BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ตรรกศาสตร์ : กฎของอริสโตเติล


กฎของอริสโตเติล

อริสโตเติลได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาตรรกศาสตร์ของตะวันตก แนวคิดของเค้าเกิดจาก กฎแห่งความคิด ๓ ประการ ด้วยกัน คือ

  • กฎแห่งการกำหนดตัวเอง ก.ไก่ ก็คือ ก. ไก่ (A is A)
  • กฏแห่งความไม่ขัดแย้ง ไม่มีอะไรที่สามารถเป็น ก.ไก่ และ มิใช่ ก.ไก่ ได้ ( Nothing can be both A and not-A)
  • กฎการแยกออกจากกัน ทุกสิ่งจะเป็น ก.ไก่ หรือมิใช่ ก.ไก่ อย่างใดอย่างหนึ่ง (Everything is either A or not-A)

กฎแห่งความคิดเหล่านี้ ถือว่าเป็น ความจริงโดยจำเป็น นั่นคือ เป็นสิ่งที่ไม่ต้องพิสูจน์ และแนวคิดตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลก็ขยายออกไปจากกฎเหล่านี้...

บางคนอาจสงสัยว่า บางครั้งเราอาจเอาตะเกียบมาเป็นอาวุธแทงคนอื่น หรือ เอาก้านไม้ขีดมาเป็นไม้แคะหู เป็นต้น...ถ้าอย่างนั้น ตะเกียบจะเป็นตะเกียบได้อย่างไร หรือก้านไม้ขีดจะเป็นก้านไม้ขีดได้อย่างไร...ประมาณนี้...อีกนัยหนึ่ง

หมา

เราอาจมีมโนภาพของสัตว์ชนิดหนึ่งอยู่ในความคิดของเรา เป็นสัตว์สี่ขา มีขน ขนาดโตกว่าแมว แต่เล็กกว่าวัว ประมาณนี้... หรือ

เราอาจพิเคราะห์ว่าเป็น อักษรไทย ภาษาไทย ห.หีบ นำ ม.ม้า เป็นคำควบกล้ำ ...เป็นคำไทยแท้ เพราะมีลักษณะเป็นคำโดด มีอีกคำที่ใช้แทนคำนี้ได้คือ สุนัข ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาบาลี ประมาณนี้

จะเห็นว่า หมา ที่เราเห็นอาจก่อให้เกิดบางสิ่งบางอย่างในคลองความคิดของเราแตกต่างกันไปก็ได้.. Dog .... คำที่เห็นนี้ ใครมีความคิดอย่างไร...

ตามนัยนี้ ทำให้บางคนคิดว่า ความจริงโดยจำเป็น ตามนัยตรรกศาสตร์ของอริสโตเติลแข็งกระด้างเกินไป ซึ่งผู้เขียนค่อยนำมาเล่าอีกในตอนต่อๆ ไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 76376เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

นมัสการครับหลวงพี่

 

สะกิดใจที่ยกตัวอย่างจากคำว่า หมา

แล้วถ้ากรณีคำที่สะกดออกมา คำอื่นๆ  แต่เขียนไม่ตรงกับที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้

กฏอริลโตเติลก็ใช้ไม่ได้สิครับ
กฎแห่งความคิดเหล่านี้ ถือว่าเป็น ความจริงโดยจำเป็น นั่นคือ เป็นสิ่งที่ไม่ต้องพิสูจน

นายบอน...

ไม่ค่อยเข้าใจ ความคิดเห็น นะ...

ราชบัณฑิตย์ เป็นเพียงผู้ชี้ขาดว่าคำไหน ถูก หรือ ผิด ในฐานะภาษาที่เป็นทางการเท่านั้น...

ส่วนภาษาที่ไม่ใช้เป็นทางการ ถ้าระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เข้าใจเป็นอย่างเดียวกัน ก็ใช้ได้...

สังเกตไหม หลวงพี่จะใช้ว่า พูมใจ เสมอ เพราะคิดว่าถูกต้อง ไม่เคยเขียนว่า ภูมิใจ เลย...

เจริญพร

นมัสการครับ
  พูมใจ เป็นคำบาลีหรือเปล่าครับ ไม่ค่อยคุ้นเลยครับ

นายบอน

พูม น่าจะเป็นคำไทยแท้ หมายถึง ทำให้สูงขึ้น...

ใจ ก็น่าจะเป็นคำไทยแท้...

ภูมิ เป็นบาลี แปลว่า แผ่นดิน หมายถึง ผิวหน้าของพื้นผิวดิน...ถ้าเป็นดินทั้งหมด ใช้ ปฐวี ปฐพี

พอเป็น ภูมิใจ ก็จะไม่ได้นัยเชิงภาษา นั่นคือ เขียนผิด แต่เมื่อมีความนิยมมากๆ เกิดขึ้น ก็กำหนดให้เป็นถูกตามประชามติ (นี้ก็จุดอ่อนประชาธิปไตย 5 5 5)

เจริญพร

นมัสการครับ
  กลายเป็นว่า ภูมิใจ เป็นคำที่เขียนผิดเสียอีก ผิดเพราะความเคยชิน ใช้ๆตามกันมา แต่ก็คงใช้ตามๆกันไปครับ เพราะถ้าพิมพ์ พูมใจ  ก็จะโดนให้ไปแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งๆที่ถูกแล้ว แต่ให้แก้ให้ผิด ...

ยิ้มๆขำๆครับ

นายบอน

ภูมิใจ นั่นแหละ ถูกแล้ว สำหรับปัจจุบัน...

พูมใจ ถูกตามความเห็นหลวงพี่ ไง 5 5 5

ศุนัก ...คำนี้คือ สุนัขหรือหมา นั่นเอง ซึ่งพระสารประเสริฐ เขียนอย่างนี้ แต่ไม่มีใครนิยม ก็เลยหายไป แต่หลายๆ คำที่ท่านสร้างขึ้นมาก็ใช้กันอยู่...

เดี้ยน คือ ดิฉัน ...คำนี้ใช้ไม่เป็นทางการ เป็นภาษาพูด..

ขรม เคยเห็นในหนังสือนานแล้ว โดยแผลงมาจาก กระผม ..แต่ไม่ได้รับการนิยม (นายบอน เอาไปใช้ได้เลยคำนี้ อาจได้รับความนิยมก็ได้ คล้ายๆ กับเพลงบางเพลง คนอื่นร้องไม่ดัง พอพุ่มพวงมาร้อง ดังเลย 5 5 5)

ภาษา เป็น อนิจจัง ... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ...เหมือนๆ กับหลายๆ อย่าง จ้า

เจริญพร

ความจริงที่จำเป็นเหล่านี้  เป็นที่มาของ"ความรู้ตายตัว"  และความเชื่อเกี่ยวกับความรู้ตายตัวที่กล่าวนี้  แผ่เข้ามาในวงการศึกษา   นักการศึกษาโบราณจึง"รวบรวมเอาความรู้ตายตัว" มาใส่ไว้ในหลักสูตร  แบบเรียน  แล้วให้ครูสอนให้เด็ก"ท่องจำ" โดยเชื่อสนิทว่า "มันเป็นความรู้ที่ถูกต้องแล้ว แก้ไม่ได้จึงให้ท่องจำไว้" !

และเป็นเช่นนี้มาจนถึงปี ๒๕๕๐ !!  ก็ยังแก้ไม่หาย !!!

มันขัดขวางการพัฒนาของความคิดสร้างสรรค์ !

เราสอนให้เด็กท่องจำว่า  "๑ + ๑ =  ๒ "  เท่านั้น !

ความคิดที่ว่า " ๑ + ๑ =  ๑๐ " จึงต้องคิดได้โดยคนชาติอื่นไป !!

ไม่มีรูป
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

รู้สึกปลื้มที่อาจารย์มาเยี่ยม....

จะไปปัดฝุ่นเขียนตรรกศาสตร์อีกตอน....

เจริญพร

นมัสการนะค่ะ

     เปาะเปี๊นยะออยากรู้ที่มาของแสควรูท ควรไปหาได้ที่ไหนเหรอค่ะ

ไม่มีรูป
^ ^หมู๋น้อย

อะ อะ ... ?

เรื่องนี้ ไม่ทราบจ้า...

เจริญพร

นมัสการค่ะ

          ขอบคุงมากน้าคร้า

กฏของอริสโตเติ้ล เลยมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ,,, Rock Logic ,,, , เป็นการคิดแบบเชิงเส้นจริง ๆ คือไม่ออกนอกลู่นอกทางเลยเดินตามกฏมาโดยตลอด คำถามสุดคลาสสิก มีอยู่ว่า ลิง หมี กล้วย ถ้าให้เลือกสัตว์สองชนิดจะเลือกอะไรคู่กัน ??? พวก rock logic จะตอบว่า ลิงกะหมี แปลกมั้ยล่ะ เพราะเรากำลังเลือกลิงกับกล้วยใช่มั้ย เฉลย ไม่แปลกเพราะว่า เราไม่ได้มีตรรกะแบบอริสโตเติ้ล หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ได้คิดแบบคนตะวันตกคิด แต่เรามีตรรกะแบบ fuzzy logic คือค่อนข้างโยงไปมามั่วไปหมด ที่คนตะวันตกจับคู่ลิงกับหมี นั้นเขาให้เหตุผลว่ามันเป็นสัตว์เหมือนกันส่วนกล้วยมันไม่ใช่ ส่วนที่เราจับคู่ลิงกับกล้วยก็เพราะว่า เราคิดว่าลิงต้องกินกล้วยสินะเออ เป็นต้น เหตุผลของเราชัดเจนว่าไม่ได้เป็นแบบคนตะวันตก ฝรั่งถึง งง และเราก็งงเช่นเดียวกันที่เค้าจับคู่แบบนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี เลขศูนย์ ฝรั่งพึ่งรู้จักเมื่อไม่นานเองนี่แหละครับขอบอก เพราะเค้ารับไม่ได้ ที่คนอินเดียบอกว่า เลขศุนย์เป็นสิ่งทีมีค่า ถ้าเดินตามกฎของ อริสโตเติ้ล แน่นอนว่าต้องหัวเราเยาะ เพราะว่าการที่พูดว่า สิ่งมีค่าที่เรียกว่าศูนย์นั้น เป็นการขัดแย้งในตัวเองอย่างแรง (self contradictory) แต่สุดท้ายฝรั่งก็เอาไปใช้กัน และเริ่มยอมรับแล้วว่า ตรรกะของพวกเขาเริ่มมีจุดบกพร่อง ยิ่งพุทธศาสนายิ่งแล้ว ไปดูเหอะ ให้นักตรรกศาสตร์แบบอริสโตเติ้ลมาอ่านล่ะก็ รับรองเวียนหัวตายเค้าจะรับไม่ได้เลย เช่น นิพพาน เป็นต้น

นมัสการหลวงพี่

คล้ายๆ กับบทตรรกศาสตร์ ในวิชาคณิตศาสตร์เลยครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท