บันทึกที่3 แบบสำรวจการปัญหาในการปฏิบัติงานการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ


กำหนดส่งวันที่ 20 มกราคม 50 นะครับ

การสำรวจปัญหาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

   อนุสนธิจากการประชุมรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏครั้งที่1 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ประชุมห็นชอบที่จะให้มีการประชุมครั้งที่2 ขึ้นในเดือนมกราคม ในหัวข้อเรื่อง  แนวปฏิบัติในการดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ นั้น              คณะกรรมการประสานงานที่ประชุมรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงใคร่ขอความร่วมมือจากท่านในการสรุปรวบรวมปัญหาในขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติต่างๆที่ท่านมีในการปฏิบัติงานของท่าน โดยกรอกข้อมูลลงในแบบสำรวจข้างล่างแล้ว ส่งแบบฟอร์มกลับมาที่  ผศ.ดร.กฤษดา กรุดทอง รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภายในวันที่ 20 มกราคม 2550 เพื่อได้นำไปประมวลผลและนำเสนอในที่ประชุมรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในครั้งถัดไปได้ทัน หรือกรอกข้อมูลออนไลน์ผ่าน    http://gotoknow.org/blog/suansunandha /66737หรือแนบแฟ้มส่งอีเมลที่  [email protected]  ก็ได้             หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน ผศ.ดร.กฤษดา กรุดทองรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานที่ประชุมรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

     ขอ แบบฟอร์มการสำรวจ ได้ที่นี่


http://gotoknow.org/file/vicepresident/PhDSurvey2549.doc

หมายเลขบันทึก: 70890เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2007 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

วิธีการกรอก

1.คัดลอกแบบฟอร์มนี้ไปบันทึกข้อมูลบน word

2.สำเนาตารางบน word มา paste ลง ในช่องความคิดเห็นข้างล่างนี้

                 แนวปฏิบัติในการดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
       ชื่อมหาวิทยาลัย                           ผู้กรอกข้อมูล                            วันที่รายงาน  
ขั้นตอนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ วิธีที่ปฏิบัติ ปัญหาที่พบ แนวทางการแก้ไข
คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  -การจัดประชุมคณะกรรมการ   -ค่าตอบแทนคณะกรรมการ       
การสรรหาผู้อ่าน   -วิธีการประชุมผู้อ่าน   -การเปิดเผยชื่อผู้อ่าน   -อัตราค่าตอบแทนผู้อ่าน       
การรวบรวมผลงาน   -กำหนดวันรับและแต่งตั้ง    -ผู้กลั่นกรองผลงาน   -       
การตัดสินผลการประเมิน  -การส่งผลงานวิธีปกติ   -การส่งผลงานวิธีพิเศษ      
การประเมินผลการสอน   -วิธีประเมิน   -เกณฑ์การประเมิน  -ผู้ประเมิน        
แนวปฏิบัติในการดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏชื่อมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์    ผู้กรอกข้อมูล  ผศ.เกษม ศรีเดิมมา      วันที่รายงาน  6 กุมภาพันธ์  2550
ขั้นตอนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ วิธีที่ปฏิบัติ ปัญหาที่พบ แนวทางการแก้ไข
คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ1. การจัดประชุมคณะกรรมการ  จัดประชุมที่กรุงเทพมหานครในวันจันทร์ที่ 4ของเดือน ยกเว้นกรณีไม่มีเรื่องพิจารณาจะงดการประชุม - -
2. ค่าตอบแทนคณะกรรมการ  จ่ายเบี้ยประชุมคนละ 1,500 บาทและค่าตอบแทนพิเศษในฐานะเป็นกรรมการ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอีก 2,000 บาท - -
กรรมการผู้อ่าน3. วิธีการประชุมผู้อ่าน  จะโทรศัพท์ประสานงานล่วงหน้าแล้วนัดประชุมในวันเดียวกับที่มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการในเวลา 10.30 น. วันเดียวกันสถานที่เดียวกันในกรุงเทพมหานคร  กรรมการบางท่านติดภารกิจในวันที่จะนัดหมาย  หากได้จำนวนเกินกึ่งหนึ่งก็จะเชิญประชุม ถ้าไม่ถึงกึ่งหนึ่งก็จะเลื่อนเป็นเดือนถัดไป
4. การเปิดเผยชื่อผู้อ่าน ไม่เปิดเผย เพราะเป็นความลับของทางราชการ - -
5. อัตราค่าตอบแทนผู้อ่าน ตอบแทนผู้อ่านระดับ ผศ. คนละ 2,000 บาทตอบแทนผู้อ่านระดับ รศ.คนละ 3,000 บาทตอบแทนผู้อ่านระดับ ศ. คนละ 5,000 บาท - -
การรวบรวมผลงานทางวิชาการ6. กำหนดวันรับและแต่งตั้ง  กำหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯว่า ให้ถือวันที่ผู้ขอผลงานเสนอเอกสารถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ต่อคณะที่สังกัด ซึ่งคณะจะประชุมพิจารณาความถูกต้องสมบูรณ์แล้วส่งให้กองกลางสำนักงานอธิการบดี    ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งให้ถือวันที่ผู้เสนอผลงานมีคุณสมบัติถูกต้องและส่งเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์เป็นวันแต่งตั้ง - -
ขั้นตอนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ วิธีที่ปฏิบัติ ปัญหาที่พบ แนวทางการแก้ไข
การรวบรวมผลงานทางวิชาการ 6. กำหนดวันรับและแต่งตั้ง                                       (ต่อ)       ในกรณีที่ต้องปรับปรุงแก้ไขผลงานทางวิชาการ หากผู้เสนอผลงานสามารถปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จและส่งกองกลาง สำนักงานอธิการบดีได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบให้ปรับปรุงแก้ไขผลงานทางวิชาการ ก็ให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวันที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง แต่ถ้าการปรับปรุงแก้ไขเสร็จเกินเก้าสิบวัน ก็ให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในวันที่ยื่นเอกสารที่ได้ปรับปรุงแก้ไขถูกต้องสมบูรณ์ครั้งสุดท้าย - -
การตัดสินผลการประเมิน7.การส่งผลงานวิธีปกติและ   วิธีพิเศษ  มิได้มีการกำหนดแนวปฏิบัติใด ๆ เพิ่มเติม ไปจากประกาศ ก.พ.อ.  -  -
การประเมินผลการสอน8.วิธีประเมินผลการสอน  ประธานคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน ซึ่งคณะอนุกรรมการก็จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการสอน(ใช้เกณฑ์ของมหาวิทยาลัย) แล้วให้อาจารย์ผู้ขอรับการประเมินบันทึกข้อมูลแสดงแนวปฏิบัติการสอนของตนตามมาตรฐานต่าง ๆที่กำหนด พร้อมทั้งแสดงหลัก,ฐานไว้ที่คณะ แล้วคณะอนุกรรมการก็จะประเมินจากข้อมูลที่ได้รับร่วมกับการไปสังเกตการสอนในห้องเรียน - -
9.เกณฑ์การประเมิน  กรณี ผศ.ซึ่งจะต้องเป็นผู้  มีความชำนาญในการสอนใช้เกณฑ์คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไปกรณี รศ.ซึ่งจะต้องเป็นผู้  มีความชำนาญพิเศษในการสอน ใช้เกณฑ์คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปกรณี ศ.ซึ่งจะต้องเป็นผู้ มีความเชี่ยวชาญในการสอน ใช้เกณฑ์คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป - -
    
ขั้นตอนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ(จำแนกหัวข้อตามที่เห็นเหมาะสม) วิธีที่ปฏิบัติ ปัญหาที่พบ แนวทางการแก้ไข
10. ผู้ประเมิน ใช้อนุกรรมการซึ่งประธานคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการแต่งตั้งชุดละ 5 คน ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธาน คณบดีในคณะที่ผู้ขอผลงานสังกัด เป็นรองประธาน  อาจารย์ผู้มีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่า ผศ.ในคณะที่ผู้ขอผลงานสังกัดอีกจำนวน 3 คน โดยมีคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ - -
 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท