รำวง ส่งเสริมจิตใจ


                     รำวง ส่งเสริมจิตใจ

จากการทำกิจกรรมกลุ่ม ณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มเราได้กรณีศึกษาเป็น ผู้ป่วยจิตชาย จำนวน 15 คน โดยกิจกรรมที่ใช้เป็นกิจกรรมสันทนาการ ส่งเสริม motor skills (movement, balance, coordination), motivation, self-efficacy, cognitive และ social participation โดยกิจกรรมที่เลือกคือ กิจกรรมรำวงวันลอยกระทง โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ชวนผู้รับบริการพูดคุยเกี่ยวกับวันลอยกระทง (long-term memory, recall) โดยให้ผู้รับบริการเสนอความเห็นว่าวันลอยกระทงมีกิจกรรมใดบ้าง 
  2. แนะนำการทำกิจกรรมรำวงให้ผู้รับบริการ โดยมีส่วนของคนรำวง และคนเล่นดนตรี ให้ผู้รับบริการเลือกกิจกรรมที่ต้องการทำ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 
  3. กลุ่มที่เล่นดนตรี เลือกเครื่องดนตรีที่ต้องการเล่นโดยเป็นเครื่องประกอบจังหวะ และฝึกซ้อมเพลงลอยกระทงร่วมกับผู้บำบัด
  4. กลุ่มรำวง ซ้อมท่ารำวงที่ผู้บำบัดสาธิตให้ดู เพื่อดู process skills การ initiation และ termination รวมถึง motor skills ในการเคลื่อนไหว
  5. รวมกลุ่มเพื่อทำเป็นลานรำวง มีการเพิ่มจังหวะเพื่อ grade up เดินเวียนตามเข็มนาฬิกา
  6. เมื่อรำวงแล้วชวนผู้รับบริการ reflect กิจกรรมที่ทำ รู้สึกอย่างไร ได้ประโยชน์ และนำไปใช้ในชีวิตประจำได้อย่างไร 

 

ข้อควรปรับปรุง 

  • ในการเดินรำวงควรมีการเดินเวียนในทิศทางตรงข้ามเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีก (flexible thinking)
  • เมื่อผู้รับบริการเสนอแนวคิดมา เช่น การรำวงคู่กัน ควรเอาความคิดนี้ไปคุยกับสมาชิกกลุ่มว่าเห็นด้วยหรือไม่ คิดว่าทำได้อย่างไร

 

ปรับปรุงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้

  • ในการออกกำลังกายสามารถทำเป็นกลุ่มได้ 
  • การเคลื่อนไหวร่างกายง่ายๆขณะอยู่ที่วอร์ด 
  • เคลื่อนไหวเพื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งสองข้าง

 

ข้อเสนอเเนะสำหรับการจัดกลุ่ม

  • ใขณะทำกิจกรรมผู้บัดควรดูแลผู้รับบริการอย่างทั่วถึง
  • ขณะทำกิจกรรมหากมีการข้ามขั้นตอนบางขั้นตอน ผู้บำบัดทุกท่านมีสิทธิในการเสนอหรือยกมือเพื่อบอกผู้นำกลุ่มให้ทำกิจกรรมในขั้นตอนนั้น ๆ โดยหาจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการบอก
  • สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในเเต่ละสถานการณ์ได้
  • ก่อนการจัดกิจกรรมกลุ่มควรมีการฝึกซ้อมตามขั้นตอนเสมือนจริง เพื่อความชำนาญเเละการปรับเปลี่ยนในจุดที่ยังไม่สมบูรณ์
  • การจัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนทำกิจกรรมควรจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้มากกว่าจำนวนผู้รับบริการจริงไว้สำหรับในกรณีหากมีการ Grade up หรือ Grade down กิจกรรมในขณะทำกิจกรรม กิจกรรมจะได้ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
  • ควรประเมินศักยภาพของผู้รับบริการก่อนหรือขณะทำกิจกรรมเพื่อให้สามารถเลือกหรือปรับกิจกรรมได้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

 

สมาชิกภายในกลุ่ม

  1. 6323001 ณัฐิดา อู่อรุณ
  2. 6323002 ปุณยวีร์ นุ้ยฉิม
  3. 6323003 พรณภัทร พรเลิศพงศ์
  4. 6323004 ภควดี สุทธิประทีป
  5. 6323005 ภัทรวรรณ ทิพย์สูตร
  6. 6323006 วิชญาดา ศรัณยสกุล
  7. 6323008 อัญชลี กุมภาศรี
  8. 6323009 กันต์ นิมิตรประเสริฐ
  9. 6323010 ฐิติวรดา ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์
  10. 6323011 ณัฐกุล เพื่อนฝูง

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

 

คำสำคัญ (Tags): #จิตสังคม#รำวง
หมายเลขบันทึก: 710501เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2022 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท