      โดยทั่วไปแล้วเวลาที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย   Hemoglobin จะเกิดการสลายตัว ได้เป็น Uncojugated  Bilirubin (Indirect bilirubin)  ดังนั้น ค่าของ Indirect bilirubin มากกว่าปกติ อาจบ่งบอกถึงสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายมากผิดปกติจนเกิดภาวะดีซ่าน  ตัวเหลืองตาเหลืองตามมา   มากกว่าที่จะเป็นปัญหาโดยตรงของตับ         

            จากนั้นUnconjugated bilirubinจะถูกส่งไปที่ตับ  ผ่านกระบวนการกำจัดทิ้งโดยการ conjugate ทำให้กลายสภาพเป็น Conjugated bilirubin ซึ่งละลายน้ำได้ดีขึ้นเพื่อส่งต่อไปขจัดทิ้งทางท่อน้ำดีออกไปรวมกับอุจจาระ   ทำให้อุจจาระมีสีเหลืองอย่างเช่นที่มองเห็นนั่นเอง  การที่เซลล์ตับมีการอักเสบซึ่งทำให้ไม่สามารถเอา Unconjugate bilirubin เข้าไปในเซลล์เพื่อ Conjugateได้     ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจาะเลือดเจอค่า Indirect bilirubin ในเลือดสูงผิดปกติได้เช่นกัน
              ในทางตรงกันข้าม ถ้ากระบวนการทำงานของตับเป็นไปโดยปกติสามารถเปลี่ยนจาก Unconjugate bilirubin ให้กลายเป็น Conjugated bilirubin ได้ (Direct  bilirubin)  แต่กลับเกิดปัญหาอุดกั้นของท่อน้ำดี  จนไม่สามารถขับน้ำดีทิ้งไปได้ ก็จะมีผลทำให้ Conjugated bilirubin ล้นกลับไปในกระแสเลือดได้    ถ้าไปตรวจเลือดคนไข้ในกลุ่มนี้ ก็จะพบว่าค่า Direct  Bilirubin ขึ้นสูงกว่าปกติ

3. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกเกี่ยวกับความสามารถของตับในการสร้างโปรตีน  ค่าที่นิยมตรวจได้แก่
                 - Albumin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Alb
                 - Globulin หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Glob
                 - Protein หรือมักถูกเขียนย่อๆ ว่า Prot

              การแปลผลในกลุ่มนี้ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่  เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของตับคือการสร้างโปรตีนหลายๆ ชนิด ถ้าตับทำงานแย่ลงหรือเสื่อมสภาพ เช่น ตับอักเสบ, ตับแข็ง   ก็จะทำให้มีความสามารถในการสร้างโปรตีนลดลง ถ้าตรวจเลือดก็จะพบว่าค่าของ Albumin, Globulin, Protein ต่ำลงเช่นเดียวกัน

4. กลุ่มผลเลือดที่บ่งบอกถึงความสามารถในการสร้างสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
                จริงๆ แล้ว สารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวก็คือโปรตีนชนิดหนึ่ง ถ้าความสามารถในการสร้างสารต่างๆ ของตับลดลงมากจนไม่สามารถสร้างโปรตีนในกลุ่มนี้ได้มากพอ ก็จะมีปัญหาเลือดออกง่ายในผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามมา

                  เนื่องจากสุราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบหรือโรคตับแข็ง      ผู้ป่วยที่ติดสุรามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง     เมื่อแรกรับเข้ารับการรักษาส่วนใหญ่จึงมักถูกส่งตรวจหาความผิดปกติของการทำงานของตับ (LFT)   และถ้าพบความผิดปกติ  จะได้รับยาในการรักษาและมีการติดตามค่า LFT อย่างต่อเนื่อง       

เอกสารอ้างอิง
1.  http://www.wedding.co.th/wartc_idea033.html
2.  http://www.knc.ac.th/somchit/blood1.html

คำสำคัญ (Tags): #สุรา
หมายเลขบันทึก: 87500เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูล กำลังทำรายงานเรื่อง LFT อยู่พอดี เป็นประโยชน์มากค่ะ

ผมมีปัญหาของปรึกษาคับ

ผมได้ตรวจการทำงานของตับ

พบว่าค่า ast และ alt ปกติ แต่ค่าของ alp สูงเกินปกติ

คือว่า ผมก็ไม่ค่อยได้ดื่มสุรา ถือว่าดื่มน้อยเลยคับ

ช่วยตอบข้อสงสัยดว้นนะคับ

ขอบคุณคับ

สวัดดีครับ อยากสอบถามว่าตจรว LFT ครั้งละเท่าไรครับ อยากสอบถามค่าใช้จ่ายหน่อยครับ สวัดดีครับ ขอบคุณมากครับ

ผมไปตรวจสุขภาพประจำปี 53 นี้ ได้ทราบค่า Total Bilirubin 1.3 mg/dl [0.3 - 1.2] หมายความอย่างไรครับ

[img]http://gotoknow.org/file/soontrees/usablelabs.jpg[/img]

อัลคาไลน์ ฟอสฟาเทส ของผมมีค่า 179 อันตรายไหมครับ

 

คนโดนตรวจขอบคุณครับ

ค่า glob ของผม 3.4 จะอันตรายมั้ยครับ

การทำงานของตับ(Alk) ได้96 U/L

คอเลสเตอรอล 257 mg/di

ไขมันเลว (LDX) 172 mg/di

เมื่อประมาณ 2 ปีที่เเล้วมีก้อนไขมันหรือก้อนเนื้ออยู่ตรง ชายโครง ด้านขวา มันโปนขึ้นมาเเล้วก็ค่อยยุบตัวลงบ้างแต่สัมผัสดูก็ยังรู้ว่ายังมีก้อนอยู่ ไม่ทราบว่าจะเป็นก้อนไขมันหรือก้อนเนื้อที่ไปเบียดตับอยู่หรือป่าวค้ะ เนื่อกจากปัจจุบันวัดค่า Alk ได้ 96 U/L ควรจะผ่าตัดออกดีหรือไม่ค้ะ เเละถ้าผ่าตัดออกจะอันตรายมั้ยค้ะ

ขอขอบคุณที่ช่วยให้คำเเนะนำค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท