บุคคลในเรื่องแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการทูตและการกงสุล


บุคคลที่ดำเนินการทูตและการกงสุลในทางกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการทูตและการกงสุล คือตัวแทนของรัฐ ในการดำเนินความสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐ และผู้ที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งงานกงสุล ที่เป็นตัวแทนในการดูแลคนสัญชาติของตนเอง และคนสัญชาติอื่นที่ต้องการเข้ามาทำกิจกรรมอื่นๆ กับรัฐ ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคนชาติ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศหรืออยู่นอกประเทศย่อมต้องได้รับความคุ้มครองตามสัญชาติของตนเอง

          บุคคลในเรื่องแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการทูตและการกงสุล เมื่อมีการโยกย้ายของแรงงาน และแรงงานมีการนำครอบครัวย้ายประเทศไปด้วย ในความเป็นจริงพบว่าแรงงานโยกย้ายถิ่นมักถูกเอาเปรียบจากประเทศที่รับแรงงานอย่างมาก บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จึงประกอบด้วยรัฐเจ้าของสัญชาติของแรงงาน และรัฐที่เป็นผู้รับแรงงาน ซึ่งบุคคลทั้งสอง มีส่วนเกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ ในการดูแล ให้ความคุ้มครองสิทธิของแรงงาน ที่ประสงค์จะข้ามชาติมาทำงานในอีกรัฐหนึ่ง 

          รัฐเจ้าของสัญชาติ (Nation State) บุคคลมีสัญชาติใด ย่อมต้องได้รับสิทธิตามสัญชาตินั้น และได้รับการดูแลคุ้มครองสิทธิตามสัญชาติของตนเองด้วย ร่วมถึงกระทำสิ่งตามที่ประเทศของตนเองต้องปฏิบัติตามสัญชาติของตนเอง สัญชาติย่อมติดตัวบุคคลไปด้วย แม้ว่าจะโยกย้ายไปทำงานในอีกรัฐหนึ่ง เป็นการปฏิบัติตนภายใต้กฎหมายของอีกรัฐหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้สิทธิของสัญชาติของบุคคลนั้นสูญเสียไป บุคคลนั้นยังได้รับสิทธิตามสัญชาติของตนเองเช่นเดิม รัฐเจ้าของสัญชาติจะมีเขตอำนาจเหนือดินแดนตามบุคคล เพราะบุคคลสามารถโยกย้ายเปลี่ยนที่ดินแดนได้ และสัญชาติจะติดตัวไป สามารถมีการสละสัญชาติได้ และสามารถกลับมาสัญชาติเดิมของตัวเองได้เช่นกัน ดังนั้นรัฐเจ้าของสัญชาติจึงมีหน้าที่ต่อบุคคลที่มีสัญชาตินั้น 

          รัฐที่เป็นผู้รับแรงงาน เมื่อมีบุคคลจากรัฐอื่นเข้ามาทำงานในรัฐของตนเอง รัฐนั้นจะต้องมีการออกระเบียบเพื่อให้แรงงานนั้น เข้ามาทำงานในรัฐของตนอย่างถูกกฎหมาย และนำไปสู่สิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานที่ควรจะได้รับ โดยอาจให้มีการออกใบอนุญาตทำงานให้กับบุคคลที่เข้ามา เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย และได้รับสิทธิตามกฎหมายแรงงานของประเทศนั้น ร่วมถึงกฎหมายเรื่องของการเข้าเมืองว่าเข้ามาเพื่อทำงานหรือว่าท่องเที่ยวมีการออกกฎหมายอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย

          ซึ่งความสัมพันธ์ของบุคคลทั้งสอง ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการทูตและการกงสุล เพราะเมื่อมีการโยกย้ายไปทำงานอีกรัฐหนึ่ง บุคคลนั้นย่อมต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐนั้น ทั้งการขอหนังสือรับรองการเข้าไปทำงานในรัฐนั้น ใบอนุญาตทำงานในรัฐนั้น ร่วมถึงเอกสารรับรองการเป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นการกระทำทางด้านการกงสุล ที่ทุกรัฐต้องมีการปฏิบัติ และอีกรัฐต้องปฏิบัติตามหากเข้าไปทำงานในรัฐ หรือทำกิจกรรมในอีกรัฐหนึ่ง ทางด้านการทูตความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะต้องมีความตกลงระหว่างรัฐเกี่ยวกับแรงงานที่มีโยกย้ายเข้ามาอีกรัฐหนึ่ง ในปัจจุบันเรื่องของแรงงานที่มีการโยกย้ายถิ่นฐาน มีเพิ่มขึ้นมาก ทั้งแรงงานที่มีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อแรงงาน จำเป็นต้องมีการทำงานแรงงานถูกกฎหมาย เพื่อให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน หลายๆประเทศ เริ่มมีการให้ความสำคัญกับแรงงานที่เข้ามาทำงานให้ประเทศของตนเอง ทำให้รัฐต้องมีการหารือเรื่องของสิทธิในการโยกย้ายมาทำงานที่ต่างประเทศ เพื่อให้แรงงานที่ข้ามชาติมาสามารถรับสิทธิได้อย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นแรงงานของชาตินั้น รวมถึงได้รับการคุ้มครองจากรัฐเจ้าของสัญชาติด้วย

การโยกย้ายแรงงานทำให้เกิดผลกระทบด้านการลักลอบเข้าเมืองและการค้ามนุษย์ ผลกระทบทางด้านอาชญกรรม ยาเสพติด และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านทางสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงานและอัตราการมีงานทำ ด้านการเมืองและความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งปัญหาต่างๆ นั้นสามารถเกิดได้จากการโยกย้ายแรงงานข้ามชาติ ซึ่งรัฐเองต้องมีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ การที่รัฐมีการออกใบอนุญาตเพื่อให้เป็นเครื่องยืนยันตัวบุคคลที่เข้ามา ว่าเป็นใคร สัญชาติอะไร เข้ามาทำงานอะไร ให้เกิดความถูกต้อง และถูกกฎหมายแก่ตัวแรงงานและครอบครัวที่เข้ามาด้วย จะทำให้ผลกระทบลดน้อยลงและรัฐมีประสิทธิภาพในการจัดการแรงงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้น

การกระทำของประเทศไทยในฐานะที่เป็นรัฐเจ้าของสัญชาติ มีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองสิทธิของคนชาติของตนเอง ผ่านสถานทูตของไทยในประเทศนั้นๆ ที่มีแรงงานสัญชาติไทยเข้าไปทำงาน เพื่อดูแลสิทธิประโยชน์ หรือคุ้มครองดูแลคนชาติของตนเองไม่ให้ถูกเอาเปรียบ หรือเลือกปฏิบัติ รวมถึงการรับรองคนของชาติตนเองว่าเป็นคนไทยที่ไปทำงานอย่างถูกกฎหมาย และรวมถึงครอบครัวของแรงงานด้วยที่ควรจะได้รับสิทธิตามที่แรงงานข้ามชาติควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามสัญชาติของไทยที่ควรจะได้รับ และในฐานะของรัฐที่มีแรงงานเข้ามา ประเทศไทยมีการออกระเบียบของใบอนุญาตเข้ามาทำงานในประเทศ ทั้งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว วีซ่าทำงานของคนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำงานที่ไทย ให้ได้รับสิทธิตามแรงงานของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติของนายจ้าง หรือจากการจ้างงานอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ทำงานแรงงานสามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย

          ดังนั้นบุคคลในเรื่องแรงงานข้ามชาติ ตามหลักกฎหมายการทูตและการกงสุล จะมีรัฐเจ้าของสัญชาติ และรัฐผู้รับแรงงาน เป็นเรื่องที่เกิดแก่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไป ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งทางการทูตและการกงสุล เพราะรัฐเจ้าของสัญชาติ มีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของแรงงานและครอบครัวแรงงาน และรัฐที่รับแรงงานมีการให้สิทธิขั้นพื้นฐานแก่แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศของตนเอง ให้ได้รับความเท่าเทียมเสมือนคนในชาติของตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบ เหตุเพราะความต่างของสัญชาติ รวมทั้งลดการเกิดผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการโยกย้ายของแรงงานด้วย เพราะบุคคลมีสิทธิเลือกงานและสถานที่ทำงานเองได้ รัฐจึงมีหน้าที่สนับสนุนและป้องกันสิทธิของบุคคลที่เป็นแรงงานนั้นเอง

 

ที่มา

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาปัญหากฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการทูตและการกงสุล น.749 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551

https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=74860&filename=index

 

 

          

หมายเลขบันทึก: 702726เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2022 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2022 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท