โรคซึมเศร้า : แพทย์รักษาอย่างไร


  หลังจากแพทย์ประเมินอาการจนค่อนข้างแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุมาจากโรคทางร่างกายอื่นๆ ก็จะเริ่มให้การรักษาโดยให้ยาขนาดต่ำก่อน นัดติดตามการรักษาอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ต่อมา ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียงอะไรก็จะค่อยๆ ปรับยาขึ้นไปทุกๆ 1-2 สัปดาห์จนได้ขนาดในการรักษา
         แพทย์จะรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ

1.ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ไม่กินอาหารเลย อยู่นิ่งๆ ตลอดวัน คิดอยากตายอยู่บ่อยๆ หรือพยายามฆ่าตัวตาย 

2.แพทย์ต้องการซักประวัติและตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

3. แพทย์เห็นว่าการปรับยาต้องดูแลใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น

ระยะเวลาในการรักษา

หลังจากที่รักษาจนผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว (ซึ่งระยะเวลานี้ไม่แน่นอนแล้ว แต่ว่าอาการรุนแรงมากหรือน้อย มาพบแพทย์เร็วหรือช้า มีโรคอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ฯลฯ โดยทั่วไปจะประมาณตั้งแต่ 4 สัปดาห์ ถึง 2-3 เดือน)  แพทย์จะให้ยาในขนาดใกล้เคียงกับขนาดเดิมต่อไปอีกนาน 4-6 เดือน   จากการศึกษาวิจัยเราพบว่าหากผู้ป่วยหยุดยาก่อน 4 เดือนหลังจากหายดีแล้ว จะมีโอกาสกลับเกิดอาการกำเริบขึ้นมาอีกสูง เมื่อให้ยาไปจนครบ 6 เดือนโดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการเลยในระหว่างนี้ แพทย์จึงจะค่อยๆ ลดยาลงโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจนหยุดยาในที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #โรคซึมเศร้า
หมายเลขบันทึก: 71979เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 00:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 00:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถ้าจะไปคุยกับคุณหมอ สามารถ ไปได้ที่ไหนค่ะ และขอเบอร์ติดต่อได้ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท