ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และการวิจัย (​Strategy, strategy, and research)


ที่ผมเขียนซื่อบันทึกวันนี้โดยใช้คำ ​Strategy สองครั้งในความหมาย “ยุทธศาสตร์ กับ กลยุทธ์” ในภาษาไทยนั้น ไม่ใช่ความผิดพลาด หรือเข้าใจผิดใด ๆ เพียงแต่ในวงวิชาการของไทยนั้นเราจะพบว่าทั้งสองคนี้ (ยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์) นี้เราแปลว่ามาจากคำภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ Strategy ครับ และมีความพยายามจะอธิบายความแตกต่างของคำว่ายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไว้สองแบบคือ แบบที่อธิบายว่า “ยุทธศาสตร์” ใช้กับองค์การทั่วไปและราชการ ส่วน “กลยุทธ์” เป็นองค์การทางธุรกิจ และแบบสองอธิบายว่า “ยุทธศาสตร์” เป็น​ Strategy หลัก ส่วน “กลยุทธ์” เป็น “​Strategy ในระดับรองลงไป ประเมาณนี้ครับ ซึ่งผู้สนใจสมารถศึกษาเพิ่มเติมได้ แต่ผมใช้สองคำนี้ในความหมายเดียวกันครับ ความแตกต่างอยู่ที่ความเข้าใจและขอบเขตการนำใช้คำว่า ”ยุทธ์ศาสตร์/กลยุทธ์ (​Strategy)" ในการบริหาร หรือดำเนินงานเท่านั้น 

คำว่า “ยุทธ์ศาสตร์ (Strategy)” เป็นศัพท์ที่ใช้กันในภารรบของทหารมานานก่อนที่มีการนำใช้ในวงการธุรกิจ แต่ได้กลายพันธ์ไปมากครับ กล่าวคือคำว่ายุทธ์ศาสตร์ในทางการทหารนั้นจะหมายถึงยุทธการรบหลักที่ออกแบบไว้ในการรบครั้งนั้น ๆ เพื่อเอาขนะข้าศึกครับ แต่ในองค์การธุรกิจ หรือองค์การทางการศึกษานั้นมีความแตกต่างกันไป คงบอกไม่ได้ว่าแนวคิดไหนถูก แนวคิดไหนผิด หรือดีกว่ากัน ฐานคิดของผมคือ “ยุทธศาสตร์ที่ดีคือยุทธศาสตร์ที่ใช้ได้” ในทำนองเดียวกันถ้าหลักคิดใดเกี่ยวกับยุทธ์ศาสตร์นำไปสู่การได้ยุทธศาสตร์ที่ดีแล้ว ท่านก็เลือกใช้แนวคิดนั้นครับ ส่วนผมนั้นมีความเข้าใจและความเห็นดังนี้

Michael E. Porter ผู้นำแนวคิดเกี่ยวก้บยุทธศาสตร์ยุคต้น ๆ และค่าตัวแพงที่สุดคนหนึ่งบรรยายและเขียนไว้ในงานเขียนของเขาหลายเล่ม รวมทั้งบทความ “What Is Strategy?” ในรวมบทความ​ HBR's 10 Must Read on Strategy…" (Porter, 2011) กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง “ การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล (Operational Effectiveness) กับ ยุทธศาตร์ (Strategy)” ว่าการปฏิบัติที่มีประสิทธิผลเป็นวิธีการดำเนินงานในสิ่งที่ทำอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนยุทธศาสตร์เป็นจุดยืนในการดำกิจการของบริษัทของเราที่แตกต่างจากบริษัทอื่น หรือวิธีการดำเนินงานของบริษัทของเราที่แตกต่างไปจากบริษัทอื่นที่ทำกิจการแบบเดียวกัน  สำหรับการนำใช้คำว่า “ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์” ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ Porter เรียกว่า “Operational Effectiveness” ครับ ซึ่งเขาไม่ถือว่าสิ่งนี้คือยุทธศาตร์ แต่อย่างไรก็ตามผมเคยวิเคราะห์และเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้งว่า “ทั้งสองแบบนี้น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ เพียงแต่​สิ่งที่ Porter เรียกว่า Operational Effectiveness นั้นเป็นยุทธศาตร์ปฏิบัติการ ส่วน ”Strategy" เป็นยุทธศาสตร์องค์การ ซึ่งเป็นจุดยืนและจุดแข่งจุดขายขององค์การเพื่อเบียดแทรก หรือเป็นผู้นำในกิจการนั้น ๆ ครับ 

สำหรับวิธีการสร้างหรือพัฒนายุทธศาตร์นั้นมีแนวคิดและวิธีการที่นำเสนอไว้หลากหลายวิธี แต่เทคนิดที่คุ้นเคยและนิยมนำมาใช้ในการสร้างหรือพัฒนายุทธศาสตร์มากที่สุดแนวหนึ่งคือการวิเคราะห์สภาวะองค์​การที่รู้กันในนาม SWOT Analysis ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาได้โดยทั่วไป แต่ที่อยากบอกคือในการสร้างหรือพัฒนายุทธศาสตร์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้​  SWOT Analysis ก็ได้ และกระบวนการสร้างหรือพัฒนายุทธศาสตร์นั้นก็มีได้หลายวิธี แต่โดยทั่วไปเป็นดังนี้

  1. การกำหนดจุดยืนในกิจการ 
  2. แนวทางที่จะดำเนินการตามจุดยืน 
  3. ศึกษาสภาวะการขององค์การภายใต้บริษทที่เป็นอยู่
  4. กำหนดยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
  5. กำหนดแนวการดำเนินงานตามยุทธศาสตร

ส่วนการนำวิธีการวิจัยมาใช้ในการสร้างหรือพัฒนายุทธศาตร์นั้นเป็นการนำใช้วิธีการวิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างหรือพัฒนายุทธศาสตร์ ตามแบบที่ผู้สร้างหรือพัฒนาองค์การกำหนดไว้ เช่น ถ้าจะใช้กระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์ตามที่ผมเสนอไว้ข้างต้น ผู้สร้างหรือพัฒนายุทธศาสตร์ก็เลือกใช้วิธีการวิจัยเพื่อกำหนดจุดยืนในกิจการที่องค์การจะใช้เป็นจุดแข่งจุดขายขององค์การ เพื่อกำหนดแนวทาง และอื่น ๆ ทั้งห้าขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น โดยรูกก็คือ ผู้วิจัยต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่าในการสร้างหรือพัฒนายุทธศาสร์ก่อน ค่อยออกแบบวิธีการวิจัยเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในแต่ละขั้นตอนที่ตนเองเลือกใช้ครับ 

สมาน อัศวภูมิ

26 มิถุนายน 2565

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 703234เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2022 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2023 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระบวนการสร้างยุทธศาสตร์4ข้อของอาจารย์ กรณีการสร้างยุทธศาสตร์จาการวิจัย ที่มีการทำSWOT และ TOWs ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ1. การกำหนดจุดยืนในกิจการ คือ ตัวแปรหลักในการวิจัย 2. แนวทางที่จะดำเนินการตามจุดยืน คือ ตัวแปรย่อยของการวิจัย 3.ศึกษาสภาวะการขององค์การภายใต้บริษทที่เป็นอยู่ คือ การศึกษาข้อมูลโดยวิธีการต่างๆ แล้วซิเคราะห์ SWOT4.กำหนดยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จ คือ กลยุทธ์ ที่เกิดจากTOWS และตัวบ่งชี้ คือ จำนวนหรือคุณภาพของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งผมไม่เข้าใจว่าผู้วิจัยกำหนดขึ้นมาเองเลยหรือจะเอาอะไรมาเป็นฐานกำหนดตัวบ่งชี้ครับ

สวัสดีครับคุณ Suchart ก่อนอื่นผมขอเรียนก่อนว่า เมื่อเราพูดถึงยุทธศาสตร์ เราหมายถึงอย่างน้อย 3 อย่าง คือ Strategic Policy (ยุทธศาสตร์เชิงนโยบาย: ยุคแรก) Strategic Planning หรือ Plan ( แผนยุทศาสตร์: ยุคต่อมา และประเทศไทยเมื่อพูดถึงยุทธศาสตร์ ส่วนใหญ่จะหมายถึง แผนยุทธศาสตร์ จึงเขียนออกมาแบบมี ​​vision, mission, goal, strategy, indicator/measurement ประมาณนี้

ประการที่สอง แนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์มีหลายแนวคิด และที่ผมนำเสนอในบทเขียนข้างต้นขอขยายความาเข้าใจตามที่คุณ ​Suchart ถามเป็นดังนี้

  1. คำว่าจุดยืนของกิจการ หรือองค์การนั้นหมายถึง สิ่งที่องค์การเลือกจะทำ ซึ่งมักจะกำหนดออกมาในลักษณะของ​ strategic intend คือ Vision ซึ่งเป็นตัวบ่งออกว่ากิจการใหม่ตามยุทธศาสตร์ที่จะวางแผนใหม่นั้นจะไปในทิศทางใด มีจุดยืนแบบไหน และภาพอนาคตที่ต้องการเป็นอย่างไร ในกรณีที่องค์การดำเนินกิจการอยู่แล้ว ก็ต้องมีจุดยืนในการทำกิจการอยู่แล้ว แต่อาจจะเขียนออกมาในรูปของแผนแบบดั้งเดิม เช่น กำประหนดเป็นนโยบาย/ เป้าประสงค์ ซึ่งยังไม่ใช่ Vision แม้จะเป็นการมองอนาคต แต่เป็นการมองอนาคตแบบ ‘สิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่อยากทำ (นโยบาย/ เป้าประสงค์) ดังนั้นถ้าองค์การต้องการเปลี่ยนการวางแผนแบบดังเดิม เป็นแผนยุทธศาสตร์ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการวางแผน เปลี่ยนจุดยืนจากนโยบายธรรมดา/เป้าประสงค์ เป็นนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ โดยการศึกษาสภาพปัจจับันปัญหาขององค์การ และอาจจะ SWOT ก็ได้ โดยการ SWOT บนจุดยืนตามแผนแบบดังเดิมที่ทำอยู่ ตรงนี้เองเวลานักวางแผนไทยทำแผนยุทธศาสตร์จึงมักจะมี SWOT แต่ต้องเป็นการ SWOT บนฐานของจุดยืนเดิม จึงจะเป็นว่าในการดำเนินงานตามจุดยืนเดิมนี้มีจุดอ่อนจุดแข็งโอกาส และภัยคุกครามอะไรบ้าง แล้วก็กำหนดจุดยืนขององค์การใหม่เป็นจุดยื่นเชิงยทธศาสตร์ คือ Vision

องค์การประกาศจุดยืนใหม่นี้โดยไม่ SWOT ได้ไหม คำตอบคือ ได้ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารที่เจ้าของกิจการมอบหมาย เช่น กรณี Job กับยุทธศาสตร์พลิกโฉมของ Apple เป็นต้น หรือเจ้าของกิจการ/ผู้บริหบารที่รับผิดชออาจจะ SWOT แต่ไม่บอกเราก็ได้

  1.  แนวทางที่จะดำเนินการตามจุดยืน ในแผนยุทธศาสตร์ ก็คือ Mission หลังจากเราได้ Vision แล้วเราก็กำหนด Mission เพื่อให้เป็นไปตาม Vision โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้างต้น หรือข้อมูลอื่น หรือระดมสมอง ก็ได้

  2. ศึกษาสภาวะการขององค์การ โดยใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่/และหรือข้อมูลใหม่/ ระดมสมองผู้มีประสบการณ์ ตรงนี้เอง SWOT/ TOWS หรือเทคนิคอื่น ๆ ​จะนำมาใช้เพื่อกำหนด Goals, Strategy หลัก Strategy ย่อยครับ
  3. ตัวบ่งชี้ จะกำหนดตามมาหลังจากมี Vision, Mission, Goals,  และ Strategy แล้ว ส่วนจะกำหนดท้ัง Strategy หลัก และรอง นั้นองค์การ หรือนักวางแผนก็ตัดสินใจได้

ผมเชื่อว่าถ้าดำเนินการทั้ง 4 ขั้นตอนข้างต้น น่าจะได้แผนยุทธศาสตร์ หรือยุทธศาสตร์ที่ดีครับ ส่วนการนำเสนอ หรือการจัดทำเอกสารแผนยุทธศาสตร์นั้น ก็แล้วแต่องค์การหรือฝ่ายบริหารจะเลือกครับ แต่โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบประมาณนี้ครับ 1. ภูมิหลังและความเป็นมา เป็นข้อมูลที่มีอิทธิพลอและความจำเป็นที่ต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์ครั้งนั้น แต่งานวิจัยไม่จำเป็นต้องรายงานส่วนนี้ เพราะมีอยู่ในบทที่ 1 แล้ว แต่ในคู่มือการนำแผนยุทธศาสตร์ไปใช้ควรมีส่วนนี้่เป็นบทนำ แต่ไม่ใช่ลอกบทที่ 1 มาเลยนะครับ 2. วิสัยทัศน์ ต้องเขียนออกมาห้เห็นภาพอนาคตว่าองค์การ มีจุดยืนที่ต้องการจะบรรลุคืออะไร ที่สำคัญคือต้องสื่อภาพอนาคตให้ชัดกับบุคลากรในองค์การ และผู้เกี่ยวข้อง เช่น วิสัยท้ศน์กรุงเทพมหานครองผู้ว่าช้ชชาติ และคณะคือ ‘กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ (ท่านและคณะไม่เรียกว่าวิสัยทัศน์ แต่ในฐานะนักวิชาการเห็นว่านี่คือ​ วิสัยท้ศน์ ที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ เท่าท่ีผมศึกษามา) 3. พันธกิจ เป็นการกำหนดสิ่งหลัก ๆ ที่องค์ต้อง/ควรดำเนินการถ้าจะให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด ซึ่งผมยังไม่เห็นกลุ่มพันธกิจหลักของกรุงเทพฯ ซึ่งท่านอาจจะมีอยู่แล้วไม่ทราบ แต่ประเด็นยุทธศาสตร์มีครับ4. วัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าองค์การจะมียุทธศาสร์ระยะสั้น ระยะยาวอย่างไร อะไรก่อนหน้าหลัง เพื่อเป็นตัวกำหนดเบื้องต้นว่าองค์การควรมียุทธศาสตร์หลัก และยุทธศาสตร์ย่อยที่จะดำเนินอะไรบ้าง ในส่วนนี้ผมก็ไม่เห็นผู้ว่ากรุงเทพฯ และคณะกำไว้หรือไม่ แต่วัตถุประสงค์ในการดำนำใช้ยุทธศาสตร์ในการดำนเนินงานกรุงเทพฯ มหานคร มีความช้ดช้ดที่นโยบาย 214 นโยบาย และกลุ่มนโยบายที่ผู้ว่าฯ แลคณะกำหนดไว้5. ยุทธศาสตร์หลัก/ยุทธศาสตร์ย่อย เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เชื่อว่าจะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ ตามพันธกิจ และวิส้ยที่กำหนดไว้่ ประเด็นนี้กรุงเทพมหานครปัจจุบันชัดมากคือ  9 กลุ่มนโยบาย (ยุทธศาสตร์หลัก) และ 214 นโยบาย (ยุทธศาสตร์ย่อย) แต่อย่าลืมว่าท่านผู้ว่าชัชชาติ และคณะไม่ได้ระบุว่านี่คือยุทธศาสตร์นะคร้บ แต่เช่น เดิมในฐานะน้กวิชาการเห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์หลัก และยุทธศาสตร์ย่อยที่ดีมาก ๆ ถ้ากรุงเทพมหานคร ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน หรือส่วนใหญ่ร่วมือก้นดำเนินการได้ตามนี้ กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองน่าอยู่ขั้นอีกเยอะเลยครับ 6. ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานเป็นไปตามยุทธ์ศาสตร์ ซึ่งจะกำหนดเฉพาะยุทธศาสตร์หลัก หรือทั้งยุทธศาสตร์หลัก และยุทธศาสตร์ก็ได้ และอีกอย่างในการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์นั้น อาจจะนำรายการที่ 6 ไปไว้ในกรอบเดียวก้นกับยุทธศาสตฺ์หลัก/ยุทธศาสตร์/ ยุทธศาสตร์ย่อยก็ได้ 7. แนวทางในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ซึ่งจำเป็นสำหรับองค์การขนาดใหม่ หรือราชการ เพราะแผนยุทธศาสตร์จะเกี่ยวาข้องก้บคนจำนวนมาก หากไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ไว้่อาจจะทำให้ความเข้าใจและการนำใช้แผนยุทูศาสตร์มีปัญหา แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นการบริหารยุทธศาสตร์ครับ
สำหร้บงานวิจัยของคุณ Suchart ไม่จำเป็นต้องมีการรายงานในส่วนนี้ก็ได้คร้บ

หวังว่าคงมีความกระจ่างชัดมากขึ้น สมาน อัศวภูมิ19 กันยายน 2565

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท