บทบาทของผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อสร้างสังคมไทยเข้มแข็ง


            (บทปาฐกถาพิเศษ เรื่อง บทบาทของผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อสร้างสังคมไทยเข้มแข็ง ในการสัมมนาวิชาการผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (CGEO) จัดโดย สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 ณ ห้องแกรนต์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์)

            การประเมินในการสร้างความเสมอภาคและบทบาทของสตรีในหน่วยงาน ระดับกรมมีทางพอที่จะทำได้อีกจากมากพอสมควรจนถึงมาก การดำเนินงานในเรื่องการส่งเสริมบทบาทและความเสมอภาคของสตรี ได้ทำมา 5 ปี ภายใต้การมีตำแหน่ง CGEO และได้ใช้ความพยายามพอสมควร โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  เป็นหน่วยงานกลางสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ ระดับกรมทั้งหลายซึ่งมีประมาณ 125 กรม บางกรมทำได้ดี  และทำได้ดีจนกระทั่งมีผู้บริหารที่เป็นสตรีพอ ๆ กับที่ไม่ใช่สตรีและมีบางกรมทำได้ดีถึงงานข้างนอก คือ ไปส่งเสริมประชาชนให้มีความตระหนักในบทบาทของสตรีทำให้สัดส่วนของสตรีที่มีบทบาทในกิจกรรมทางสังคม กิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีสัดส่วนของสตรีเพิ่มมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีคือทั้งกรณีภายในหน่วยงานทำให้สตรีมีความเสมอภาคและมีบทบาทมากขึ้นกับงานที่ไปถึงประชาชนทำให้ภาคประชาชนมีความตระหนัก และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมบทบาทของสตรีมากขึ้น แต่ที่ยังไม่ชัดเจน คือที่ทำไปกว้างขวางพอหรือยัง เพราะมีทั้งหมด 125 กรม มีเท่าใดไม่เป็นไรเพราะสิ่งที่มีก็มีแล้ว แต่จะมีประโยชน์ถ้าเรามาพินิจพิเคราะห์ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไรให้ชัดเจนที่สุด นั้นคือเราต้องศึกษาความเป็นจริง การที่จะทำอะไรให้สำเร็จโดยเฉพาะการแก้ปัญหายากๆ หรือการที่จะสร้างสภาพที่ดีกว่า เช่น เรื่องของสตรีในแง่ของความเสมอภาค ในแง่การส่งเสริมบทบาท นอกเหนือไปจากการที่จะละเว้น กำจัด ขจัดการกระทำร้ายต่อสตรี เรื่องสตรีที่แย่ที่สุด คือการทำร้ายสตรี ไปสร้างความรุนแรงกับสตรี แต่การที่มีกฎหมายข้อบังคับ กติกา ที่ปิดกั้นไม่ให้ความเท่าเทียม ตรงนี้คือสิ่งที่ไม่ดี แต่ดีที่สุดที่เราสามารถส่งเสริมบทบาทสถานภาพของสตรีได้อย่างเต็มที่ การที่จะทำอะไรให้สำเร็จ ความเป็นจริงสำคัญที่สุด คือต้องรู้ความเป็นจริง ว่ามีสถิติ ข้อมูล แค่ไหนอย่างไรเกี่ยวกับการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติในแต่ละกรม ว่ามีอยู่ในลักษณะที่ละเอียด ถูกต้อง ต่อเนื่อง ในการมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้เป็นเครื่องมือเพื่อมากระตุ้นความสนใจ  เพื่อการทำให้เห็นลู่ทางที่จะพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่ การใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่ยังมีทางทำได้อีกมาก 

            ถัดจากความเป็นจริงก็คือ การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดการความรู้ผู้เอื้ออำนวยต่อการจัดการความรู้ ถึงขึ้นเป็นวิทยากรได้ถือว่าเข้าใจพอสมควร และเข้าใจแล้วได้นำมาปฏิบัติ อย่างเข็มข้นจริงจังภายในกระทรวงหรือไม่ ถ้าได้นำมาปฏิบัติอย่างเข็มข้นจริงจังตามกระบวนการ  จัดการความรู้ถือว่าดี แต่แม้ทำในกระทรวงแล้วก็ยังไม่ดีพอ ดียิ่งขึ้นควรจะมีการจัดการความรู้ระหว่างกระทรวง ฉะนั้น เห็นว่าที่ท่านทั้งหลายที่เป็น CGEO หรือมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานของ CGEO ถ้าท่านได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ

            1. เรื่องของความเป็นจริง คือความรู้ มีการศึกษา เก็บสถิติข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์

ให้เห็นความเป็นจริง

            2. ถ้าท่านได้ให้มีการจัดการความรู้ภายในกระทรวงและระหว่างกระทรวง

            ถ้าท่านได้ทำสองอย่าง ผมเชื่อว่าจะช่วยให้การพยามเจตนารมย์ของการมี CGEO บรรลุผลได้ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ดีขึ้นแน่นอน ถ้าเริ่มตั้งแต่วันนี้ มหกรรมการจัดการความรู้ที่ไบเทคบางนา เป็นสุดยอดของงานเรื่องการจัดการความรู้ รูปแบบการจัดงาน และสาระตลอดจนกระบวนการที่อยู่ในงาน และมีหน่วยราชการไปแสดงหลายหน่วยงาน ชาวบ้านจัดการความรู้อย่างเข็มข้นสามารถมาเป็นวิทยากรได้ 

            ฉะนั้นจึงถือโอกาสนี้ ที่มาพบกับท่านทั้งหลาย ที่มาร่วมงานกับกระทรวงพัฒนาสังคม ที่ส่งเสริมเรื่องการพัฒนาสังคมและเราก็มียุทธศาสตร์สังคมสามด้าน คือ 

            1. สังคมไม่ทอดทิ้งกัน การดูแลซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรต่อกัน

            2. สังคมเข้มแข็ง ความเข็มแข้งทุกระดับทุกส่วนของสังคม ชุมชนท้องถิ่น ประชาสังคม กลุ่มคนมีความเข็มแข้งมากขึ้น รวมถึงกลุ่มสตรี สถาบันครอบครัวเข็มแข็งบทบาทสตรีเข็มแข็ง จะรวมอยู่ในคำว่าสังคมเข็มแข็ง

            3. สังคมคุณธรรม ส่งเสริมคุณธรรมความดี 

            ซึ่งทั้ง 3 ยุทธศาสตร์จะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สังคมไม่ทอดทิ้งกัน ความเข้มแข็ง ความมีคุณธรรม ผสมกลมกลืนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในเรื่องของสตรีการไม่ทอดทิ้งกันในเรื่องสตรี เช่น ถูกทำร้าย กดขี่ ได้รับความไม่เท่าเทียม การเสริมสร้างความเข็มแข็งของบทบาทสตรีและการส่งเสริมคุณธรรมเกี่ยวพันกันหมด ในสตรี ทั้งหมดรวมอยู่ในสิ่งที่เป็นการพัฒนาสังคมและรวมถึงการพัฒนาบทบาท ศักดิ์ศรี สถานภาพ คุณค่า ความเท่าเทียมของสตรี เป็นภารกิจซึ่งทุกคนเกี่ยวข้องไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ไม่มากก็น้อย คือเป็นเหตุที่ท่านต้องมาในวันนี้ 

            จึงอยากจะเสนอแนะว่าท่านจะสามารถช่วยกันทำให้กระบวนการส่งเสริมความเท่าเทียมและบทบาทของสตรีเข้มข้นจริงจังได้อย่างไร ถ้าท่านทำได้ดีแล้วก็ทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีกแล้วสองอย่างที่      เสนอแนะ คือ 

            1. มีข้อมูล สถิติ มีความจริงให้ปรากฏ ซึ่งจะต้องไปเก็บค้นหา ไปเก็บ รวบรวมอย่างต่อเนื่อง 

            2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการจัดการความรู้ ขอให้ทำอย่างครบกระบวนการ ให้มีความครอบคลุม เข้มข้น จริงจัง เทียบเท่า ที่เขาจัดการความรู้กันตามที่ปรากฏในมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ที่สถาบันส่งเสริมจัดการความรู้เพื่อสังคมที่จัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว และถ้าสนใจติดต่อขอเอกสาร เครื่องช่วยทั้งหลาย และพยายามทำกันในกระทรวงก่อน ถ้ามีหลายกรมก็ทำระหว่างกรมในกระทรวง และใช้การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือ และทำในเรื่องสตรี Gender ก็จะอาศัยการจัดการความรู้มาช่วยด้วย แต่เมื่อมีการจัดทำภายในกระทรวงแล้วก็ควรจะมีการจัดทำระหว่างกระทรวง และลองนำดาวเด่นของกระทรวงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกระทรวงบ้าง จะทำให้การเรียนรู้การพัฒนามากขึ้น การแพร่ขยายกว้างมากขึ้น 

            ฉะนั้นหน่วยงานที่ทำได้ไม่ดีนักก็จะดีขึ้น หน่วยงานที่ทำได้พอประมาณก็จะถึงขั้นดีมาก หน่วยงานที่ทำได้ดีมากก็จะรักษาความดีมากนั้นไว้ และยังมีโอกาสได้เผื่อแผ่ความดีมากไปให้คนอื่นและขอให้การสัมมนาในวันนี้ประสบความสำเร็จ เป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง คือความสำเร็จในภาระกิจในเรื่องเกี่ยวกับสตรี

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

5 ม.ค. 50
คำสำคัญ (Tags): #รัฐมนตรี
หมายเลขบันทึก: 71069เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ในความเป็นมนุษย์ชาติ สตรีมีความสำคัญเท่าเทียมกับบุรุษ ซึ่งควรให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน ดังที่  เหมาเจ๋อตุง ได้กล่าวไว้ว่า สตรีถือครองครึ่งท้องฟ้า
  • ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท