สร้างงานให้เกิดงาน


...สร้างฐาน สรรค์สร้าง ส่งเสริม ส่วนร่วม และสืบสาน เป้าหมาย 5 ปีการทำงานด้านสื่อสาร

สิ่งสำคัญในงานสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร ที่เกี่ยวกับงาน Content หนีไม่พ้นงานเขียนค่ะ

แต่งานเขียนก็ยังมีลักษณะหลากหลายที่ต้องอาศัยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การฝึกฝนทักษะจนเกิดประสบการณ์ สามารถขีดเขียน Create งานได้ตรงใจกลุ่มผู้รับสาร และยิ่งหลักการทำงานเป็นทีม เราต้องคำนึงถึงแนวคิดแนวเขียนที่เป็นในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของงานด้านสื่อสารองค์กรอีกด้วย

สรรค์สร้าง

รอยต่อของการสรรค์สร้างและส่งเสริม ในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2563 ศูนย์สื่อสารองค์กรฯ ของเราได้ผุดโครงการใหม่ๆ ขึ้นมา 2 โครงการ ได้แก่ งาน PR to Public การนำเสนอข่าวเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่สาธารณะ และ งาน ContentCreation for CMU Branding  เพื่อการสร้างภาพลักษณ์องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมของการทำงานแล้ว ในระยะเริ่มโครงการ เราเลือกใช้กลวิธีสร้างพันธมิตร หาผู้เชี่ยวชาญที่มีเพดานบินหรือประสบการณ์สูงมาร่วมงานด้วย เพื่อให้ทีมงาน Talent มีโอกาสเรียนรู้ เติมเต็ม ฝึกฝนความมั่นใจจนพร้อมที่จะเดินหน้าในงานสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ทั้งในมิติด้านการเขียน และมิติการเข้าถึงช่องทางสื่อที่เป็นสาธารณะและมีผลกระทบต่อการรับรู้ เข้าถึง ให้เกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายสูง โดยเป้าหมายการเติบโตเป็นมืออาชีพที่เต็มที่กับงาน ไม่น่าจะเกิน 1 ปีครึ่ง - 2 ปี

แน่นอนค่ะว่าเป้าหมายการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อการเพิ่มช่องทางในการนำเสนอข่าวสารและข้อมูลจากทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ปรากฏแก่สาธารณชน และเพื่อนำเสนอผลงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ นำมาสื่อสารแก่สาธารณชนได้รับทราบ ผ่านช่องทางสื่อที่กำหนดไว้ ตัวอย่างผลงานสร้างสรรค์เชิงวรรณศิลป์ ตามที่ปรากฏเป็น Storytelling ในเว็บไซต์ >> https://sdgs.cmu.ac.th/ (กรณีศึกษา) ซึ่งเราเรียกกันว่าเป็นงาน Content Creation คือ การสร้างเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการนำผลงาน งานวิจัย และเนื้อหาข่าวในเชิงสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ งานบริการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม นำมาสื่อสารให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ และได้รับประโยชน์จากเนื้อหาดังกล่าว โดยจัดทำเป็นเนื้อหา 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างผลงาน Content Creation>>

 

ส่งเสริม

เพราะงาน content เป็นเรื่องสำคัญของคนทำงานสื่อสาร ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความสำคัญ การพัฒนาสมรรถนะหลักตามตำแหน่งงานของบุคลากรที่เป็นมือทองในงานสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร เป็นเรื่องที่ละเลยเสียมิได้ ยิ่งในยุคของการสื่อสารที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและทำหน้าที่ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เนื้อหาและวิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทิศทางของกลยุทธ์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล  จะต้องมีการสร้างสรรค์เนื้อหาให้โดดเด่น โดนใจผู้รับสาร และเลือกเครื่องมือสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ปัจจุบันแยกย่อยลงไปตามไลฟ์สไตล์ และความสนใจเฉพาะของตน ดังนั้น การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ และทรงพลัง ทันต่อเหตุการณ์ และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรให้ปรากฏแก่สาธารณชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก 

ดังนั้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตและเผยแพร่สื่อในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้างสาร (Message) ให้เกิดประสิทธิภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสาร ได้แก่ การเขียน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ ที่แตกต่างจากการเขียนทั่วไป  โดยจะต้องตอบสนองจุดมุ่งหมายสูงสุดอันได้แก่ การก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีและถูกต้อง การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยและกลุ่มประชาชนเป้าหมายเป็นสำคัญ จึงเป็นที่มาของการฝึกอบรมหลักสูตร “เขียนอย่างไร? ให้สั้น ง่าย ได้ใจความบนแพลตฟอร์ม Facebook  และ Line Official” ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการสื่อสาร ให้เกิดการพัฒนาทักษะ สามารถเขียนงานประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เพื่อการสื่อสารข้อความประชาสัมพันธ์ออกไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วนทันต่อยุคดิจิทัล ที่สำคัญคือสามารถเขียนข่าวได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายยุคดิจิทัล ในแพลตฟอร์ม Facebook , Line Official, LinkedIn และอีกแพลตฟอร์มอื่นอีกมากมายที่จะตามมาในอนาคต

 

(บทส่งท้าย) การดำเนินงานด้านการพัฒนาทักษะบุคลากรงานด้านการสื่อสารจะยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง เพื่อความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล ที่มหาวิทยาลัยมีดำริให้กองบริหารงานบุคคลรับผิดชอบระบบการพัฒนา และนับเป็นความโชคดีที่ผู้ปฏิบัติงานด้านงานประชาสัมพันธ์ ที่ได้รับโอกาสจากองค์กร ในสองเรื่องด้วยกัน ได้แก่ การเป็น 1 ใน 14 ตำแหน่งงานนำร่องสายปฏิบัติการ ที่จะได้ปรับเปลี่ยนชื่อตำแหน่งงานและเป็นประโยชน์ต่อทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานสายปฏิบัติการ ขณะเดียวกันเรายังได้รับการจัดสรรกรอบตำแหน่งชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ เพื่อให้บุคลากรได้รับเงินประจำตำแหน่ง เป็นขวัญและกำลังใจ อันเป็นจังหวะดีที่เปิดโอกาสให้แก่ฉันได้เรียนรู้เป็นผู้เขียนเสนอแบบประเมินค่างานใน 2 ตำแหน่งนี้ เพื่อการวัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบและความยุ่งยากของงาน ในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้คงจะเป็นประโยชน์กับทีมงานรุ่นน้องต่อไป.

 

หมายเลขบันทึก: 705558เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2022 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2022 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สบายดีไหมครับ พี่หม่อม ;)…

สบายดีค่ะ สบายดีเช่นกันไหมคะ หลักหกของพี่กำลังมาถึงแล้ว ขอบคุณน้องอาจารย์ wasawat Deemarn มากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท