เรื่องเล่าอิสรชน : อินเตอร์เน็ตภัยร้ายที่ละเลยและมองข้าม


ถ้าตอนนั้น มีการตื่นตัวและเคลื่อนไหวในการทำงานเพื่อป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ ไม่ ละเลยและมองข้าม เรื่องราวความรุนแรงอาจไม่ลุกลามและก่อปัญหามากมายเช่นทุกวันี้ การเดินมาพร้อม ๆ กับสถานการร์ย่อมดีกว่าวิ่งไล่ตามแน่นอน

อินเตอร์เน็ตภัยที่ละเลยและมองข้าม 

     ย้อนไปเมื่อใกล้วันเด็กปี 2541 ที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วันที่มีการสรุปสถานการณ์เด็กปี 2540 และวางทิศทางการทำงานเด็กในปี 2541 นั้น อิสรชนได้มีการตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับภัยของอินเตอร์เน็ตไว้ในที่ประชุมซึ่งในขณะนั้น นักวิชาการและคนทำงานด้านเด็กยังไม่ได้มองเห็นความสำคัญของปัญหา แถมยังมีการตอบกลับด้วยถ้อยคำและกิริยาที่ ยิ้มเยาะว่า อินเตอร์เน็ต เป็นเพียง ปรากฎการณืสั้น ๆ ชั่วครู่ เดี๋ยวก็หายไปเอง ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ??และคนคงเข้าถึงสื่อนี้ได้แค่เฉพาะกลุ่มคนชั้นกลางหรือคนที่มีฐานะเท่านั้น  ถ้าจะให้ระบุชัด ๆ ก็ คงต้องขออนุญาต ระบุว่า  ดร.สมพงษ์ จิตระดับ เป็นผู้ตอบ และใช้คำพูดนี้เอง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้น อิสรชนเอง เริ่มทำงานและ จับตาสถานการณ์ผลกระทบของอินเตอร์เน็ตอย่างลงลึกมาโดยตลอดและประเมินสถานการณ์ว่า ความรุนแรงจะมีแน่นอน เพราะ คนจะเข้าถึงสื่อนี้อย่างง่ายดายและรวดเร็วเพราะประเมินและพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ทำธุรกิจด้านนี้อยู่ในขณะนั้นว่า คอมพิวเตอร์จะมีราคาถูกลงอย่างมากภายใน 5 ปีที่จะถึงนี้ ?? และในที่สุด ก็เป็นจริง คอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาถูกลงตั้งแต่ปี 2543 และทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้อย่างง่ายดายขึ้น

     อิสรชน ในตอนนั้น ได้ตั้งข้อสังเกต และ เสนอข้อคิดเห็นไปในวงเสวนาคราวนั้นว่า ควรจะตั้งให้มีคณะทำงานพิเศษ เหมือนครูข้างถนน แต่ให้ทำงานในอินเตอร์เน็ต ติดตามสถานการณืและ ให้ความเห็นเชิงบวกแก่เด็กที่เริ่มเข้าไปใช้ช่องทางนี้ในการหารายได้พิเศษ ซึ่งช่วงนั้น เริ่มมีเด็กเข้าไปใช้อินเตอร์เน็ตขายบริการและชักชวนนัดแนะกันในการประกอบอาชีพพิเศษแล้ว คำตอบที่ได้ กลับเป็นการมองว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเพียงปรากฎการณ์ชั่วครู่ไม่อาจส่งผลกระทบอะไรแก่สังคมในระยะยาวได้ ?? 

     แต่คล้อยหลังมาเพียง 7 ปี คน ๆ เดียวกัน เริ่มออกมาเคลื่อนไหวและแสดงตัวว่า ติตามสถานกรร์เรื่องนี้มาโดยตลอด ยิ่งล่าสุด ออกมา นำเสนอข้อมูลที่อ้างว่า ติดตามสถานการณ์มาแล้วกว่า 10 ปี ยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จริงหรือเท็จ 

ถ้าตอนนั้น มีการตื่นตัวและเคลื่อนไหวในการทำงานเพื่อป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ ไม่ ละเลยและมองข้าม เรื่องราวความรุนแรงอาจไม่ลุกลามและก่อปัญหามากมายเช่นทุกวันี้ การเดินมาพร้อม ๆ กับสถานการร์ย่อมดีกว่าวิ่งไล่ตามแน่นอน แต่การแก้ไขปัญหาของเมืองไทยไม่ได้เป็นการทำงานพร้อม ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่มักจะทำงานตามเหตุการร์หรือสถานการณ์เสียมากกว่า ปัญหาจึงเป็นได้เพียงบทวิเคราะห์ของนักวิชาการที่ พยายามนำเสนอเพื่อแสดงวิสัยทัศน์และเจตจำนงว่า ข้าฯก็ทำงานและตามเรื่องนี้มาอยูเหมือนกัน แต่เอาเข้าจริงหากทำงานและตามสถานการณ์จริงทำไมปล่อยให้เกิดเรื่องก่อน จึงค่อยออกมาบอกกับสังคมทั้งที่ออกมาเตือนก่อนน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า ออกมาย้ำว่า มีข้อมูลสนับสนุนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงแต่แก้ไขอะไรไม่ได้...

 
หมายเลขบันทึก: 76054เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท