ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน


 

                                   เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน_ห้องประชุม | Government Organization | Chet Samian

ส่วนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะตำบล

         1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบล

                 เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลมีชื่อว่า “สุขาภิบาลเจ็ดเสมียน” ซึ่งได้จัดตั้งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2595 ประกาศจากกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน ลงวันที่  15 ตุลาคม พ.ศ.2506 ประกาศในราชกิจจาณุเบกษา เล่มที่ 80 ตอนที่105 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2506 ต่อมารับได้การเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน  เป็นเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนใน พ.ศ.2542 ตั้งแต่วันที่25 พฤษภาคม 2542 และ วันที่ 24 กันยายน 2547 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดเสมียน เข้ากับเทศบาลตบลเจ็ดเสมียน มีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2547 ประกาศในราชกิจจาณุเบกษา เล่มที่ 121 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2547

        1.2 พื้นที่และอาณาเขต

                เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน ตั้งอยู่เลขที่ 88 หมู่ที่ 2 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข 3238 ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4กับถนนเลียบแม่น้ำแม่กลอง พื้นที่ของเทศบาลเจ็ดเสมียนครอบคลุมตำบลเจ็ดเสมียน หมู่ที่ 1,2,3,4,5และ 6 จำนวน 6 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งสิน 14.89 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากว่าการอำเภอโพธาราม ประมาณ 7 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรี ประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตดังนี้

  ด้านเหนือ ติดต่อเขตตำบลคคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

  ด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลเจ็ดเสมียนกับตำบลดอนทรายไปทางทิศใต้และถือตามเส้นแบ่งเขต ตำบลเจ็ดเสมียนกับตำบลสามเรือน อำเภอเมืองราชบุรีตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งอยู่ตรงเส้นแบ่งเขตตำบลเจ็ดเสมียนกับตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 

  ด้านใต้ จากหลักเขต 3 ถือตามเส้นแบ่งเขตตำบลเจ็ดเสมียน กับตำบลท่าราบ อำเภอราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 4 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก 

 

    1.2.1 ลักษณะภูมิประเทศ

         ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่โดยรอบชุมชน พืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าว,อ้อย,มะขามเทศมันเลี้ยงสัตว์ และพืชอื่นๆ นอกจากนั้น การประกอบอาชีพภายในชุมชน ได้แก่ การค้าและอุตสาหกรรม ด้านการค้าขนาดเล็กถึงปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นการทำโรงงานทำหัวผักกาดเค็ม(หัวไชโป้ว) เป็นกิจการที่ทำต่อเนื่องกันมาทำชื่อเสียงให้แก่ชุมชนพอสมควร นอกจากนี้ ในเขตเทศบาลยังมีโรงงานขนาดใหญ่  ได้แก่ โรงงานผลิตผลไม้อบแห้ง มีคนในในชุมชนเข้าไปทำงานในโรงงาน และในเขตเทศบาล ยัง นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งในเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้มีโรงงานอยู่หลายโรงงาน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้แก่ ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย การระบายน้ำ ปริมาณและคุณภาพถนน ไฟฟ้าสาธารณะ กับการขยายตัวของชุมชนปัญหาคุณภาพชีวิตและทรัพย์สิน

   1.2.2 ลักษณะภูมิอากาศ

         ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อน อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3ฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว

    1.2.3 ลักษณะดิน

         พิ้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินร่วนเหมาะแก่การประกอบอาชีพการทำเกษตรกรรม อาชีพคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นอาชีพทำนา มีแม่น้ำปละคลองหลายสายไหลผ่าน เหมาะแก่การทำการเกษตร

1.3 การปกครองระดับหมู่บ้าน

     ตำบลเจ็ดเสมียน แบ่งเขตการปกครองระดับหมู่บ้านเป็น 6 หมู่บ้าน และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่ต่างๆดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน
1 บ้านวังลึก นายสมิทธิ สุภาพพรชัย
2 บ้านเกาะสมบูรณ์ ร้อยตรีวรากร หมื่นจำนงค์
3 บ้านเจ็ดเสมียน นายพีระพงษ์ สิงหชาติปรีชากุล
4 บ้านสนามชัย นางวรรณทนา โตพฤกษา
5 บ้านคลองมะขาม นายมารุต โพธิ์ประสิทธิ์
6 บ้านดอนไม้เรียง นายสุวัจน์ กิจนิจชีย์

 

1.4 ครัวเรือนและประชากร

     จำนวนครัวเรือนที่มากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ 1.ดอนไม้เรียง 602 ครัวเรือน 2.เกาะสมบูรณ์ 492 ครัวเรือน 3.สนามชัย 384 ครัวเรือน และครัวเรือนที่น้อยที่สุด ได้แก่ หมู่ 0 เจ็ดเสมียน 3 ครัวเรือน( หมู่ 0 เป็นประชากรที่เข้ามาอาศัยอยู่ทีหลังเป็นพื้นที่ของวัดอยู่ระหว่างหมู่ 1 กับหมู่ 2 มีประชากรไม่มากเลยตั้งเป็นหมู่ 0)

หมู่ที่ ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน) ครัวเรือน
0 เจ็ดเสมียน 19 20 39 3
1 วังลึก 499 592 1,091 349
2 เกาะสมบูรณ์ 576 641 1217 492
3 เจ็ดเมียน 75 80 155 68
4 สนามชัย 537 524 1,061 384
5 คลองมะขาม 360 367 729 210
6 ดอนไม้เรียง 669 761 1430 602
รวม 2,735 2,987 5,722 2,108

 

1.5 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

    จำนวนช่วงอายุประชากรมากที่มากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ 1.ช่วงอายุ 41-50 มี 922 คน 2.ช่วงอายุ 51-60 มี 897 คน 3.ช่วงอายุ 31-40 มี 778 คน และช่วงอายุประชากรที่น้อยที่สุด คือ 100 ปีขึ้นไป มีจำวนวน 1 คน

ช่วงอายุ(ปี) ชาย(คน) หญิง(คน) รวม(คน)
0 - 10 295 247 542
11 - 20 324 289 613
21 - 30 404 361 765
31 – 40 388 390 778
41 - 50 434 488 922
51 – 60 396 501 897
61 - 70 263 355 618
71 – 80 116 191 307
81 – 90 69 101 170
91 - 100 6 18 24
100 ขึ้นไป 1 0 1

 

1.6 ระบบการศึกษา

     ในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนมีโรงเรียนทั้งหมด 3 โรงเรียน ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 แห่ง,กศน.ตำบลเจ็ดเสมียน จำนวน 1 แห่ง รวมทั้งหมด 5 แห่ง ดังนี้

                                             

                                  ตำแหน่งสถานที่ศึกษาและสถานที่สำคัญ

 

1.7 ระบบสาธารณสุข 

    มีโรงพยาบาลประจำตำบลเจ็ดเสมียน 1 แห่ง

 

1.9 ระบบพานิชย์และกลุ่มอาชีพ

 

                                           ตำแหน่งสถานที่ระบบพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

 

  1.10 ระบบอุตสาหกรรม

      มีโรงงานทำผักกาดเค็มใหญ่ 3 แห่ง นอกจากนี้ในเขตเทศบาลยังมีโรงงาอีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตผลไม้อบแห้ง และโรงงานอุตสาหกรรมราชบุรี 

 

 

                                                        ตำแหน่งสถานที่ระบบอุตสาหกรรม

     

 1.11 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ประเภทแหล่งน้ำ

               แหล่งน้ำของตำบลเจ็ดเสมียน ส่วนใหญ่ประกอบคลองชลประทาน 1 แห่ง คลองน้ำ 2 แห่ง หนองน้ำ 5 แห่ง                ลำราง 3 แห่ง

 

                           ตำแหน่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ประเภทแหล่งน้ำ

 

   ประเภทพื้นที่สาธารณะหรือป่าไม้ชุมชน

          สถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลเจ็ดเสมียน มีดังนี้

   สถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

        สถานทีท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลเจ็ดเสมียน ดังนี้

  1.12 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ด้านศาสนา

             ประชากรของตำบลเจ็ดเสมียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.9 รองลงนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ                 0.1 และมีศาสนสถานที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่

 

                                                 ตำแหน่งสถานที่ด้านศาสนา

  ด้านประเพณี วัฒนธรรม            

       1. งานประเพณีแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์และของดีตำบลเจ็ดเสมียน

       2. งานส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

       3. งานลอยประเพณีกระทง

       4. งานประเพณีแห่เทียนพรรษา

       5. งานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาษาถิ่น

       ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนก็คือการทำหัวไชโป้ว เนื่องจากมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษซึ่งการทำหัวไชโป้วเป็นการทำถนอมอาหารของคนในยุคอดีตเพื่อเก็บไว้รับประทานกันให้ได้ยาวนานและภาษาถิ่นของคนในตำบลเจ็ดเสมียน คือ ใช้ภาษากลางในการสื่อสารกันในตำบลเจ็ดเสมียน

   2. ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดเสมียน

               2.1 ความเป็นมาและการก่อตั้ง

           เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลมีชื่อว่า “สุขาภิบาลเจ็ดเสมียน” ซึ่งได้จัดตั้งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2595 ประกาศจากกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน ลงวันที่  15 ตุลาคม พ.ศ.2506 ประกาศในราชกิจจาณุเบกษา เล่มที่ 80 ตอนที่105 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2506 ต่อมารับได้การเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเจ็ดเสมียน  เป็นเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนใน พ.ศ.2542 ตั้งแต่วันที่25 พฤษภาคม 2542 และ วันที่ 24 กันยายน 2547 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดเสมียน เข้ากับเทศบาลตบลเจ็ดเสมียน มีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2547 ประกาศในราชกิจจาณุเบกษา เล่มที่ 121 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2547

 

 

                                                        ตราสัญลักษณ์ หมายถึง เสมียน 7 คน 

2.2 คณะผู้บริหาร

          นายกเทวัญ ห่วงตระกูล เป็นนายกเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนคนปัจจุบัน

ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ท่านเป็นคนที่รักคนในตำบลทุกคนและได้รับความเคารพของชาวตำบลเจ็ดเสมียนและให้ความเข้าถึงกับประชาชนทุกคนและใส่ใจคววามเดือดร้อนของชาวบ้านเสมอ ช่วยแก้ปัญญาในตำบลและชุมชนต่างๆให้ชาวบ้านอยู่ดีเป็นสุข

  

 

    2.3 โครงสร้างหน่วยงาน

             

 

 

3. ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน(พื้นที่ทำโครงการ) ความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน

     3.1 ความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน

         ชุมชนหนองน้ำเค็มก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สาเหตุที่ได้ชื่อชุมชนบ้านหนองน้ำเค็มเพราะว่าเมื่อสมัยก่อนที่ชุมชนบ้านหนองน้ำเค็มเป็นทางเรือที่มีเรือขนเกลือมาส่งประจำแล้วมีเหตุการณ์เรือบรรทุกล้มจนทำให้พื้นที่บริเวณนั้นเต็มไปด้วยเกลือแล้วจนทำให้ดินและน้ำเค็ม คนเลยนึกถึงช่วงเหตุการณ์เรือขนเกลือล่มที่ทำให้ดินและน้ำเค็มเลยเกิดชื่อชุมชนหนองน้ำเค็มขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

     3.2 ภูมิปัญญา

           ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนก็คือการทำหัวไชโป้ว เนื่องจากมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษซึ่งการทำหัวไชโป้วเป็นการทำถนอมอาหารของคนในยุคอดีตเพื่อเก็บไว้รับประทานกันให้ได้ยาวนานและภาษาถิ่นของคนในตำบลเจ็ดเสมียน

      3.3 สถานการณ์ปัญหา

               คนในชุมชนส่วนใหญ่มีรายได้จากการทำหัวไชโป้วอย่าวเดียว เลยทำให้ไม่มีเงินพอที่จะเลี้ยงครอบครัว

      นางสาวบุบผา วาสุธรรม อายุ 62 ปี  ชุมชนบ้านหนองน้ำเค็ม ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี  ทำอาชีพรับจ้าง

รายละเลียด

         เกิดขึ้นจากในตำบลได้เป็นแหล่งผลิตใหญ่ของไชโป๊วเลยทำให้คนในตำบลหรือชุมชนส่วนใหญ่ได้ทำอาชีพหัวไชโป๊วต่างกันแพร่หลายเลยทำให้คนในตำบลทำอาชีพรับจ้างทำไซโป๊วเป็นจำนวนมากหัวไชโป้วหรือ หัวไชเท้าดองเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมา ทั้งยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้นานทั้งปี หัวไชเท้าดองมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ หัวไชโป้วดองเค็ม และ หัวไชโป้วหวานอาหารที่นิยมใช้หัวไชโป๊วมาเป็นส่วนประกอบได้แก่ หัวไชโป๊วดองเค็มผัดกับไข่ ไข่เจียวไชโป๊ว และในหน้าร้อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวแช่ ซึ่งก็มีหัวไชโป๊วผัดหวานเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกันหัวไชโป๊ว มีสรรพคุณ ล้างพิษ ขับพิษในร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แถมยังช่วยให้นอนหลับง่ายอีกด้วยผักกาดหัวหรือหัวไช เป็นพืชพื้นเมือง ของเอเชีย นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว แต่มีข้อเสียว่า เมื่อถึงกำหนดเก็บเกี่ยวแล้วจะต้องถอน หัวขึ้นมาทันที เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้หัวฟ่าม ขายได้ราคาต่ำ เหตุนี้จึง ทำให้เกษตรกรต้องรีบขายหัวผักกาดนี้ไปโดยเร็ว ถึงแม้จะได้ราคาน้อย ก็ตามการแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องรีบ ขายหัวผักกาดสดให้แก่พ่อค้าไปในราคาถูก หัวผักกาดเค็มเป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และยังสามารถเก็บไว้บริโภคได้ ทั้งปีหลังจากที่เหลือจากการจำหน่ายแล้ว

 

 

นางประยงค์ พงษ์ไพร อายุ 84 ปี ชุมชนบ้านหนองน้ำเค็ม ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 

          คนในชุมชนบ้านหนองน้ำเค็มได้มีพื้นที่ในการเพาะปลูกหรือทำเกษตรอยู่แล้วตั้งแต่อดีตมีคนทำอาชีพเกษตรกรอยู่จนมาถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงคนในชุมชนทำอาชีพเกษตรกรน้อยลงแต่ก็ยังมีคนทำอยู่ อย่างเช่น ยายคนนี้เขาก็ทำอาชีพเกตรกรมาตั้งแต่จจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังทำเป็นอาชีพเตรียมแปลงเป็นสี่เหลี่ยม ความยาวประมาณ 2 เมตร ตีดินให้ร่วน แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่อยู่ในดิน จากนั่นใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้วโรยแกลบตามหลังจากโรยแกลบแล้วให้เริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ ในการหว่านเมล็ดพันธุ์นั่น ต้องขึ้นอยู่กับผักแต่ละชนิดถ้าเป็นผักบุ้งจีนก็หว่านเป็นแถว แต่ถ้าเป็นผักจำพวก ผักกวางตุ้ง ผักชี ผักคะน้า ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ลงแปลงได้เลย และยังมีผักบางประเภทที่ไม่ต้องหว่านลงแปลงแต่ปลูกลงในหลุมเช่น แตงกวา ผักที่ปลูกใหม่ๆ ให้รดน้ำวันเว้นวัน เพราะถ้ารดน้ำทุกวันจะทำให้แปลงแฉะและรากของผักเน่าการใส่ปุ๋ยของผักแต่ละชนิด ต้องเน้นใส่เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์เพราะปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้ผักกรอบ หวาน และปลอดสารพิษ ใช้เวลาในการทำ 1-2 เดือน ในการทำสวนนี้ก็มลูกหลานมาค่อยดูแลผลัดเปลี่ยนกันทำบ้างเพราะยายเขาอายุแล้ว มีลูกหลานมาวิธีใหม่ในการทำสวนและนำมารวมกัน

 

 นางศรีนวล วาสุธรรม อายุ  70 ปี ชุมชนบ้านหนองน้ำเค็ม ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

      รายละเลียด เกิดขึ้นจากในตำบลได้เป็นแหล่งผลิตใหญ่ของไชโป๊วเลยทำให้คนในตำบลหรือชุมชนส่วนใหญ่ได้ทำอาชีพหัวไชโป๊วต่างกันแพร่หลายเลยทำให้คนในตำบลทำอาชีพรับจ้างทำไซโป๊วเป็นจำนวนมาก
วัตถุดิบ 1. หัวผักกาด หัวผักกาดที่เหมาะในการทำหัวผักกาดเค็ม ควรจะ เป็นหัวผักกาดที่ยังใหม่ อ่อนและสด ควรเป็นพันธุ์หนักเพราะเป็นพันธุ์ที่มี เนื้อแน่น เมื่อแปรรูปแล้วจะได้หัวไชโป๊วที่มีลักษณะตรงกับความต้องการของ ตลาด เก็บเกี่ยวในช่วงอายุระหว่าง 42-48 วัน หลังปลูก2. เกลือ 3. น้ำสะอาด

     อุปกรณ์ 

           1. มีด 2. ภาชนะ เช่น ไห อ่างหรือขวด สำหรับบรรจุหัวผักกาดเค็ม 3. กระด้ง 4. ถุงผ้า

    วิธีทำ การทำหัวผักกาดเค็ม

              1. นำหัวผักกาดมาตัดขั้วหัวท้ายออก ล้างดินออกให้ สะอาด 

              2. เมื่อสะเด็ดน้ำแล้วนำไปผึ่งแดดนาน 6-8 ชั่วโมง

              3. นำหัวผักกาดมาคลึงกับเกลือบนตะแกรงหรือกระด้งพอ ผิวช้ำอมเกลือทั่ว 

              4. หมักหัวผักกาดลงใส่อ่างทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงโรยเกลือ ให้ทั่วแล้วนำไปผึ่งแดดตลอดวัน 

              5. ตอนเย็นเก็บใส่ถุงผ้าหนา ๆ หรือกระสอบ ทับด้วยของ หนัก ๆ ให้น้ำตก

              6. รุ่งเช้านำไปผึ่งแดดอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำ ๆ จนหัวผักกาดมี สีคล้ำจึงหยุดไม่ใส่เกลือและน้ำ เพียงแต่ผึ่งแดด                     ต่อไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน

              7. นำหัวผักกาดที่ได้นี้บรรจุใส่ไหหรือขวดที่นึ่งแล้ว ปิดฝา อัดแน่นให้เรียบร้อย ถ้าชอบให้มีรสหวานให้ใส่                       น้ำตาลปี๊บและใส่น้ำพอสมควรนำลงเคล้าผสมด้วย หลังจากเก็บไว้ 7 วัน สามารถนำมาบริโภค หรือเก็บไว้                   บริโภคได้ทั้งปี

 การทำหัวผักกาดดองหวาน

              1.นำหัวผักกาดที่ทำเค็มแล้วอย่างชนิดหัวเล็กมาแช่น้ำสาร ส้มประมาณ 2 ชั่วโมง

              2.เตรียมน้ำเชื่อมอัตราส่วนน้ำเชื่อม 1 ส่วนต่อผักกาดหัวสองส่วนน้ำเชื่อมนี้ควรใส่ใบเตยหรือน้ำกาแฟเล็ก                   น้อย

              3. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ไห

              4. ใส่น้ำเชื่อมที่ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วลงไปในไหจนท่วมหัว ผักกาด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน

               5. นำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วบรรจุถุงจำหน่ายหรือไว้ใช้ รับประทานต่อไป

 การทำหัวผักกาดแก้ว

               1. ล้างหัวผักกาดให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นยาวพอ ประมาณ

               2. แช่น้ำปูนใสประมาณ 1 ชั่วโมง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ เคล้า เกลือให้ทั่วแล้วหมักไว้นาน 2 ชั่วโมง นำใส่ถุง                       ผ้าหาของหนัก ๆ ทับให้น้ำตก

               3. วันรุ่งขึ้นใส่ตะแกรงผึ่งแดดพอหมาด ๆ แดดเดียวก็พอ

               4. ต้มน้ำปลา 1 ขวด กับน้ำตาลทราย 12 ช้อนโต๊ะเคี่ยว ให้เดือด ทิ้งไว้จนเย็น

               5. นำน้ำปรุงรสนี้เทใส่ลงบนหัวผักกาดผึ่งแดดที่ได้จัดเรียง ไว้ในภาชนะจนท่วม

               6. อุ่นน้ำปรุงรสทุกวัน ทิ้งไว้จนเย็นแล้วจึงนำหัวผักกาดแช่ ลงไปใหม่ ทำเช่นนี้ทุกวันจนครบ 15 วัน จึงนำมา                    รับประทานได้

      การที่อุ่นน้ำปรุงรสทุกวันเพื่อป้องกันการบูดเน่า การแปรรูปหัวผักกาดนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่จำต้อง รีบขายผักกาดหัวให้แก่พ่อค้าคนกลางในราคาที่ไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

 

อ้างอิง

 แผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2565)

https://banpooandthesun.wixsite.com/success/single-post/2016/06/04/%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97-109-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B9%82%E0%B8%9B-%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84-%E0%B8%A1

 

หมายเลขบันทึก: 701037เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2022 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2022 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท