ทิศทางรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


การประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6

       ช่วงนี้เรื่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำลังเป็นที่สนใจเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคนไทยทุกคนว่า จะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540  หรือนำมาปรับปรุงแก้ไขบางส่วน หรือร่างกันใหม่ทั้งฉบับ จริงๆ ตอนเรียนกฎหมายระหว่างประเทศ และทางคณะผู้จัดงาน จัดงานที่ มธ. อาจารย์ก็บอกว่าอยากให้นักศึกษามาฟัง เพื่อร่วมกันคิด  ร่วมกันร่างสิ่งที่ควรจะเป็น แต่ติดว่าทำงานจึงพลาดโอกาสที่จัดที่ มธ.มา 3 ครั้ง แต่การประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 28-29 มีนาคม 2550 มีการประชุมที่เมืองทองธานี ที่ทำงานเลยมอบหมายให้เป็นผู้แทนกรมมาเข้าร่วมประชุมแทนเพราะเห็นว่ากำลังศึกษาอยู่จึงเป็นประโยชน์แก่ตัวเองจริงๆ เพราะทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

       ในการประชุมมีคนที่มีชื่อเสียงมาเสวนา เช่น นายอุทัย พิมพ์ใจชน ปกติไม่ค่อยรู้จัก พอได้ฟังการอภิปรายทำให้มองเห็นภาพของผู้แทนของประชาชนชัดเจนขึ้น และการทำงานของฝ่ายการเมือง เป็นการรับรู้ประสบการณ์อีกด้านหนึ่ง และผู้เข้าร่วมการอภิปรายที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น นางสดศรี สัตยธรรม นายวิชา มหาคุณ รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน เป็นการรับฟังและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและเสนอสภาร่างรัฐธรรมนูญต่อไป

       สำหรับการอภิปรายในสองวันที่ผ่านมาต้องขอชื่นชม อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ทั้ง ธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ ว่าเป็นมืออาชีพจริงๆ เก่งๆ ทั้งนั้นเลย สามารถคุมเกมการอภิปรายได้ ทั้งที่มีเรื่องที่ต้องถกเถียงกันบ้าง เนื่องจากเรื่องของรัฐธรรมนูญ เป็นอะไรที่นานาทัศนะ มีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มายาวนานหลายท่าน ทำให้ต้องมีความคิด ความเห็นที่อาจแตกต่างกันบ้าง เพราะบางครั้งต้องยอมรับว่า แต่ละคนก็มีดีต่างกัน ความคิดต่างกัน แต่สุดท้ายก็คือ ต้องการให้งานออกมาดี จึงเป็นอะไรที่ทำให้ได้เห็น ได้รับฟัง ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน มาให้ความคิดเห็นและช่วยจุดประเด็นความคิดให้คิดว่าจะต้องทำอะไรต่อไป และจะทำอย่างไร จึงเป็นโชคดีที่เป็นผู้แทนของกรมไปเข้าร่วมประชุม ซึ่งในการประชุมกลุ่มย่อย ผู้เขียนเลือกกลุ่มเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ซึ่งคิดว่า ได้รับประโยชน์มาก เพราะผู้ทรงคุณวุฒิที่มาเสวนา เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้เขียนจึงได้ความรู้ ข้อคิดเห็น และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการทำงาน

       ส่วนช่วงบ่ายวันนี้เป็นการสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยซึ่งมีทั้งหมด 6 กลุ่ม การสรุปผลแต่ละกลุ่มก็ยิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนเพราะเราไม่สามารถเข้าฟังทุกกลุ่มได้ การสรุปผลกลุ่มที่ผู้เขียนเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย เป็นการนำเสนอจากอาจารย์จากจุฬาฯ ต้องขอชมอีกเช่นกันว่าอาจารย์พยายามอธิบายเพื่อให้ผู้เข้าฟังสัมมนาที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศเข้าใจให้ง่ายขึ้น ได้ดีนะ ผู้เขียนชอบมากอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนดี แต่ท่าทางคงมีคนไม่เข้าใจ จึงเป็นกลุ่มเดียวที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่มีใครถามเลยเพราะเขาอาจยังไม่เข้าใจเรื่องพันธกรณีระหว่างประเทศ

       ดังนั้น จุดนี้นับว่าสำคัญสำหรับประเทศไทยเพราะประชาชนคนไทยยังมีอีกมากที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ จึงควรมีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยไปให้ข้อผูกพัน หรือให้สัตยาบันสนธิสัญญาอะไรไว้บ้าง เพื่อจะได้ปฏิบัติตามข้อผูกพัน หรือไม่ทำอะไรที่ผิดไปจากที่ประเทศไทยไปให้สัตยาบันไว้ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประเทศไทยได้ และเพื่อหากประเทศไทยจะทำอะไรจะได้หลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำอะไรให้เกิดผลเสียหรือก่อความเสียหายตามมาได้ การประชุมในวันนี้มีแต่คนสนใจและมีคำถามมากมาย ทำให้ประชุมเกินเวลามาสองวันแล้ว ถ้าผู้ดำเนินการไม่ตัดบทก็คงประชุมไม่เลิกแน่ จึงเป็นอะไรที่ประชาชนสนใจกันจริงๆ บางคนเป็นเกษตรกรเต็มขั้น แต่เวลาถามหรือให้ความคิดเห็นต้องยกนิ้วให้ เป็นความคิดที่เฉียบคมดีมาก สมแล้วที่มาให้ข้อคิดเห็นเพื่อมาช่วยกันคิด ช่วยกันยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งพวกเราก็ต้องดูกันต่อไปว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างรัฐธรรมนูญจะร่างเนื้อหาและรายละเอียดของรัฐธรรมนูญออกมาเป็นอย่างไร จะคงเนื้อหาและหลักการของรัฐธรรมนูญ ปี 2540 บางมาตรา หรือยกร่างกันใหม่ทั้งฉบับ  งานนี้ต้องติดตามลุ้นกันต่อไป

โปรดอ่านต่อ http://gotoknow.org/file/saisaard/view/72239

http://learners.in.th/blog/vayupak3/53826

ปล. ขณะนี้มีบ้านหลังที่สองเชิญติดตามอ่านงานได้ที่

http://learners.in.th/blog/vayupak/33238

หมายเลขบันทึก: 87441เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากให้คมช.บอกก่อนว่า ถ้าประชามติไม่เอาฉบับใหม่แล้วจะใช้ฉบับไหนแทน ตอนนี้รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว ให้อำนาจ คมช. เลือกฉบับไหน มาปรับปรุง ก็ได้ถ้าประชามติไม่เอา ฉบับใหม่ ...​
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท