ไขมันในเลือดสูง


ไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูง ฉบับ softmail

ไขมันในเลือดที่เจาะตรวจโดยทั่วไป มี 4 ชนิด

1.โคเลสเตอรอลรวม (total cholesterol)

2.LDL cholesterol ชนิด ความหนาแน่นต่ำ (LDL-C)

3.HDL cholesterol ชนิด ความหนาแน่นสูง (HDL-C)

4.ไตรกลีเซอไรด์ Triglyceride

ค่าปกติที่เหมาะสม (มก/ดล)

Cholesterol รวม   น้อยกว่า 200 
LDL    น้อยกว่า 100 
HDL  มากกว่า 40 
Triglyceride  น้อยกว่า 150 

                  

                     

 

 

Cholesterol รวม

LDL เป็นไขมันไม่ดี ทำไห้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือด

HDL เป็นไขมันดี ลดการสะสมไขมันในเส้นเลือด

Triglyceride

Cholesterol ชนิด LDL สูง ทำให้เกิดการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือดได้ เป็นสาเหตุ การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเส้นเลือดอุดตันที่ขา

 จึงมีความจำเป็นในการควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ไห้สูงผิดปกติ จนก่อไห้เกิดภาวะเสี่ยง จนมีการอุดตันของเส้นเลือด

หลักการรักษา

 

การดูแลรักษาขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ ความเสี่ยงของผู้ป่วยในการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน และ ระดับของไขมันที่ผิดปกติ ในกรณีที่ระดับไขมันผิดปกติไม่มาก การดูแลรักษาโดยการปรับพฤติกรรมก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องรับประทานยา

 ปัจจัยเสี่ยง

1.สูบบุหรี่

2.ความดันโลหิตสูง

3.HDL < 40 mg/dl

4.อายุ ผู้ชายอายุ > 45 ปี ในผู้หญิงอายุ > 55 ปี

5.ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ ในผู้ชายอายุ < 55 ปี ในผู้หญิงอายุ < 65 ปี

 

ผู้ที่มีความเสี่ยง

แยกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความเสี่ยง

1.ผู้มีความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่ ผู้เป็นโรคเบาหวาน,โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ,โรคเส้นเลือดส่วนปลายอุดตัน, โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน หรือ อัมพฤกษ์, อัมพาต

2.ผู้มีความเสี่ยงสูงปานกลาง ผู้มีปัจจัยเสี่ยง ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป

3.ผู้มีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มี มีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ

 

ระดับไขมันที่ผิดปกติ

ที่เริ่มต้นให้การรักษา ดูจากไขมันชนิด LDL เป็นหลัก ตามระดับตามเสี่ยงดังนี้

1.ผู้มีความเสี่ยงสูงมาก                  มีระดับ LDL ตั้งแต่ 100 ขึ้นไป

2.ผู้มีความเสี่ยงสูงปานกลาง           มีระดับ LDL ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป

3.ผู้มีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มี           มีระดับ LDL ตั้งแต่ 160 ขึ้นไป

ให้เริ่มต้นการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 ระดับไขมันผิดปกติ

ที่ควรให้การรักษาด้วยยารับประทาน

ดูจากไขมันชนิด LDL เป็นหลัก ตามระดับตามเสี่ยงดังนี้

1.ผู้มีความเสี่ยงสูงมาก                   มีระดับ LDL ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป

2.ผู้มีความเสี่ยงสูงปานกลาง           มีระดับ LDL ตั้งแต่ 160 ขึ้นไป

3.ผู้มีความเสี่ยงน้อยหรือไม่มี           มีระดับ LDL ตั้งแต่ 190 ขึ้นไป

 คำแนะนำการปรับพฤติกรรม

งดการสูบบุหรี่

ให้ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 45 นาที ความหนักดูที่ อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เท่ากับ 222 อายุเป็นปี เช่น อายุ 52 ปี ควรออกกำลังกายโดยให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของการออกกำลังกาย เท่ากับ 222 52 = 170 ครั้งต่อนาที

รับประทานอาหารอย่างถูกต้องต้องงด เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ทุกชนิดต้องเลี่ยง อาหารทะเล กุ้ง ปู ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง เนื้อสัตว์แปรรูป แฮม แหนม หมูยอ กุนเชียง ฯลฯรับประทานได้เป็นประจำ เนื้อปลา ไก่ เป็ด หมูและเนื้อไม่ติดมัน ประมาณ 4 - 6 ช้อนต่อมื้อ กินผักให้มากการผ่อนคลายความเครียด

ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง

 การรักษาโดยการใช้ยาก่อนการเริ่มใช้ยาต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชิวิตอย่างจริงจัง ประมาณ 3-6 เดือนก่อน แล้วเจาะเลือดซ้ำหากค่าไขมันยังสูงเกินที่กำหนดถึงเริ่มให้ยาได้ยาที่ใช้รักษาแบ่งเป็น 5 กลุ่ม

1.HMG CoAR inhibitor (statin) ลดการสร้าง cholesterol, เพิ่มการเผาผลาญ C,TG

2.Fibric acid (fibrates)เพิ่มการเผาผลาญ C,TG

3.Nicotinic acid and analogue (nicotinic acid),TG

4.Bile acid sequestrant (cholestyramine) จับกับไขมันยับยั้งการดูดซึมน้ำดีกลับ

5.Biphenolic group (Probucol)  เพิ่มการเผาผลาญ C ไม่มีผลต่อ TG

6.Omega-3 fatty acids (fish oil) ขนาดสูงลด TG ได้ดี

 การเลือกใช้ยาเบื้องต้น

ขึ้นกับชนิดและระดับของไขมันที่สูงเป็นสำคัญ แยกเป็น 2 กรณี

1. LDL และ TC สูง              ส่วน   TG น้อยกว่า 400 เลือกกลุ่ม statin :ยา Simvastatin

2. LDL และ TC ปกติหรือสูง  ส่วน   TG มากกว่า 400 เลือกกลุ่ม fibrates :ยา Gemfibrosil

 อาจเพิ่ม กลุ่ม statin ร่วมด้วย ถ้า LDL หรือ TC สูงมาก

 ขนาดยา

Simvastatin (10,20,40,80 mg) 20-80 mg วันละครั้งหลังอาหาร

Gemfibrosil (300,600,900 mg) 300-600 mg เช้า-เย็น หรือ 900 mg วันละครั้ง

 การติดตามผลการรักษา

ก่อนเริ่มยาลดไขมันควรตรวจ การทำงานของตับและไตก่อน (SGPT,SGOT,BUN,Cr)หาก transamine > 3เท่า ไม่ควรใช้ statin ร่วมกับ fibrateCr> 2 ลดขนาดของ fibrate เนื่องจากยาถูกขจัดที่ไตCr > 4 ห้ามใช้ fibrate

นัดติดตามหลังให้ยา 6 12 สัปดาห์ และ นัด เจาะเลือดทุก 3-6 เดือน

 ผลข้างเคียงของยา

เกือบทุกตัว มีผลทำไห้มีอาการ แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องเสียStatin, fibrate : ตับอักเสบ, ปวดกล้ามเนื้อหากกินยาร่วมหลายตัว ใช้ fluvastatin มีผลข้างเคียงน้อยกว่าResin : ท้องผูกFish oil : ทำให้เกร็ดเลือดต่ำลง มีจ้ำเลือดได้ ต้องระวังการใช้ร่วมกับแอสไพรินNicotinic acid : ทำให้มีอาการคัน และผิวแดง เนื่องจากมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดภาคผนวกhttp://www.aafp.org/afp/20000601/3371.html

 

หมายเลขบันทึก: 82805เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท