รายการใน World Science Festival Big Ideas Series ชุดกลศาสตร์ควอนตัม ๓ เรื่อง คือ
- Can Particles be Quantum Entangled Across Time? ที่ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ Brian Greene คุยกับรองศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ปรัชญา Elise Crull บอกว่าผู้เริ่มกลศาสตร์ควอนตัมคือ มักซ์ พลั้ง (Max Planck) ที่เสนอว่าพลังงาน มีธรรมชาติเป็นก้อนๆ (quanta) ยักษ์ใหญ่ท่านต่อๆ มาในเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมคือ Albert Einstein, Niels Bohr, Erwin Schrodinger, Werner Heisenberg, Max Born, Paul Direc
- Does Quantum Mechanics Imply Multiple Universe? Brian Greene คุยกับ ศาสตราจารย์ Sean Carroll แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮ็อบกิน ที่ชวนให้ผมสะท้อนคิดว่า มนุษย์เราต้องพัฒนาสมรรถนะในการดำรงชีวิตอยู่ในพหุจักรวาล
- Is Quantum Reality in the Eye of Beholder? Brian Greene คุยกับศาสตราจารย์ Carlo Rovelli ว่าความเป็นจริงของควอนตัมจะเป็นอย่างไร ขึ้นกับการมองของผู้มองหรือผู้สัมผัสด้วย
นำผมสู่ข้อสรุปว่า โลกของใครก็ของผู้นั้น เป็นความเหมือนของโลกอนุภาคจิ๋ววววว กับโลกมหภาคของมนุษย์ แต่เรายังไม่เข้าใจโลกของจักรวาลที่หน่วยนับน่าจะเป็นกาแล็กซี่
โยงสู่ความจริงในโลกมนุษย์ ว่ามุมมองต่อโลก หรือต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ของต่างคนย่อมต่างกัน เพราะ “ความจริง” (reality) ย่อมเป็นความจริงในมุมมองของแต่ละคน เนื่องจาก “ความจริง” มีความซับซ้อน และเคลื่อนไหว
อดโยงสู่การศึกษาไทยไม่ได้ ว่านี่คือองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาฐานสมรรถนะ ในส่วน soft skills (จรณทักษะ) คือทักษะในการรับฟังและเคารพมุมมองที่ต่างจากมุมมองของตน
ฟังเรื่อง กลศาสตร์ควอนตัมใน World Science Festival หลายตอน ผมมองว่า “ความจริง” ในโลกจิ๋ววววว ควอนตัม เหมือนกับ “ความจริง” ของโลกมนุษย์ ในเรื่อง Future Skills ๑๗ ตัว ที่ตัวสำคัญคือทักษะในการอยู่กับ ambiguity และใช้ประโยชน์จากความกำกวมนี้
ผมตีความสู่โลกมนุษย์ต่อ ว่าหากตัวเราใช้มุมมองต่อเรื่องที่ยากยุ่งกำกวมด้วยมุมมองเชิงบวก คนอื่นจะรับรู้ได้ สร้างบรรยากาศเชิงบวกต่อเนื่องขยายต่อออกไป หรือหากเรามีจิตใจเห็นแก่ส่วนรวม ผู้คนที่เกี่ยวข้องจะรับรู้ได้ สร้างบรรยากาศ prosocial ตามที่เสนอไว้ในบันทุกชุด ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์
ผมลองถามสหาย เจมิไน ว่าเอาปรากฎการควอนตัมมาใช้ในชีวิตจริงของมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง ได้รับคำตอบที่น่าสนใจมาก ดังนี้
“จากโลกควอนตัมสู่ชีวิตประจำวัน: แนวคิดที่นำไปใช้ได้จริง
ปรากฏการณ์ควอนตัม แม้จะดูซับซ้อนและไกลตัว แต่หลักการบางอย่างก็สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เข้าใจและดำเนินชีวิตได้ดีขึ้นค่ะ ลองมาดูกันว่ามีแนวคิดอะไรบ้างที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ยอมรับความไม่แน่นอน: โลกควอนตัมสอนให้เราเข้าใจว่าความไม่แน่นอนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การยอมรับความไม่แน่นอนนี้จะช่วยให้เราเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
- พลังของความคิด: การสังเกตการณ์ในโลกควอนตัมมีผลต่อผลลัพธ์ของการทดลอง ซึ่งเปรียบได้กับพลังของความคิดของเราที่มีผลต่อชีวิตจริง การมีทัศนคติที่ดีและมุ่งมั่นในสิ่งที่ต้องการ จึงอาจส่งผลให้เกิดสิ่งดีๆ ในชีวิตได้
- ความเชื่อมโยงของทุกสิ่ง: แนวคิดการพันกันเชิงควอนตัม (quantum entanglement) ชี้ว่าทุกสิ่งในจักรวาลมีความเชื่อมโยงกัน การตระหนักถึงความเชื่อมโยงนี้จะช่วยให้เรามีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น และตระหนักถึงผลกระทบของการกระทำของเราต่อผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
- ความเป็นไปได้ที่หลากหลาย: โลกควอนตัมมีหลายสถานะพร้อมกัน ซึ่งสอนให้เราเปิดใจรับความเป็นไปได้ที่หลากหลาย และไม่จำกัดตัวเองอยู่กับทางเลือกเพียงไม่กี่ทาง
การนำไปใช้ในชีวิตจริง
- การตัดสินใจ: การยอมรับความไม่แน่นอนจะช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยไม่กังวลกับผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น
- การสร้างความสัมพันธ์: การตระหนักถึงความเชื่อมโยงของทุกสิ่งจะช่วยให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นมากขึ้น
- การแก้ปัญหา: การมองปัญหาจากหลายมุมมอง จะช่วยให้เราค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์มากขึ้น
- การพัฒนาตนเอง: การมีทัศนคติที่ดีและมุ่งมั่นในสิ่งที่ต้องการ จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ข้อควรจำ: แม้ว่าแนวคิดจากโลกควอนตัมจะน่าสนใจ แต่การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงนั้นต้องอาศัยความเข้าใจและวิจารณญาณ การเปรียบเทียบที่ง่ายเกินไปอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
สรุป
ปรากฏการณ์ควอนตัมเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่หลักการบางอย่างสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและมุมมองใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิต การเรียนรู้เกี่ยวกับโลกควอนตัมจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของจักรวาลได้ดียิ่งขึ้น และนำไปสู่การใช้ชีวิตที่มีความหมายมากขึ้น”
ลองถาม Perplexity ด้วยคำถามเดียวกัน ได้รับคำตอบสำหรับนำมาเปรียบเทียบดังนี้
“แนวคิดจากโลกควอนตัมที่สามารถนำไปใช้ในสังคมมนุษย์ พร้อมกับจุดที่เป็นประโยชน์:
1. การเข้าใจความซับซ้อนและการเชื่อมโยงกัน
ฟิสิกส์ควอนตัมเน้นว่าทุกสิ่งในจักรวาลมีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อพลศาสตร์ทางสังคมและความสัมพันธ์ได้ การรับรู้ถึงความเชื่อมโยงนี้สามารถส่งเสริมมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสังคม ช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างสาขาต่าง ๆ และชุมชนในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตสุขภาพ
2. การยอมรับความไม่แน่นอนและความสามารถในการปรับตัว
ฟิสิกส์ควอนตัมแนะนำแนวคิดเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในระดับพื้นฐาน ซึ่งบ่งชี้ว่าผลลัพธ์ไม่สามารถคาดการณ์ได้เสมอไป มุมมองนี้สามารถนำไปใช้กับกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ โดยกระตุ้นให้บุคคลและองค์กรยอมรับความไม่แน่นอนและมีความยืดหยุ่นเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
3. คอมพิวเตอร์ควอนตัมและนวัตกรรม
การเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ควอนตัมเปิดโอกาสให้เกิดความก้าวหน้าในหลายสาขา เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์วัสดุ และปัญญาประดิษฐ์ โดยการใช้เทคโนโลยีควอนตัม สังคมสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการคำนวณแบบคลาสสิก
4. การพิจารณาด้านจริยธรรมในเทคโนโลยี
เมื่อเทคโนโลยีควอนตัมพัฒนา มันจะสร้างคำถามด้านจริยธรรมเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และการเข้าถึง การเตรียมพร้อมด้านไซเบอร์เซ็กเคียวรีตี เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากศักยภาพของคอมพิวเตอร์ควอนตัมในการทำลายวิธีการเข้ารหัสในปัจจุบัน
5. วิทยาศาสตร์สังคมควอนตัม
สาขาใหม่ ๆ เช่น วิทยาศาสตร์สังคมควอนตัมสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างฟิสิกส์ควอนตัมและพฤติกรรมทางสังคม แนวคิดเช่น ความสมบูรณ์ (complementarity) สามารถช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์และโครงสร้างทางสังคมได้ดีขึ้น
6. การปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
ทฤษฎีควอนตัมเสนอว่า การรับรู้ของมนุษย์อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ไม่เป็นเชิงเส้น ซึ่งอาจนำไปสู่วิธีการใหม่ในการเข้าใจกระบวนการตัดสินใจที่คำนึงถึงความซับซ้อนของพฤติกรรมมนุษย์โดยรวมแล้ว หลักการที่ได้จากฟิสิกส์ควอนตัมไม่เพียงแต่ท้าทายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับความเป็นจริง แต่ยังเสนอกรอบที่มีค่าในการจัดการกับปัญหาสังคมร่วมสมัยอีกด้วย การนำเสนอแนวคิดเหล่านี้ไปใช้สามารถช่วยให้เรานำทางผ่านความซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
ที่จริงชีวิตมนุษย์เราอยู่กับ “ความน่าจะเป็น” (probability) เหมือนกันกับอนุภาคจิ๋ววววว แต่เราเลือกเส้นทางตรงทางแพร่งโดยรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง อย่างชีวิตของผมเปลี่ยนจากเด็กชนบทบ้านนอก มาเป็นหมอเป็นศาสตราจารย์ ก็เพราะครูพิเชษฐ์ไปแนะนำพ่อ ชีวิตของผมสนุกอย่างนี้ในวัย ๘๓ ก็เพราะปฏิเสธทางเลือกอื่น เช่นนักการเมือง อธิการบดี และอีกหลายตำแหน่ง รวมทั้งเลือกแต่งงานกับสาว พญ. อมรา เศวตวรรณ ก็มีส่วนทำให้ชีวิตของผมได้เลือกความน่าจะเป็นสู่ความเป็นจริงแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือเกิด “ความน่าจะเป็น” ใหม่ คือมีลูกถึง ๔ คน ตอนนี้ก็ได้รับความเป็นจริงว่าเราได้รับการดูแลยามชราจากลูกๆ เป็นอย่างดี เป็นต้น นี่ยังไม่นับ “ความน่าจะเป็น” ด้านกัลยาณมิตร และเพื่อนร่วมงาน
ชีวิตคือ “ความน่าจะเป็น” และปฏิสัมพันธ์ ในลักษณะเดียวกันกับ กลศาสตร์ควอนตัมของอนุภาคจิ๋ววววว
ในสายตาของผม ข้อเรียนรู้สำคัญที่สุดจากความเข้าใจกลศาสตร์ควอนตัม สู่การประยุกต์ใช้ต่อการเรียนรู้ และการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุขของมนุษย์ คือความเข้าใจและยอมรับความคิดและมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล เคารพและใช้ประโยชน์ของความแตกต่างนั้น
การศึกษาต้องหนุนให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะนี้
เป็นอันจบบันทึกชุด โลกอนุภาคจิ๋ววววว ที่มีทั้งสิ้น ๔ ตอน
วิจารณ์ พานิช
๒๑ ม.ค. ๖๘