มหาสารคามเป็นเมืองที่มีความสุขที่สุดในประเทศ 2


มหาสารคามเป็นเมืองที่มีความสุขที่สุดในประเทศ 2

จากการวิเคราะห์ผู้ทำการสำรวจความเห็นว่า  คนในภาคอีสานเน้นความรักความเข้าใจ  ความอบอุ่นในครอบครัวมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  เป็นห่วงเป็นใยกัน  มหาสารคามจึงเป็นเมืองที่มีความสุขมากกว่าจังหวัดอื่นๆ และภาคอื่นๆ  สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข  10  อันดับแรก  ประกอบด้วย

1.  มีชีวิตครอบครัวที่ไม่แตกแยก

2.  มีเงินพอใช้ไม่เป็นหนี้

3.  ได้อยู่กับคนที่รัก

4.  ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

5.  เหตุการณ์บ้านเมืองสงบสุข

6.  เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง

7.  ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

8.  มีสภาพแวดล้อมที่ดี

9.  มีชีวิตปลอดภัย

10.  สังคมมีคุณธรรมจริยธรรม

หมายเลขบันทึก: 76057เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
อิอิ  มีคนภาคภูมิใจบ้านของเราอีกแล้วก้องอ่านที่นี่ จ้ะ
เมื่อไร สามจังหวัดชายแดนใต้จะมีความสุขแบบนี้บ้างน้า

เกี่ยวกับจังหวัดมหาสารคาม ผมเคยเขียนไว้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2549 ที่บันทึก มหาสารคาม : เมืองที่ประชาชนมีความสุขมากที่สุดในประเทศ

รบกวนอ่านบันทึก ขอความร่วมมือชาว มมส. ที่เปิด blog  

ถือว่าต่อยอดความรู้ครับ

วิชิต ชาวะหา
อนุกรรมการ MSU-KM

  • สารคาม เมืองน่าอยู่  อู่น่านอน...
    กองกิจการนิสิต ก็เมืองอลวน คนอลเวง (ยิ้ม ๆ )

วันที่ ศุกร์ กุมภาพันธ์ 2551

พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

บำบัดน้ำเสีย"มหาสารคาม" อย่าเข้าตำรา"ได้ไม่คุ้มเสีย"

รายงานพิเศษ

โดย ไตรภพ ผลค้า

แม้ "ทิติรัตน์ ประสพสันต์วัฒนา" นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองมหาสารคาม จะแถลงว่าการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาล ด้วยงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 186 ล้านบาท ก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้าไฮโดร-สหการ คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 80 แต่ดูเหมือนประชาชนในเขตเทศบาลยังบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้รับผิดชอบการก่อสร้างโครงการขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

"ทิติ รัตน์" แถลงถึงเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จ อาทิ ที่ซอยสวนอาหารแผ่นดินทอง ที่วางท่อระบายน้ำ พร้อมบ่อพัก และฝังกลบ สร้างถนนคอนกรีตยาว 700 เมตร ที่ถนนเลียบกุดนางใย ข้างวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม ได้ตอกเสาเข็มเขื่อนกันดินริมตลิ่ง ที่ถนนมหาชัยดำริห์ สร้างท่อระบายน้ำพร้อมบ่อพัก ที่ถนนสมถวิลราษฎร์ ตอกเสาเข็มกันดิน และวางท่อน้ำเสีย

แต่ ปัญหาตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน คือ ฝุ่นละอองที่เกิดจากก่อสร้างโดยไม่ติดตั้งผ้าใบกันฝุ่นจากการขุดดินฝังท่อ การก่อสร้างกีดขวางการจราจร ขุดทำลายต้นมะขาม ต้นประดู่ซึ่งปลูกเรียงรายอยู่สองฝั่งคลองสมถวิล ไม่เก็บต้นไม้และกิ่งไม้ที่ตัดรวบรวมไปทิ้ง โค่นล้มลงทับถมในคลอง เมื่อวางท่อเสร็จแล้ว พื้นผิวถนนกลับมีระดับไม่เท่ากัน สร้างความเดือดร้อนให้ผู้สัญจรไปมา อีกทั้งการก่อสร้างยังถมดินรุกล้ำเขตคลองสมถวิล ทำให้ความกว้างของคลองลดลง

ซึ่งหากไม่คำแถลงจาก "ทิติรัตน์" ชาวบ้านคงนึกไม่ถึงว่าโครงการนี้รับผิดชอบโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพราะการก่อสร้างได้ทำลายสภาพแวดล้อมเดิม หากจะฟื้นฟูคงต้องใช้เงินอีกจำนวนมาก

"สุรศักดิ์ วงศ์มังกร" อดีตนายกเทศมนตรี กล่าวว่า เสียดายที่เคยอนุมัติงบประมาณจัดซื้อและปลูกต้นไม้ ไม่น่าเชื่อว่าคณะผู้บริหารชุดนี้จะปล่อยให้มีการตัดทำลายอย่างที่ไม่ควรจะ เป็น

ด้าน "ทรงคุณ จันทจร" ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า คลองสมถวิลขุดขึ้นโดยเงินภาษีของราษฎร มีประวัติศาสตร์คู่เมืองมหาสารคาม เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น การรื้อหรือทำลายสิ่งใดต้องถามความคิดเห็นของประชาชนด้วย อย่าคิดว่าผู้นำท้องถิ่นมีอำนาจทำอะไรได้ตามอำเภอใจ ซึ่งเรื่องนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมีส่วนมาดูแล

หากย้อนกลับไปดู ความเป็นมาของโครงการ พบว่าโครงการนี้เสนอของบประมาณโดยคณะเทศมนตรี ซึ่งมี "สุรจิตร ยนต์ตระกูล" นายกเทศมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้คิดโครงการ เนื่องจากประเมินว่าในปี 2543 ประชากรในเขตเทศบาลจะทำให้เกิดน้ำเสียเฉลี่ยประมาณ 140 ลิตรต่อคนต่อวัน และใน 10 ปีแรกเพิ่มขึ้น 1 ลิตรต่อคนต่อวัน ปีที่ 11-20 เพิ่มขึ้น 2 ลิตรต่อคนต่อวัน คือ ปี 2563 จะมีน้ำเสีย 4,993 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ดัง นั้น การจัดการน้ำเสียจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปบำบัดจนมีคุณภาพดีก่อนปล่อยลงสู่ แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยแผนงานระยะเร่งด่วนนี้เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงใน ระยะ 10 ปีแรก

หากมองอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็นับเป็นโครงการที่จะเกิดผลดีต่อชุมชนในเขตเทศบาล เพียงแต่ระหว่างการก่อสร้าง ชาวบ้านเขาเรียกร้องให้ระมัดระวัง อย่าทำโดยไม่คิดถึงผลเสียที่จะตามมา รวมทั้งการสูญเสียงบประมาณแก้ไขสิ่งที่ถูกทำลาย คือ อย่าให้เข้าตำรา "ได้ไม่คุ้มเสีย" เท่านั้นเอง!!!

.....จากวันนั้นถึงวันนี้เกินกำหนดแล้วเสร็จของโครงการมาตั้งนานหลายเดือนก็ไม่ท่าทีว่าจะดำเนินการต่อจนเสร็จ กองเป็นซากประจานผลงาน ...แต่คนที่นี่เขาก็มีความสุขอยู่กับโครงการเน่าๆที่ไม่เคยเสร็จสมบูรณ์สักอย่างของเมืองนี้ต่อไป

ปัญหาพื้นฐานของจังหวัดมหาสารคาม

1. ด้านเศรษฐกิจ

1) ประชากรมีความยากจนอยู่ค่อนข้างมาก ยังไม่สามารถพึ่งพาอาศัยตนเองได้ และยังขาดพื้นที่ดินสำหรับทำกิน

2) ขาดระบบชลประทานอย่างทั่วถึง

3) หนี้เสียของธนาคารมีมาก

4) ขาดสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด

5) ขาดโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การคมนาคม

6) มีโรงงานอุตสาหกรรม/เกษตรกรรมในพื้นที่น้อย

7) ประชากรมีอัตราการว่างงานสูง และมีการย้ายถิ่นฐานในช่วงนอกฤดูการทำนา

8) ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ

9) ขาดข้อมูลข่าวสารทางด้านเทคโนโลยี

10) ขาดวัตถุดิบที่สำคัญในพื้นที่ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

11) เกษตรกรไม่มีที่ดินและยังขาดความรู้ด้านการเกษตร

12) รายได้ต่อหัวของประชากรต่ำ และยังคงมีรายจ่ายที่สูงขึ้น

2. ด้านสังคม

1) ครอบครัวมีความแตกแยก เช่น เด็กถูกทอดทิ้งให้อยู่กับคนชรา

2) ขาดผู้นำที่มีจิตสำนึกที่ดี

3) ไม่มีการรวมตัวขององค์กรชุมชน

4) มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น

5) ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

6) อพยพ สู่เมืองมากขึ้น

7) ขาดระบบการคิดที่ถูกต้อง

8) กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ถูกทอดทิ้ง

9) นักศึกษามีการมั่วสุม และหอพักยังไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดี

10) ไม่มีที่ดินและขาดความรู้ด้านการเกษตร

11) ชาวบ้าน/ชาวเมืองขาดคุณธรรม วินัย ศีลธรรม และมีการชิงดีชิงเด่นอยู่มาก

3. ด้านการเมือง

1) ยังมีคอรัปชั่นอยู่

2) นักการเมืองขาดคุณธรรม จิตสำนึก พวกพ้อง

3) องค์การบริหารส่วนตำบลไม่โปร่งใส ผู้บริหารยังขาดความรู้

4) ประชาชนขาดจิตสำนึกและไม่มีการเรียนรู้ทางการเมือง

5) ยังขายเสียง ซื้อเสียงในทุกระดับการเลือกตั้ง

4. ด้านการศึกษา

1) สถาบันอุดมศึกษาขาดงานวิจัยที่สนองต่อท้องถิ่น และหลักสูตรการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับท้องถิ่น

2) มาตรฐานการศึกษาต่างกัน ในเมือง - นอกเมือง

3) ระบบการให้ทุนไม่ได้ผลส่งเสริมให้ใช้จ่ายเกินตัว

4) ยังใช้ พ.ร.บ.การศึกษาไม่มีประสิทธิภาพ

5) ขาดหน่วยงานเคลื่อนที่เฉพาะกิจเรียนรู้ร่วมกับท้องถิ่น

6) ขาดการส่งเสริมการเรียนรู้บุคคลภายนอก

7) แหล่งค้นคว้าทางวิชาการมีน้อย เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด

8) ครูขาดจิตสำนึก ไม่ตั้งใจสอนตามแผนที่เขียนไว้และครูมีการสอนพิเศษเป็นอาชีพ

9) ประชาชนขาดโอกาสสนองการศึกษา (ยากจน)

10) ขาดการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน

11) ไม่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา

5. ด้านเทคโนโลยี

1) ขาดความรู้ในเรื่องข้อมูลด้านเทคโนโลยี

2) ยังมีการใช้สารเคมีมากและมีสารพิษตกค้างในอาหาร ผัก และผลไม้

3) การผลิตตกต่ำ

4) เทคโนโลยีไม่เหมาะสม

6. ด้านสิ่งแวดล้อม

1) ขาดดินคุณภาพ

2) ไม่มีระบบระบายน้ำเน่าเสียที่ดี

3) ขาดการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ป่าไม้น้อย บุกรุกเผาป่า (ป่าโคกหินลาด ป่ากันทรวิชัย โคกหนองโพ ศูนย์กล้าไม้เชียงยืน โรงเรียนมัธยมสาขา)

4) คลองสมถวิลเน่า ตื้นเขิน

5) รถมอเตอร์ไซค์หายวันละ 3 คัน

6) โรงฆ่าสัตว์ยังไม่ถูกสุขลักษณะ

7) น้ำเค็ม และห้วยคะคางเน่าเสีย

8) ขาดการสำรวจความต้องการในการบริการของเทศบาล

7. ด้านวัฒนธรรม

1) ขาดผู้นำศาสนสงฆ์ มีวัดร้างและพุทธพาณิชย์

2) ไม่มีการสานต่อวัฒนธรรมที่ดีงาม และไม่มีจุดเด่นด้านวัฒนธรรม

3) ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ บริโภคนิยมและรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ เช่น อยู่เป็นคู่ มั่วสุมยาเสพติด มั่วสุมสถานเริงรมย์

4) สื่อมวลชนเสนอสื่อที่ไม่เหมาะสม

5) ขาดการส่งเสริมในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

6) ประชาชนไม่มีส่วนร่วม

7) ขาดการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

8) เยาวชนไม่นิยมเข้าวัด

9) พระยังคงมีการใบ้หวย ประชาชนยังคงนิยมเล่นหวย

10) ประชาชนใช้ประโยชน์จากวัดน้อย

11) พระสงฆ์ไม่มีคุณภาพ

มาแสดงความคิดเห็นคะ

"เห็นด้วยอย่างยิ่ง" 

คนโกสัมพี  มหาสารคามมายืนยันค่ะ

ว่าน่าอยู่และอยู่อย่างมีความสุขค่ะ ^_^

สวัสดีค่ะคุณน้องก้อง สบายดีนะคะ

งานยุ่งหรือคะ หายเงียบไปเลย

มาร่วมแสดงความยินดีกับ เมืองสารคาม

ตักสิลานคร งาม เงียบ เรียบง่าย น่าอยู่

เชื่อตาม ครูน้องเทียนน้อย คนโกสัมพี ค่ะ

ถนนอันตราย ปัญหาที่ไม่ได้รับการเยียวยา

26 September 2009 One Comment

Rate This

Quantcast

accidentฤดู กาลเปิดเทอมใหม่ปี 2552 ในมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความคึกคักกว่าหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจราจรบนท้องถนนที่มีรถวิ่งเข้า–ออก ในมหาวิทยาลัยไม่เว้นแต่ละวัน ความคึกคักที่เข้าขั้นวุ่นวายนี้สร้างความหนักใจแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่าง มาก เนื่องจากความไม่สะดวกจากการเดินทางในเวลาเร่งรีบ โดยเฉพาะช่วงเวลาชั่วโมงเร่งด่วนตั้งแต่ 08.00-10.00 และ 15.00-19.00 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มีรถวิ่งบนถนนหลายร้อยคัน ทำให้ผู้ที่เดินทางสัญจรไปมาต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ถนนเส้นหลักที่ตัดผ่านมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากหน้าป้อมตำรวจอำเภอกันทรวิชัยบ้านท่าขอนยางไปจนถึงบ้านขีตำบลขามเรียง ถือเป็นถนนสายสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ไม่น้อย โดยเฉพาะกับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่จำเป็นต้องใช้ถนนสายนี้ในการสัญจร ไปมา เพราะเป็นทางผ่านไปสู่หอพักต่างๆรวมถึงร้านขายอาหารและร้านสะดวกซื้ออื่นๆ

นายสมศักดิ์ การะเกด อายุ 34 ปี พ่อค้าขายผลไม้ริมถนนท่าขอนยาง-ขามเรียง กล่าว ว่าจำนวนรถที่วิ่งบนถนนสายนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจราจรบนท้องถนน ทั้งอุบัติเหตุและปัญหาฝุ่นละออง โดยเฉพาะวันที่มีตลาดนัดคลองถมจำนวนรถที่วิ่งบนถนนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น บางครั้งมีรถติดยาวนาน ทำให้การเดินทางค่อนข้างลำบาก

ตลาดนัดคลองถม ที่มีในตอนเย็น ทั้งที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยและที่ทางโค้งบ้านท่าขอนยางหรือที่นิสิตทั่วไป เรียกกันว่า คลองถมทางโค้ง ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์จะมีความหนาแน่นกว่าปกติ ทำให้การจราจรติดขัด ที่สำคัญตลาดนัดคลองถมทั้งสองแห่งนี้ผลัดมาเป็นประจำตลอดสัปดาห์ จึงทำให้การสัญจรบนท้องถนนสายท่าขอนยาง- ขามเรียง เนืองแน่นไปด้วยรถและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นให้เห็นจนชินตานางสาวรพี พร ตะบุตร นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะ การบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิด เผยว่า เคยประสบอุบัติเหตุจากการจราจรบนถนนสายนี้สองครั้ง เนื่องจากความไม่ปลอดภัยของพื้นถนนที่ไม่ได้มาตรฐานและความประมาทของผู้ใช้ รถที่ไม่เคารพกฎจราจร ทำให้เกิดความหวาดระแวงในการใช้เส้นทางและเพิ่มต้องความระมัดระวังมากขึ้น

สถิติ การเกิดอุบัติเหตุที่ใช้บริการรถพยาบาลของงานสวัสดิภาพนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่วันที่ 1-24 เดือนมิถุนายน พบว่ามีอุบัติเหตุจากการจราจรที่เกิดขึ้นกับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 39 ราย บุคลากร 2 ราย และบุคคลทั่วไป 13 ราย รวมผู้ประสบอุบัติเหตุจากการจราจรทั้งสิ้น 54 ราย โดยมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 17 ราย และภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวน 37 ราย ซึ่งยังไม่รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรที่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นต้องใช้ รถพยาบาล

ความหนาแน่นและการเพิ่มจำนวนขึ้นของยานพาหนะเหล่านี้ ยังเพิ่มจำนวนของฝุ่นละอองที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสร้างความรำคาญแก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ริมถนน นอกจากนี้อาหารที่วางขายข้างถนนตลอดสายมักมีฝุ่นละอองเกาะติด ไม่มีคุณภาพและเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบควร เร่งป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ เช่นการอำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทางแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและคนเดินทางเท้า ซึ่งอาจเป็นการทำป้ายจราจรหรือสัญลักษณ์จราจรเพื่ออำนวยความสะดวกและป้องกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นในเดินทาง

แม้ปัญหาจราจรบนถนนสายท่าขอนยาง-ขาม เรียงจะยังไม่ถึงขั้นวิกฤติ แต่ก็ไม่มีใครสามารถรับรองความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของนิสิตหรือ บุคคลทั่วไปที่ใช้เส้นทางนี้ได้ จำนวนรถที่เพิ่มขึ้นในทุกปี อาจกลายเป็นปัญหาเรื้องรังที่สร้างความเหนื่อยหน่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ทั้งเรื่องอุบัติเหตุและฝุ่นละอองที่คละคลุ้งซึ่งอาจนำไปสู่โรคระบบทางเดิน หายใจขั้นร้ายแรง ดังนั้นก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ไขทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรหัน มาให้ความสนใจ ตระหนักและรับรู้ว่าปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการอย่างเอาใจใส่อย่างจังจริง เสียที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท