การเดินวิชชาธรรมกายตามแนว สติปัฏฐาน ๔


การเดินวิชชาธรรมกายตามแนว สติปัฏฐาน ๔

โดยอาจารย์การุณย์  บุญมานุช


     ติปัฏฐาน ๔ คืออะไร ? จงอธิบายทั้งความรู้ปริยัติ และความรู้ปฏิบัติ

     - สติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา

     - สติ คือ การระลึกรู้ คือการระลึกได้ การขาดสติ คือ การระลึกไม่ได้ จำไม่ได้ ลืมเสียแล้ว นึกอะไรไม่ได้ เป็นลักษณะของคนเหม่อใจลอย ปล่อยใจล่องลอยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักระวังใจ เรียกว่าเป็นคนสติไม่มั่นคง

     - ท่านสอนให้เรากำหนดสติ คือให้เราตั้งใจพิจารณา พิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้ขึ้นมาให้จงได้ ถ้าเราคุมใจไม่ได้ คือ เราคุมสติตัวเองไม่ได้ เราก็พิจารณาอะไรไม่ได้ เพราะใจอยู่ในลักษณะของความไม่พร้อมที่จะทำงานนั่นเอง เป็นใจที่เราบังคับไม่ได้เสียแล้ว แต่กิเลสมันบังคับได้ กิเลสเขาบังคับให้ล่องลอยไปตามกระแสร้อยแปด

     - ท่านให้พิจารณาอะไรหรือ ? ตอบว่าให้พิจารณา ๔ อย่าง คือ พิจารณา กาย – เวทนา – จิต – ธรรม

          กาย คือ ตัวตนของเรา

          เวทนา คือ อารมณ์ทางใจ ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขและก็ไม่ทุกข์ (กลางๆ) ผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่ชัด

          จิต คือ ลักษณะใจที่ผ่องใส ขุ่นมัว หรือสภาพที่ใจเป็นกลางๆ จะว่าผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่ชัด

          ธรรม ในที่นี้หมายถึง ธรรม ๓ ฝ่าย คือธรรมฝ่ายกุศล ธรรมฝ่ายอกุศล ธรรมฝ่ายกลาง (อัพยากตาธัมมา)

     - การพิจารณาจะต้องให้เกิดความเห็นจริงทางใจ คือ เกิดเป็นกัมมัฏฐานทางใจ นี่คือ ความ
มุ่งหวังของหลักสูตร

     - คราวนี้ก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง ท่านให้พิจารณากายในกาย คำว่า “กายในกาย” หมายถึง ท่าน
ที่ เป็นธรรมกาย อย่างน้อยท่านก็รู้จักกาย ๑๘ กาย คนที่ไม่เป็นธรรมกายก็พิจารณาไม่ได้ เพราะท่านรู้จักแต่กายมนุษย์กายเดียวเท่านั้น จึงไปพิจารณากายในกายไม่ได้ และเมื่อไม่รู้จักกายในกายแล้ว ก็ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต ไม่รู้ธรรมในธรรม เป็นอันว่าคนที่ไม่เป็นวิชา ๑๘ นั้นจึงหมดโอกาสเรียนวิชาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

     - ต่อมาก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง เป็นความรู้ละเอียดขึ้น คือ มีกายที่ไหนก็มีใจครองเสมอไป เมื่อ
มี ใจแล้ว เราก็มาดูว่า เราเอาใจของเราพิจารณากาย พิจารณาใจ (สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์) พิจารณาจิต (ผ่องใส ไม่ผ่องใส หรือกลาง ว่าจะผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่เชิง) พิจารณาธรรม ๓ ฝ่ายว่าเป็นธรรมฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล หรือเป็นอัพยากตาธัมมา นี่คือบทเรียนที่เขากำหนดให้เราเรียน เราจะต้องทำให้ได้ตามที่ตำราเขาสั่งให้จงได้

++ ปัญหาที่ว่า ทำไมต้องให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ? นี่คือความรู้ใหญ่ที่ไม่มีใครตอบได้

++ วิธีแก้ให้ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เกิดความใสสว่างนั้นเป็นความรู้สำคัญ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
ท่านได้สอนความรู้นี้ไว้แล้ว พวกเราต้องเรียนรู้ให้จงได้

++ ปัญหาที่ว่า ทำไมต้องให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ? นี่คือความรู้ใหญ่ที่ไม่มีใครตอบได้

++ วิธีแก้ให้ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เกิดความใสสว่างนั้นเป็นความรู้สำคัญ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
ท่านได้สอนความรู้นี้ไว้แล้ว พวกเราต้องเรียนรู้ให้จงได้

ความรู้สำคัญที่ต้องเรียนรู้ก่อนการพิจารณา

     (๑) กายคืออะไร ? กายหยาบ คือ กายมนุษย์ที่เราเห็นนี้ กายละเอียดต่อจากกายมนุษย์ไปนั้น มีกาย
อะไรบ้าง ? ท่านต้องเรียนรู้ก่อน เราก็ตอบว่ากายละเอียดที่ต่อจากกายมนุษย์ไปนั้น คือ

๑. กายมนุษย์ (หยาบ)
๒. กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน)

๓. กายทิพย์หยาบ
๔. กายทิพย์ละเอียด

๕. กายพรหมหยาบ
๖. กายพรหมละเอียด

๗. กายอรูปพรหมหยาบ
๘. กายอรูปพรหมละเอียด

๙. กายธรรมโคตรภูหยาบ
๑๐. กายธรรมโคตรภูละเอียด

๑๑. กายธรรมพระโสดาหยาบ
๑๒. กายธรรมพระโสดาละเอียด

๑๓. กายธรรมพระสกิทาคามีหยาบ
๑๔. กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด

๑๕. กายธรรมพระอนาคามีหยอบ
๑๖. กายธรรมพระอนาคามีละเอียด

๑๗. กายธรรมพระอรหัตต์หยาบ
๑๘. กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด

     รวม ๑๘ กาย ยังไม่นับกายสุดละเอียด เอาแค่ ๑๘ กายก่อน เราก็ต้องพิจารณาไปทีละกาย จึงจะเรียกว่ากายในกาย

     (๒) ความรู้ที่จะพิจารณานั้นคือ ความรู้อะไรบ้าง ? นี่คือหลักสูตรแห่งการเรียนหากท่านตอบไม่ได้ ก็
แปลว่า ไม่รู้เรื่องอะไร ? การเรียนก็ล้มเหลว ต้องตอบได้ดังนี้

     (๓) การพิจารณานั้น ต้องใช้กายธรรมมาพิจารณาที่ดวงธรรมของกายทั้ง ๑๘ กาย โดยทำไปทีละกาย
เช่น พิจารณาดูกายมนุษย์ แล้วก็พิจารณา ๔ อย่าง คือ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เราต้องหาความรู้ก่อนว่า กาย – เวทนา – จิต – ธรรม คืออะไร ? มีอยู่อย่างไร ? เราจึงจะพิจารณาได้

          (ก) ที่ดวงปฐมมรรคของกายต่าง ๆ นั้น มีดวงกาย – ดวงเวทนา – ดวงจิต – ดวงธรรม ดวง
เหล่า นี้มีลักษณะเป็นดวงใส คือดวงกายเป็นที่ตั้งของดวงใจ ดวงใจก็คือดวงเห็น – ดวงจำ – ดวงคิด – ดวงรู้ (เห็น – จำ – คิด – รู้ รวม ๔ อย่าง เรียกว่า ใจ)

     คำว่า “ใจ” นั้น มีใจหยาบและใจละเอียด ใจหยาบเรียกว่า เวทนา ส่วนใจละเอียดเรียกว่า
จิต

     คำว่าธรรมนั้น หมายถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

     นี่คือเรารู้จักดวงกาย ดวงเวทนา (คือใจหยาบ) ดวงจิต (คือใจละเอียด) และดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย (การเกิดกายนั้น เกิดจากดวงใสดวงนี้ ดวงใสดวงนี้ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือเรียกทั่วไปว่า ดวงธรรม)

          (ข) ต่อมาท่านต้องรู้จักหน้าตาลักษณะของธรรม 3 ฝ่าย คือ ธรรมฝ่ายกุศล ธรรมฝ่ายอกุศล
ธรรมฝ่ายอัพยากตาธัมมา (หรือธรรมฝ่ายกลาง) ดังนี้

     ธรรมฝ่ายกุศล กายขาวใส กาย ๑๘ กายขาวใสทั้งหมด ดวงธรรมก็ขาวใสทั้งหมด

     ธรรมฝ่ายอกุศล กายขุ่นกายดำ กาย ๑๘ กายขุ่นและดำทั้งหมด ดวงธรรมก็ขุ่นและดำหรือสีตะกั่ว

     ธรรมฝ่ายกลาง กายสีน้ำตาล กาย ๑๘ กายสีน้ำตาล กายสีใดดวงธรรมก็สีนั้น

          (ค) อานุภาพของธรรมแต่ละฝ่าย ให้ผลต่างกันอย่างไร?

     ธรรมฝ่ายกุศล ให้ผลเป็นสุขทั้งหมด

     ธรรมฝ่ายอกุศล ให้ผลเป็นทุกข์ทั้งหมด มี แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น

     ธรรมฝ่ายกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุข

เหตุใดจึงต้องพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ เป็นคำถามที่ผู้รู้จะตอบคำถามนี้อย่างไร?

     - พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
คือใจทำหน้าที่เป็นประธานใหญ่ ใจเป็นผู้สั่งการ ใจเป็นผู้ปกครอง นี่คือความหมาย

     - ปัญหาจึงมีว่า ใจ ของเรานั้นเป็นใจของธาตุธรรมฝ่ายใด? ต้องตอบคำถามนี้ก่อน เพราะ
บาง เวลาอารมณ์ของเราบันเทิง บางเวลาใจหงุดหงิด บางเวลาเราอยากจะฆ่าแกง บางโอกาสใจของเราก็เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย คนเดียวนี่เอง เหตุใดใจของเราจึงมีสภาพใจเป็นธาตุธรรม ๓ ฝาย ? คือ ใจบันเทิงเป็นใจของธรรมภาคกุศล ใจหงุดหงิดจะฆ่าแกง เป็นใจของอกุศล ใจเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่ก่อ เป็นใจของธรรมภาคกลาง

     - นั่นคือ ธรรมทุกฝ่ายแสวงหาอาณานิคม แสวงหาเมืองขึ้น แสวงหาอำนาจปกครองเข้ามา
ยึด ใจของมนุษย์ ธรรมฝ่ายใดมีกำลังมาก? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ายึดใจได้ เมื่อยึดใจได้แล้วก็แสดงอานุภาพแห่งธาตุธรรมนั้น ๆ ให้ปรากฏ เช่น ธาตุธรรมฝ่ายกุศลยึดอำนาจได้ เราก็มีใจบันเทิง หากภาคกิเลสคือภาคมารยึดได้ เราก็หงุดหงิด อยากจะล้างแค้น หากธรรมภาคกลางยึดได้ เราก็มีสภาพใจเฉย ๆ

     - การที่ท่านสอนให้เราพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ก็เพื่อให้เราชำระใจไม่ให้ภาคกิเลสหรือภาค
มารค รอบครอง เพราะให้ผลเป็นทุกข์แก่เรา หากเราไม่พิจารณาก็เหมือนกับเราไม่อาบน้ำชำระร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายสกปรกเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค จะทำให้เราเป็นโรคนั่นเอง


วิธีการพิจารณาให้ทำดังนี้

     *เดินวิชา ๑๘ กายเป็นอนุโลมปฏิโลมจนกว่ากายและดวงธรรมจะมีความใสจนถึงขั้นใจของเราเกิด อารมณ์บันเทิงใจ จากนั้น อาราธนากายธรรมพระอรหัตต์เดินวิชาถอยหลังเป็นปฏิโลมกลับมาถึงกายมนุษย์ กายธรรมเข้าสู่ในท้องของกายมนุษย์ การเข้าสู่กายใด? ต้องเข้ามาตามฐาน คือ ตั้งแต่ฐานที่ ๑-๗ ครั้นกายธรรมเข้าสู่ฐานที่ ๗ แล้ว ให้นึกอาราธนากายธรรมส่งรู้ส่งญาณมองดูดวงธรรมในท้องกายมนุษย์ ครั้นเห็นดวงธรรมแล้วประคองใจให้นิ่ง ท่องใจ หยุดในหยุดเข้าไว้ เห็นดวงธรรมชัดเจนแล้ว จะดูอะไร? ต้องเจาะไปทีละอย่างให้แจ้งใจไปทีละอย่าง ต้องนึกถึงสิ่งที่จะดูนั้นเพียงอย่างเดียว แล้วจะเห็นสิ่งนั้น เมื่อเห็นแล้วจึงพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่งหลักสูตรนั้น ๆ เช่น

     ๑. จงพิจารณากาย ท่องใจหยุดในหยุดแล้วนิ่งใจจรดลงกลางดวงธรรม นึกดูดวงกาย แล้วเราก็ เห็นดวงกาย ดวงกายเป็นดวงใสรองรับใจ (ใจ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้) นึกดูศูนย์กลางกายของดวงกาย เราก็เห็นว่า ดวงกายนี้มีดวงแก่-ดวงเจ็บ-ดวงตาย มาหุ้มเป็นชั้น ๆ ดวงแก่สีน้ำตาล ดวงเจ็บเป็นดวงขุ่นต่อไปก็ดำ ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงเหล่านี้มาหุ้มแล้ว ส่งผลให้กายมนุษย์ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตาย ดวงเหล่านี้ทำหน้าที่เผาผลาญ

     เมื่อเราส่งใจกายธรรมจรดลงไปกลางดวงกาย เราก็เห็นความแปรปรวนของกายว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ประกอบเป็นร่างกายของเราขึ้นมาเห็นความเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นคนมีอายุ แล้วก็ตายไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านจึงกล่าวว่าไม่ให้เรายึดมั่นกาย เพราะเราบังคับไม่ได้ มีแต่แก่-เจ็บ-ตาย กายธรรมต่อรู้ต่อญาณให้เราจึงเห็นไปตามที่กายธรรมท่านทำให้

     ๒. พิจารณาเวทนา เมื่อดูดวงกายเสร็จแล้ว เราก็อธิษฐานใจต่อกายธรรมว่า ขอพิจารณาเวทนา
บ้าง ท่องใจหยุดในหยุดกลางดวงปฐมมรรคของกายมนุษย์ เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่างออก ก็อธิษฐานดูดวง “เวทนา” เวทนานี้ก็คือใจนั่นเอง เพราะใจมี ต้น-กลาง-ปลาย ใจเบื้องต้นคือใจ ใจชั้นกลาง คือ จิต ใจชั้นปลายคือ วิญญาณ ใจประกอบด้วย ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ ซ้อนกัน พอเราจรดใจลงที่ดวงเวทนา เราจะเห็นอะไรบ้าง? เราก็เห็นดวงใจเป็นดวงใส นิ่งกลางใจก็เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มแล้วนิ่งดูต่อไป

          (ก) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความใส เราจะรู้สึกว่าเกิดความสุขทางใจ

          (ข) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความขุ่น เราจะรู้สึกว่าไม่เป็นสุข ถ้าความขุ่นกระเดียดไปเป็นดำ
เราจะทุกข์ใจมาก

          (ค) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล เราจะรู้สึกเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่สร้าง จะว่าสุขก็
ไม่ใช่จะว่าทุกข์ก็ไม่เชิง

     การพิจารณาจนถึงขั้นเป็นอารมณ์ทางใจเกิดแก่เรา 3 อย่าง คือ อารมณ์เป็นสุข (อารมณ์ของฝ่ายกุศล) อารมณ์เป็นทุกข์ (อารมณ์ฝ่ายอกุศล) อารมณ์เป็นกลาง ๆ (อารมณ์ของฝ่ายอัพยากตาธัมมา) หมายความว่า ธรรมฝ่ายใดมีอำนาจกว่า? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ามาปกครองใจของเรา เราจึงมีอารมณ์ไปตามธรรมของฝ่ายนั้น ๆ เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงสอนให้เราทำใจให้สว่างใสเข้าไว้ เพื่อเราจะได้เกิดความสุขทางใจ เพราะการทำใจให้ใสนั้นเป็นธรรมของฝ่ายกุศล ธรรมของฝ่ายกุศลส่งผลให้สุขทุกสถาน หากเป็นธรรมของฝ่ายอกุศลแล้ว ให้ผลเป็นทุกข์ทั้งนั้น และหากเป็นธรรมของฝ่ายกลางแล้ว ส่งผลให้ไม่สุขและไม่ทุกข์คือเป็นกลาง ๆ เสมอไป

     ๓. พิจารณาจิต จิต คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ที่ละเอียดไปอีกระดับหนึ่งพอเราพิจารณาเวทนาเสร็จแล้ว
เรา ก็อธิษฐานใจต่อกายธรรมขอพิจารณา “จิต” ต่อไป เราก็เห็นดวงใสเล็กอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือ ดวงจิตส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงจิตนั้น เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงจิตนั้น หากจุดใส่เท่าปลายเข็มมีความใส เราก็รู้สึกว่าเรามีใจผ่องใสบันเทิง หากจุดใสมีความขุ่น อารมณ์ของเราไม่ผ่องใสใจคอหงุดหงิด หากจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล อารมณ์ของเราจะเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย นี่คือธาตุธรรม 3 ฝ่าย เข้ามาปกครองใจเรา เช่นเดียวกับพิจารณาเวทนานั้น เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธองค์จึงสอนให้เราทำใจให้สว่างใสเข้าไว้ เพราะการทำใจให้ใสเป็นธรรมฝ่ายกุศล ส่งผลให้อารมณ์ของเราผ่องใสบันเทิง

     ๔. พิจารณาธรรม ธรรมในที่นี้เป็นดวงกลมขาวใส เป็นดวงธรรมประจำกาย เรียกว่า ดวงปฐม
มรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เรียกย่อว่า ดวงธรรม ดวงธรรมของธรรม ๓ ฝ่ายมีลักษณะต่างกัน มีสีสันต่างกัน มีอานุภาพต่างกัน ดังนี้

          ธรรมฝ่ายกุศล ดวงธรรมขาว กายธรรมขาว ให้ผลเป็นสุขสถานเดียว

          ธรรมฝ่ายอกุศล ดวงธรรมดำหรือสีตะกั่ว กายธรรมดำหรือสีตะกั่ว ให้ผลเป็นทุกข์สถานเดียว

          ธรรมฝ่ายกลาง (อัพยากตาธัมมา) ดวงธรรมสีน้ำตาล กายธรรมสีน้ำตาลให้ผลกลาง ๆ คือไม่
ทุกข์และไม่สุข (จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่จะว่าสุขก็ไม่เชิง เป็นกลาง ๆ )

     กล่าวถึงการพิจารณา เราก็อธิษฐานต่อกายธรรม ขอพิจารณา “ธรรม” ส่งใจนิ่งดูกลางดวงธรรมนั้น เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มนั้น แล้วก็ดูว่าที่จุดใสเท่าปลายเข็มมีสีของธาตุธรรมใดมาหุ้ม? หากจุดใสเท่าปลายเข็มสว่างตลอดไป แปลว่าธาตุธรรมฝ่ายกุศล ส่งผลให้เราเจริญรุ่งเรือง หากจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีดำมาหุ้มหรือสีปรอทมาหุ้มส่งผลให้เราไม่เจริญรุ่ง เรือง มีเรื่องมีราวเกิดทุกข์ร้อน หากเป็นสีน้ำตาลมาหุ้มจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งผลให้เราอยู่ในสภาพเดิม ไม่ดีขึ้นและไม่เสื่อมลง ดังนั้นชีวิตของเราเป็นไปตามการบังคับของธรรมภาคต่าง ๆ ใครทำกรรมดีไว้? ธรรมฝ่ายกุศลก็ส่งผลให้เจริญ ใครทำกรรมชั่วไว้? ธรรมฝ่ายอกุศลก็ส่งผลให้ทุกข์ร้อน เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงสอนให้มนุษย์ทำกุศล เว้นการทำบาป ทำใจให้สว่างใส เพื่อเราจะได้ไม่ทุกข์ นั่นเอง

** สรุปการพิจารณา **

     - ในการปฏิบัติจริง ตามที่บรรยายมานี้ เป็นการพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ในกายมนุษย์ มี
วิธีพิจารณาอย่างไร? ใช้กายธรรมพิจารณาอย่างไร? อธิบายมาชัดเจนแล้ว

** ต่อไปเราจะพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ในกายใดอีก? และที่กล่าวว่าพิจารณากายในกาย

 

เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรม คืออย่างไร? จงอธิบาย

     - งานต่อไปที่เราต้องพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็คือ เราไปพิจารณาให้แก่กายมนุษย์ละเอียด คือการพิจารณาให้แก่กายฝัน คือกายที่ละเอียดต่อจากกายมนุษย์ กายมนุษย์และเอียดหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กายฝัน คือกายที่ทำหน้าที่ฝันเมื่อกายมนุษย์หลับ นั่นคือกายธรรมมาหยุดนิ่งกลางดวงธรรมของกายมนุษย์ละเอียด แล้วก็พิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม เหมือนดังที่เราพิจารณากายมนุษย์

     - งานต่อไป เราก็พิจารณาให้แก่กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายพรหมหยาบ กายพรหม
ละเอียด.......กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด รวม ๑๘ กายต่อไป

     - ทุกกายต่างก็มีดวงกาย-ดวงเวทนา-ดวงจิต-ดวงธรรมในกายนั้น ๆ โดยเหตุที่เรามีกายมาก คือมี
กาย มนุษย์ และมีกายลำดับไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดรวม ๑๘ กายนั้น การพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ในกายต่าง ๆ ตั้งแต่กายหยาบไปถึงกายละเอียด จึงเรียกว่าพิจารณาภายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แต่เป็นเพราะเรามีกายมาก ตั้งแต่กายมนุษย์ไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด เราจึงต้องพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ละเอียดไปตามลำดับของกาย

 

** การพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา ไม่ใช้กายธรรมพิจารณาได้หรือไม่? จงอธิบาย

     กายพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา เพราะกายธรรมมีรู้มีญาณทัสสนะลึกซึ้งกว่ากายมนุษย์ หากใช้กายมนุษย์พิจารณาก็ไม่ใช่ขั้นเห็นแจ้งเห็นจริง แต่เป็นเพียงนิสัยปัจจัยเท่านั้น เพราะกายมนุษย์เป็นกายโลกีย์ยังมีกิเลสอยู่มาก ไม่เหมือนกายธรรมซึ่งแทบไม่มีกิเลส โดยเฉพาะกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดไม่มีกิเลสเลย

     - สรุปแล้ว ความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ เป็นตำราเรียนในพระพุทธศาสนาอยู่ในหนังสือนวโกวาท
เป็น หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี นั่นคือความรู้ปริยัติส่วนหนึ่ง เรียนเพื่อรู้เบื้องต้น แต่การปฏิบัติยังไม่มีใครปฏิบัติได้ เพราะยังไม่มีใครทำใจให้สว่างใสได้ ซึ่งเรื่องการทำใจให้สว่างใสตามคำสอนของพระพุทธองค์ข้อ ๓ ที่ว่า “สจิตฺตปริโยทปนํ” นั้น เมื่อทำใจให้สว่างใสได้แล้ว จะเห็นดวงปฐมมรรคในท้องของตนเอง แล้วเห็นกายละเอียดเป็นลำดับไป ในที่สุดก็เห็นกายธรรม เบ็ดเสร็จเห็นกาย ๑๘ กาย ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนนั้น เมื่อเห็นกายธรรมแล้ว ใช้กายธรรมพิจารณาความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ ได้ เรื่องมันยากอย่างนี้

     จึงขอให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนอ่านให้เข้าใจ เวลานี้ไม่มีใครอธิบายความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ ได้ เพราะเป็นความรู้ทางปฏิบัติ ความรู้ปริยัติมีกล่าวไว้นิดเดียว ผู้เรียนก็ท่องตำราไปตามนั้น แต่ถึงเวลาปฏิบัติก็ทำอะไรไม่ถูก? เพราะตำราไม่กล่าวอะไรไว้เลย? ได้แต่กล่าวความรู้ปริยัติไว้หน่อยเดียว อ่านแล้วก็ไม่รู้อะไร? นี่คือ ทางตัน!

     - การพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ได้แก่ การพิจารณากาย ตำราสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะกายมี
การ แตกดับคือตายได้ เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ากายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ช่วยให้เราไม่ประมาท ความไม่ประมาทจะช่วยให้เราเร่งสร้างกุศลคือเร่งสร้าง ทาน-ศีล-ภาวนา อันเป็นสุดยอดของกุศล

     - การพิจารณาเวทนา สอนให้เราฝึกทำใจให้สว่างใส วิธีทำใจให้สว่างใสมีอย่างนั้น? เราฝึกกัน
แล้ว ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นเราเรียนเดินวิชาเป็นอนุโลม ปฏิโลมวิชา ๑๘ กาย เป็นการรักษาใจ ไม่ให้ใจเกิดความทุกข์ หากใจเกิดความทุกข์ แปลว่า ธรรมภาคมารเข้าปกครองใจเพราะเราไม่ทำใจให้สว่างใสนั่นเอง

     - การพิจารณาจิต คือ การพิจารณาใจอีกแนวหนึ่ง ให้ใจสว่างใสเข้าไว้ ใจจะได้ไม่ขุ่นมัว หากใจ
ขุ่นมัว นั่นคือ ธรรมภาคมารเข้าปกครองใจแล้ว

     - การพิจารณาธรรม คือ การรักษาดวงธรรมให้สว่างใส ธรรมไม่สว่างใสแปลว่า ธรรมภาคมาร
เข้าครอบงำ จะส่งผลให้เกิดทุกข์

******

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท