งดรับสื่อ...ชีวิตอิสระ


ในฐานะผู้บริโภคเลยเลือกที่จะไม่บริโภคดีกว่า

ตั้งแต่มาอยู่เชียงใหม่ได้ 2 เดือนกว่าต้องยอมรับว่าตกข่าวต่างๆปมากมาย เนื่องจากต้องการตัดสื่ออกจากตัวเลยต้องทำตัวให้ไม่มีอุปกรณ์รับสื่อ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์

เพราะข่าวที่ขึ้นอยู่บนสื่อทุกวันนี้ ไม่มีความสร้างสรรค์ ข่าวฆ่ากันตายทั้งยิงกัน แบบสยองไม่สยองทุกวัน คนนู้นทะเลาะคนนี้ผิด คนนี้ไม่ผิด ในฐานะผู้บริโภคเลยเลือกที่จะไม่บริโภคดีกว่า

เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่าทำไมข่าวดีๆจึงไม่มีลงในสื่อมากนัก

วิเคราะห์ได้ว่า

1. เพราะคนทำข่าวคิดว่าข่าวแบบที่สร้างความจรรโลงใจนั้นขายไม่ได้

2. เพราะคนที่ทำข่าวคิดว่าถ้าเอาข่าวฉาว ดุ เผ็ดร้อนจะขายได้มากกว่า

แต่คงมีนักนิเทศนักข่าวดีๆที่สรรหาข่าวจรรโลงใจมาใส่ให้คนไทยเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ได้แต่หวัง

คำสำคัญ (Tags): #เช่นนั้นเอง
หมายเลขบันทึก: 70831เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2007 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ  แวะมาเจอบล็อกของคุณจากคำหลัก ศาสนาและปรัชญา  แล้วไปอ่านเรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงในด้านมิติทางสังคมแล้วก็ชอบใจ ไม่ใช่เฉพาะด้านเนื้อหา แต่อมยิ้มที่วิธีนำเสนอน่ารักดีค่ะ  ที่ตอนจบบอกว่า วิทยากรไปเร็วมากจดไม่ทันต้องไปดูเพิ่มในเอกสารเองน่ะค่ะ  ฟังดูจริงใจดีจัง เห็นภาพเลยค่ะ

 

หัวข้อเรื่อง เลิกเลื่อกรับสื่อ นั้น  อยากแวะเข้ามาให้ความเห็นด้วยก็เพราะว่าตัวเองจบนิเทศมาแล้วก็เลิกรับสื่อไปเยอะเหมือนกันน่ะค่ะ ฮิ ๆ  แต่ความจริงก็ไม่ถูกเท่าใดนัก  คนเราควรจะเปิดรับโลกความเป็นจริงไว้ แล้วสามารถมีภูมิคุ้มกันสิ่งที่เ้กิดขึ้นนั้นได้พอสมควรมากกว่า 

แต่ในที่นี้ก็คือ  เลือกรับแบบทางสายกลางน่ะนะคะ  เป็นคนไม่ได้ดูรายการบันเทิงอะไรอยู่แล้ว  ชอบอ่านหนังสือ หรือเข้าเนทหาข้อมูลอะไรไปตามเรื่องตามราวมากกว่า

 

เห็นคุณว่าอยู่เชียงใหม่ และ มีความสนใจเรื่องศาสนาและปรัชญา เลยจะมาแนะนำสถานที่และครูบาอาจารย็์ที่ดีมาก ๆ ในการช่วยฝึกภูมิคุ้มกันใจไม่ให้จิตตกเวลารับสื่อนี่ล่ะค่ะ

ท่านเขียนบล็อกอยู่ที่นี่ด้วย  ชื่อ อ.พิชัย กรรณกุลสุนทร ค่ะ  นี่ค่ะ บล็อกท่าน http://gotoknow.org/blog/pichaik  ท่านเป็นคณบดีมนุษยศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่  และเป็นประธานมูลนิธิศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ด้วย  ลองแวะไปดูที่เวบของศูนย์ก็ได้นะคะ  ฟรีหมดทุกอย่างค่ะ  สถานที่ก็สะดวกสบาย  รับรองว่าไปแล้วจะได้คำตอบในหลาย ๆ อย่างที่คุณตั้งคำถามมาในบล็อกที่น่าสนใจของคุณนี้ค่ะ

 

อ้อ ในบล็อกของอาจารย์พิชัย มียกตัวอย่างเปรียบเทียบเรื่องหนังสือพิมพ์ที่ลงแต่ข่าวดี ๆ ด้วยนะคะ  ท่านไปเจอมาค่ะ ตอนเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานที่ต่าง ๆ ที่อินเดีย  ท่านบอกว่า ประเทศนี้มักลงแต่ข่าวดีพาดหัวตัวโตอนุโมทนากับคนอินเดียที่ประสบความสำเร็จหรือทำคุณงาามความดีต่าง ๆ  ส่วนข่าวไม่ดีจะเขียนตัวเล็ก ๆ กรอบเล็ก ๆ สอดแทรกไว้ในหน้าหลัง ๆ ค่ะ  น่าสนใจดีนะคะ  ยังไงลองไปอ่านดูในบล็อกของอาจารย์ดูก็แล้วกันนะคะ  จำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่าอยู่เรื่องไหน

 

สวัสดีจากญี่ปุ่นค่ะ, :-)

 

ณัชร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท