วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ลูกสาวคนเล็กแนะนำหนังสือ Hidden Potential : The Science of Achieving Greater Things เขียนโดย Adam Grant ผมอ่านข้อสรุปใน Blinkish ไม่รู้สึกอินเท่าไรนัก แต่เมื่อดาวน์โหลดตัวอย่างมาอ่านใน Kindle ก็วางไม่ลง
อ่านเพียงบทนำ และเริ่มบทที่ ๑ Creatures of Discomfort : Embracing the Unbearable Awkwardness of Learning ผมก็ตัดสินใจเขียนบันทึกนี้เพื่อสื่อ แนวทางหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา ที่พลิกโฉมรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กโตอย่างสิ้นเชิง คือเรียนจากการทำกิจกรรมที่ท้าทายร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนา Character Skills ของตน
จากหนังสือดังกล่าว ผมตีความว่า เด็กต้องเรียนรู้และพัฒนา “ทักษะเชิงบุคลิก” (character skills) ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เชิงวิชาการ และครูต้องพัฒนาทักษะในการโค้ชศิษย์ให้พัฒนาทักษะชุดนี้ใส่ตัว นี่คือประเด็นที่ผมต้องการสื่อต่อสถาบันผลิตครู
ทักษะเชิงบุคลิก ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบคือ
ผมตีความว่า นี่คือเครื่องมือพลิกฟื้นการศึกษาไทย ผ่านการพลิกโฉมการผลิตครู ให้ครูมีทักษะเชิงบุคลิก ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการเป็นครู ครูของครูต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ เอามาทำ PLC การผลิตครูแนวใหม่ ผ่านการตีความสะท้อนคิดสาระในหนังสือเล่มนี้ ส่วนกลางของระบบการศึกษาของประเทศอาจจัด online PLC เพื่อร่วมกันสะท้อนคิดการพลิกโฉมการผลิตครู จากแต่ละตอนหรือแต่ละบทของหนังสือ
นี่คือโอกาสพัฒนาคุณภาพของการศึกษา ที่นำสู่คุณภาพของพลเมืองไทยในอนาคต ในการนำพาประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลาง และสังคมที่ผู้ได้เปรียบในสังคมมีความเห็นแก่ตัว และมีความขัดแย้งในสังคมสูง สู่สังคมที่พลเมืองมีทักษะเชิงบุคลิก ๔ ประการข้างต้น
ย้ำว่า ต้องผลิตครูที่มีทักษะเชิงบุคลิกทั้ง ๔ เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไกลของสังคมไทยในเรื่องนี้
การพัฒนาทักษะเชิงบุคลิกชุดนี้ ทำโดยฝึกทำงานเป็นทีม เพื่อเอาชนะความท้าทายที่ยากสุดๆ ที่ผมขอเสนอว่า ครูของครูต้องได้ฝึกทักษะชุดนี้
วิจารณ์ พานิช
๓๐ ก.ค. ๖๗
ไม่มีความเห็น