จาก คลินิกเบาหวาน จนถึง คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด วารินชำราบ เราเพึ่งมาได้ครึ่งทาง ( ละมั้ง )


หวังไว้ว่าการบันทึกนี้ จะเป็นประโยชน์ ในวันข้างหน้า เพราะจะมีเรื่องราวของ การทำงานที่ ดี ดี ของชาว blog ได้ทั้งแก่นความรู้ และ เกร็ดความรู้ เป็น Infinity KM อย่างที่ อาจารย์ประพนธ์ เขียนไว้ น่าจะดีกว่า การเป็นวิทยากร อบรม เจ้าหน้าที่ ปีละครั้ง สองครั้ง

ตอนแรก  ผมคิดว่า  จะบันทึก สิ่งที่ได้พบ ได้พลาด  ใน blog เดียว คือ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์  เพราะ เวลามีจำกัดในการบันทึก และก็ยังไม่ได้คิดจะ รวบรวม เรื่องราวของคลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาล วารินชำราบ  เพราะรู้สึกว่า ยังมีระยะทางอีกไกลเหลือเกิน กว่าจะได้ ถึงจุดที่เรา  คิด ฝันไว้ รวมทั้งการพัฒนาเราก็ ค่อย ๆ คลานไป  กระดึบ กระดึบ ยังไม่น่าพอใจ สักเท่าไหร่นัก

แต่พอได้มาอ่าน " การจัดการความรู้ KM ฉบับขับเคลื่อน " ของอาจารย์ประพนธ์ ผาสุกยืด ( ผมยังไม่เคยได้อ่าน เรื่องราวของ KM เลยครับ เขียน blog มาเป็นเดือน สองเดือน แล้ว เพิ่งคอย ๆ มาเรียนรู้เรื่อง KM ก็จากหนังสือ อาจารย์ประพนธ์ เล่มนี้แหละครับ ( เป็นคนเรียนรู้ช้า ๆ แต่ เรียนได้ นาน ๆ ครับ  ))   

 ระหว่างอ่านเรื่อง ความรู้ชัดแจ้ง Explicit Knowledge  กับความรู้ฝังลึก Tacid knowledge   ผมก็คิดตามว่า 14-15 ปี ที่ทำงานมา กับคลินิก เบาหวาน จนมาถึงวันนี้ เรียก คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด รพ.วารินชำราบ  เรามี Tacid knowledge  อะไรบ้างหรือเปล่า นึกย้อนไป 10 กว่าปีก่อน เราเป็นอยู่อย่างไร   วันนี้เรามาถึงตรงนี้ผ่านอะไรมาบ้าง   ผมต้องใช้เวลานึก ครับ 

เลยตัดสินใจว่า มีความจำเป็นที่จะต้องบันทึก เรื่องราวของ คลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ด้วยเหตุผลหลายข้อครับ

1. ได้คำตอบว่า ที่ผ่านมา เรามีเรื่องราวมากมาย ล้มลุกคลุกคลานมาก สำเร็จบ้าง ล้มเหลวไม่น่าทำตามบ้าง  ผมเห็น  วิวัฒนาการดังกล่าวมาตลอด 14 ปี  ด้วยตนเอง  และเป็นแพทย์คนเดียว ในโรงพยาบาล วารินชำราบ ที่ทำงาน ด้านนี้ มาตลอด ( อยู่มานาน จริง ๆ แฮะ )   มาวันนี้ ถ้าจะถามเรื่องราว ก็ยังพอจะจำได้ แต่ผมคิดว่าวันข้างหน้า ผ่านไปหลายปี  คงไม่สามารถเก็บประเด็นที่ดี ๆ ไว้ได้   ทำให้ต้องรีบทบทวนและบันทึกไว้

2. จากข้อหนึ่ง ถ้าวันนี้มีอะไรดีดี  ที่ต้องบันทึก การทำงาน ไว้เพื่อเรียนรู้  สำหรับตัวเอง และเพื่อนร่วมงาน  รวมทั้งเพื่อนคนอื่น ผมควรรีบบันทึกไว้ เพราะมัน สด เก็บประเด็นได้ดีกว่า มานั่งทบทวนจากความจำ

3. เลือกบันทึกใน g2k เพราะเราได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโลกที่กว้างขึ้น เพราะสิ่งที่เราทำ  ยัง ไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด มีหลายเรื่องทีเดียวที่ยัง สงสัยว่าจะทำยังไงต่อ  ยังหาคำตอบไม่ได้  บางเรื่อง ต้วมเตี้ยมเสียเหลือเกิน  ยังดีนะเนี่ย ที่ยังอยู่ในเส้นทางตลอด ไม่หนีไปไหน

4. ผมมีหน้าที่หลักคือการ พาคนทำงาน ทั้งในโรงพยาบาล และ pcu ได้เรียนรู้การทำงานให้ดีขึ้น  หวังไว้ว่าการบันทึกนี้ จะเป็นประโยชน์ ในวันข้างหน้า เพราะจะมีเรื่องราวของ การทำงานที่ ดี ดี  ของชาว blog ได้ทั้งแก่นความรู้ และ เกร็ดความรู้  เป็น Infinity KM อย่างที่ อาจารย์ประพนธ์ เขียนไว้ น่าจะดีกว่า การเป็นวิทยากร อบรม เจ้าหน้าที่ ปีละครั้ง สองครั้ง

พอเริ่มคิดจะบันทึก ก็มีเรื่องราวมากมาย ขึ้นมาในสมอง เอ! แล้วผมจะเริ่มยังไงดีเนี่ย 

 

หมายเลขบันทึก: 86384เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2007 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์เขียนอะไรก็ได้ครับ ผมจะรออ่าน

ส่วนเรื่องเท้าเบาหวาน อาจารย์ มีต้นทุนแล้วนะครับ เพราะนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลอาจารย์ เคยผ่านงานเรื่อง การรักษาเผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวาน จากสถาบันเรา เมื่อปีที่แล้ว น่าจะมีองค์ความรู้หลงเหลือพอที่จะช่วยงานอาจารย์ ไม่มากก็น้อยครับ

ขอบคุณ คุณธิติ มากครับ  มีเรื่องต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับคุณธิติ อยู่หลายเรื่องเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท