บุคคลสำคัญในสงครามครั้งที่ 2


ฝ่ายอักษะ

เยอรมัน

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์  (Adolf Hitler)  20 เมษายน ค.ศ. 1889 – 30 เมษายน ค.ศ. 1945

เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ 

พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1933–1945 และเป็นฟือเรอร์ของเยอรมนี 

ตั้งแต่ ค.ศ. 1934–1945 ฮิตเลอร์เป็นผู้นำสูงสุดของไรช์เยอรมัน ผู้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปและเป็นผู้

เห็นชอบการฮอโลคอสต์ฮิตเลอร์เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผู้ได้รับเหรียญกางเขนเหล็ก

ต่อมา ฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมพรรคกรรมกรเยอรมันใน ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนหน้าพรรคนาซี ก่อนจะได้เป็นหัวหน้าพรรคนาซี

ใน ค.ศ. 1921 เขาพยายามก่อรัฐประหารซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ กบฏโรงเบียร์ ในเมืองมิวนิก เมื่อวันที่ 8–9 พฤศจิกายน 

ค.ศ. 1923 แต่ล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งในระหว่างนั้นเองที่เขาเขียนบันทึกความทรงจำ ไมน์คัมพฟ์

 ("การต่อสู้ของข้าพเจ้า") หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1924 เขาได้รับการสนับสนุนจากประชาชน

โดยการโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซาย และการเสนออุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมัน การต่อต้านยิวและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ 

หลังได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 เขาเปลี่ยนสาธารณรัฐไวมาร์เป็นไรช์ที่สาม 

รัฐเผด็จการพรรคการเมืองเดียว ภายใต้อุดมการณ์นาซีอันมีลักษณะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จและอัตตาธิปไตย 

เป้าหมายของเขาคือ ระเบียบโลกใหม่ ที่ให้นาซีเยอรมนีครอบงำยุโรปภาคพื้นทวีปอย่างสมบูรณ์

นโยบายต่างประเทศและในประเทศของฮิตเลอร์มีความมุ่งหมายเพื่อยึดเลเบินส์เราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") 

เป็นของชาวเยอรมัน เขานำการสร้างเสริมกำลังอาวุธขึ้นใหม่และการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 

อันนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป

ภายในสามปีใต้การนำของฮิตเลอร์ กองทัพเยอรมันและพันธมิตรในยุโรปยึดครองดินแดนยุโรปและแอฟริกาเหนือส่วนใหญ่

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ค่อยพลิกผันหลัง ค.ศ. 1941 กระทั่งกองทัพสัมพันธมิตรเอาชนะกองทัพเยอรมันใน ค.ศ. 1945 

นโยบายความสูงสุดและที่กระตุ้นด้วยการถือชาติพันธุ์ของฮิตเลอร์ลงเอยด้วยการฆาตกรรมผู้คนนับ 17 ล้านคนอย่างเป็นระบบ 

ในจำนวนนี้เป็นชาวยิวเกือบหกล้านคนปลายสงคราม ระหว่างยุทธการเบอร์ลินใน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์แต่งงานกับเอฟา เบราน์ 

ทั้งสองทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกกองทัพแดงของโซเวียตจับตัว 

และสั่งให้เผาร่างของตน

ไฮน์ริช ลูอิทพ็อลท์ ฮิมเลอร์ (Heinrich Luitpold Himmler) 

เป็นหนึ่งในผู้นำพรรคนาซีในประเทศเยอรมนี และดำรงตำแหน่ง ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ขององค์การชุทซ์ชตัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) 

รับผิดชอบด้านการคุมกำลังวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สทั้งหมดในไรช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในไรช์และเป็นผู้รับผิดชอบ

โดยตรงในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิวซึ่งสังหารชาวยิวกว่าหกล้านคน

ฮิมเลอร์เคยรับใช้จักรวรรดิเยอรมันโดยการเป็นทหารในกองพันสำรองในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากนั้นก็เข้าศึกษา

ด้านปฐพีวิทยาและเข้าร่วมกับพรรคนาซีใน ค.ศ. 1923 เมื่อพรรคนาซีล้มเหลวในการทำรัฐประหารโรงเบียร์ ฮิตเลอร์

และบรรดาผู้นำของพรรคนาซีต่างถูกรัฐบาลจับกุมและต้องโทษจำคุก ฮิมเลอร์รอดคุกมาได้เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ 

หลังพรรคนาซีเริ่มมีอำนาจ ในปี ค.ศ. 1929 ฮิตเลอร์ก็แต่งตั้งให้เขาเป็น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส โดยตลอด 16 ปีที่

เขาดำรงตำแหน่งนี้ เขาได้ทำให้หน่วยเอ็สเอ็สมีกำลังพลเพิ่มขึ้น จาก 290 นายเป็นกว่าล้านนาย เขาจัดตั้งค่ายกักกันนาซี

ตามคำสั่งของฮิตเลอร์  เขามีทักษะในการบริหารองค์กรและคัดเลือกคนเก่งๆเข้ามาทำงาน อาทิ ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช เป็นต้น 

ในปีค.ศ. 1943 ฮิมเลอร์ได้ดำรงตำแหน่งควบทั้งผู้บัญชาการตำรวจและรัฐมนตรีมหาดไทย คอยควบคุมดูแลหน่วยรักษา

ความสงบเรียบร้อยและกำลังตำรวจทั้งหมดในไรช์ รวมถึงหน่วย เกสตาโพ (ตำรวจลับ)

ฮิมเลอร์มีความสนใจในด้านโหราศาสตร์และสิ่งลี้ลับ เขาได้ก่อตั้งองค์กร อาเนินแอร์เบอ (Ahnenerbe) 

เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ศาสตร์, ภูมิศาสตร์การเมือง, นิรุกติศาสตร์, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์, โบราณคดี, เทพนิยาย 

ตลอดจนเวทมนตร์คาถา 

ฮิมเลอร์มุ่งหวังใช้ผลการวิจัยเป็นเครื่องมือสนับสนุนลัทธิเชื้อชาติอารยันอันสูงส่ง มีการส่งหน่วยเพื่อสืบเสาะตามหาวัตถุ

ในตำนานต่าง ๆ อาทิ หีบแห่งพันธสัญญา, ทวนศักดิ์สิทธิ์, จอกศักดิ์สิทธิ์

ฮิมเลอร์ยังจัดจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน (Einsatzgruppen) และสั่งสร้างค่ายมรณะหลายแห่ง 

ด้วยการอำนวยความสะดวกของฮิมเลอร์นี้เอง ทำให้ชาวยิวกว่า 6 ล้านคนและชาวโรมานีอีกราว 2 ถึง 5 แสนคนถูกสังหาร

อย่างเหี้ยมโหดและตลอดช่วงการเรืองอำนาจของนาซี มีพลเรือนถูกสังหารไปราว 11 ถึง 14 ล้านคน ส่วนมากเป็นพลเรือน

ชาวโปแลนด์และโซเวียตรัสเซีย

ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิมเลอร์ตระหนักว่าเยอรมนีกำลังจะแพ้สงคราม เขาจึงแอบเจรจาสันติภาพกับผู้แทนฝ่าย

สัมพันธมิตรอย่างลับ ๆ เมื่อสถานีวิทยุบีบีซีแฉเรื่องนี้ในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์ก็สั่งปลดเขาจากทุกตำแหน่ง

และมีคำสั่งให้ตามจับกุมเขา หลังกรุงเบอร์ลินถูกโซเวียตตีแตก​ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ฮิมเลอร์ก็แฝงตัวเป็นพลเรือน

เดินทางไปอย่างไร้จุดหมาย เขาถูกด่านตรวจของโซเวียตกักตัวไว้ในวันที่ 21 พฤษภาคม และถูกส่งตัวให้กับหน่วยทหารอังกฤษ

ในเมืองลือเนอบวร์คในวันที่ 23 พฤษภาคม เขาถูกสอบสวนและรับสารภาพว่าตัวเองเป็นใคร ขณะที่ถูกแพทย์อังกฤษพิสูจน์

อัตลักษณ์นั่นเอง เขาก็กัดไซยาไนด์ที่ซ่อนไว้ในปากและเสียชีวิตลงในเวลา 15 นาที ร่างของเขาถูกเผาบริเวณใกล้กับเมือง

ลือเนอบวร์ค

แฮร์มัน วิลเฮ็ล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) 12 มกราคม ค.ศ. 1893 - 15 ตุลาคม ค.ศ. 1946

เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน

 (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริม

แสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหาร

ชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง 

และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์"

อ็อทโท อาด็อล์ฟ ไอช์มัน (Otto Adolf Eichmann :19 มีนาคม ค.ศ. 1906 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1962) 

เป็นชาวเยอรมัน-ออสเตรีย ที่ดำรงตำแหน่งยศเป็นเอ็สเอ็ส-โอเบอร์ชตวร์มบันน์ฟือเรอร์(พันโท) และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง

หลักของฮอโลคอสต์ "มาตรการสุดท้ายของปัญหาชาวยิว"ในศัพท์บัญญัติของนาซี เขาได้รับมอบหมายจาก

เอ็สเอ็ส-โอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์(พลเอก) ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ในการให้ความอำนวยสะดวกและจัดทำระบบการขนส่ง

ที่เกี่ยวข้องกับการเนรเทศชาวยิวจำนวนมากมายไปยังเขตเกตโตและค่ายมรณะในยุโรปตะวันออกที่ถูกนาซียึดครอง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไอช์มันถูกจับกุมโดยมอสซาด หน่วยสืบราชการลับอิสราเอลในอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 11 

พฤษภาคม ค.ศ. 1960 และต่อมาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีที่ได้ถูก

เปิดเผยอย่างกว้างขวางในกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเขาถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี ค.ศ. 1962

หลังจากทำงานอาชีพในโรงเรียนที่แสนจะธรรมดา ไอช์มันทำงานในช่วงสั้นๆให้กับบริษัทเหมืองแร่ของพ่อเขาในออสเตรีย

ซึ่งครอบครัวได้ย้ายออกไปในปี ค.ศ. 1914 เขาทำงานเป็นพนักงานขายน้ำมันให้แก่นักท่องเที่ยวโดยเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 

และเข้าร่วมทั้งพรรคนาซีและหน่วยเอ็สเอ็ส

ในปี ค.ศ. 1932 เขาได้เดินทางกลับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1933 ซึ่งเขาได้เข้าร่วมหน่วยซิชเชอร์ไฮทซ์ดีนสท์

 (เอสเด, "ทบวงอำนวยความปลอดภัย") ที่นั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกที่รับผิดชอบด้านกิจการของชาวยิว 

 โดยเฉพาะการอพยพย้ายถิ่นฐาน ซึ่งนาซีให้การส่งเสริมผ่านความรุนแรงและแรงกดดันทางเศรษฐกิจ ภายหลังการลุกลาม

ของสงครามโลกครั้งที่สองในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ไอช์มันและลูกน้องของเขาได้จัดให้ชาวยิวรวมตัวกระจุกตัวอยู

ในเขตเกตโตในเมืองใหญ่ ๆโดยคาดหวังว่าพวกเขาจะถูกขนส่งไปยังทางตะวันออกที่ไกลออกไปหรือโพ้นทะเล 

เขายังได้ร่างแผนสำหรับการสงวนชาวยิวครั้งแรกที่นิสโก ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์และต่อมาใน

เกาะมาดากัสการ์ แต่แผนเหล่านี้ไม่เคยถูกดำเนินการใด ๆ นาซีได้เริ่มการบุกครองสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 

และนโยบายชาวยิวของพวกเขาได้ถูกเปลี่ยนจากการอพยพมาเป็นการกำจัดแทน เพื่อร่วมมือวางแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 

ไฮดริช ซึ่งเป็นหัวหน้าของไอช์มัน ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมข้าราชการระดับสูงของรัฐบาลในการประชุมที่วันเซ 

เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1942 ไอช์มันได้รวบรวมข้อมูลให้แก่เขา ได้เข้าร่วมการประชุมและจัดเตรียมทำรายงาน

ในการประชุม ไอช์มันและลูกน้องของเขาต้องทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการเนรเทศชาวยิวไปยังค่ายมรณะ 

ซึ่งเหยื่อทั้งหมดถูกรมควันด้วยแก๊สพิษจนตาย เมื่อเยอรมนีบุกครองฮังการีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 และไอช์มันคอย

ควบคุมดูแลประชากรชาวยิวส่วนใหญ่ เหยื่อส่วนมากจะถูกส่งไปยังค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ ซึ่งราวประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์

ล้วนถูกสังหารเมื่อเดินทางมาถึง เมื่อถึงเวลาที่การขนส่งได้หยุดลงในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1944 จำนวน

ชาวยิว 437,000 คน จากจำนวนทั้งหมดในฮังการี 725,000 คน ต่างถูกสังหาร ดีเทอร์ วิสลีเซนีได้เป็นพยาน

ในการพิจารณาคดีที่เนือร์นแบร์กได้กล่าวว่า ไอช์มันได้บอกกับเขาว่า "จะกระโดดโลดเต้นและหัวเราะไปด้วยในหลุมศพ

 เพราะความรู้สึกที่ว่าเขามีผู้คนจำนวนห้าล้านคน ในจิตสำนึกของเขา น่าจะเป็นที่มาของความพึงพอใจที่ไม่ธรรมดาสำหรับเขา"

ภายหลังจากเยอรมนียอมจำนนในสงครามในปี ค.ศ. 1945 ไอช์มันถูกจับกุมโดยทหารสหรัฐ แต่หลบหนีออกจากค่ายกักขัง

และย้ายไปทั่วเยอรมนีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมอีกครั้ง เขาได้ลงเอยอยู่ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในโลเออร์ แซคโซนี ซึ่งเขาได้อาศัย

อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1950 เมื่อเขาได้ย้ายไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้เอกสารเท็จที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรที่กำกับ

โดยนักบวชคาทอลิกระดับบิชอปที่ชื่อว่า อาลอย์ส ฮูเดล ข้อมูลที่ถูกรวบรวมโดยมอสซาด หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอล

ได้รับการยืนยันตำแหน่งของเขาในปี ค.ศ. 1960 ทีมสายลับของมอสซาดและชิน แบ็ด เข้าจับกุมไอช์มันและ

นำตัวเขาไปยังอิสราเอลเพื่อรับการพิจารณาคดีในข้อหาทางอาญา 15 ข้อหา รวมทั้งอาชญากรรมสงครามต่อมนุษยชาติ

และอาชญากรรมต่อประชากรชาวยิว ในช่วงพิจารณาคดี เขาไม่ได้ปฏิเสธฮอโลคอสต์หรือบทบาทของเขาในการจัดตั้ง 

แต่กล่าวอ้างว่า เขาทำตามคำสั่งในระบบฟือเรอร์พรินซิพ("หลักการของผู้นำ") ของระบอบเผด็จการ เขาถูกตัดสิน

ว่ามีความผิดในทุกข้อกล่าวหาและถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1962 การพิจาณาคดี

ได้ถูกติดตามอย่างกว้างขวางในสื่อต่าง ๆ และต่อมาเป็นเรื่องราวในหนังสือหลาย ๆ เล่ม รวมทั้ง เรื่อง ไอช์มัน

ในเยรูซาเล็ม ของฮันนา อาเรินท์ ซึ่งอาเรินท์เป็นผู้บัญญัติศัพท์ว่า "ความธรรมดาสามัญของความชั่วร้าย" 

(the banality of evil) เพื่ออธิบายถึงไอช์มัน

ไรน์ฮาร์ท ทริสทัน อ็อยเกน ไฮดริช (Reinhard Tristan Eugen Heydrich )

 7 มีนาคม ค.ศ. 1904 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1942)

เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและสมรู้ร่วมคิดหลักในการล้างชาติโดยนาซี 

เขาเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็ส(ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระดับโอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์(เทียบเท่าพลโท)และเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ

สามัญ และยังเป็นหัวหน้าของทบวงกลางความมั่นคงไรช์(รวมทั้งทบวงตำรวจลับ, ทบวงตำรวจอาชญากรรม, ทบวงอำนวย

ความปลอดภัยและทบวงตำรวจความมั่นคง) นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้อารักขาไรช์ประจำโบฮีเมียและโมราเวีย 

(ในดินแดนสาธารณรัฐเช็ก) ไฮดริชทำหน้าที่เป็นประธานขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ

 (ICPO,หรือเป็นที่รู้จักคือตำรวจสากล) และเป็นประธานการประชุมวันน์เซในเดือนมกราคม 1942 ที่ได้วางมาตรการแผน

สำหรับทางออกของปัญหาชาวยิวคือทำการเนรเทศและสังหารหมู่ชาวยิวในยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครองนักประวัติศาสตร์

หลายคนได้กล่าวว่าเขาคือบุคคลที่มืดมนที่สุดในระดับสูงของนาซี[5][6][7] อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้อธิบายว่า เขาคือ

"บุรุษที่มีหัวใจดั่งเหล็ก" เขาเป็นผู้ก่อตั้งทบวงตำรวจความมั่นคง (ไซโพ) เขายังช่วยจัดอำนวยความสะดวกในเหตุการณ์ 

คืนกระจกแตก (Kristallnacht) ชุดปฏิบัติการโจมตีต่อต้านชาวยิวทั้งในเยอรมนีและดินแดนบางส่วนของออสเตรีย

ในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 ชุดปฏิบัติการโจมตีถูกดำเนินงานโดยหน่วยชตูร์มับไทลุง (SA) พร้อมอาสาสมัครพลเรือน 

และกลายเป็นเครื่องหมายสัญลักณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี เมื่อเขาได้ไปยังกรุงปราก, ไฮดริชได้พยายาม

ขจัดความขัดแย้งต่อการปกครองของนาซีเยอรมนีด้วยการทำลายล้างวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเช็ก รวมถึงการเนรเทศ

และประหารชีวิตสมาชิกกลุ่มต่อต้านของเช็ก เขายังเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงของหน่วยไอน์ซัทซกรุพเพน กองกำลังปฏิบัติ

การภารกิจพิเศษซึ่งได้เดินทางในการปลุกปั่นกองทัพเยอรมันและทำการสังหารหมู่ประชาชนกว่าสองล้านคน รวมไป

ถึงชาวยิวกว่า 1.3 ล้านคนด้วยการยิงเป้าและรมควันด้วยแก็สพิษ

ในวันที่ 27 พฤษภาคม 1942 ไฮดริชถูกลอบโจมตีบริเวณชายเมืองทางเหนือของปราก 

ไฮดริชได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในกรุงปราก การลอบโจมตีครั้งนี้ปฏิบัติ

โดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษของอังกฤษซึ่งได้ทำการฝึกทหารคอมมานโดชาวเช็กและชาวสโลวักที่ถูกส่ง

โดยรัฐบาลพลัดถิ่นเชคโกสโลวาเกียที่ต้องการสังหารเขาในปฏิบัติการแอนโธรพอยด์ ไฮดริชเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ

ในสัปดาห์ต่อมา หน่วยสืบราชการของนาซีได้เชื่อมโยงการลอบสังหารไปยังหมู่บ้านลิดยิตแซและแลฌากี ทั้งสองหมู่บ้าน

ถูกทำลายอย่างราบคาบ; ผู้ชายทั้งหมดและเด็กผู้ชายทุกคนอายุกว่า 16 ถูกยิงทิ้ง, และทั้งหมดแต่หนึ่งในจำนวนกำมือของ

ผู้หญิงและเด็กถูกเนรเทศและสังหารในค่ายกักกันของนาซี

รูด็อล์ฟ วัลเทอร์ ริชชาร์ท เฮ็ส (26 เมษายน 1894 – 17 สิงหาคม 1987) 

เป็นนักการเมืองคนสำคัญในนาซีเยอรมนี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1933 เขาดำรงตำแหน่ง

จนปี 1941 เมื่อเขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลก

ครั้งที่สองเขาถูกจับเป็นนักโทษและสุดท้ายถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพ รับโทษจำคุกตลอดชีวิต

เฮ็สสมัครเข้าเป็นทหารในกรมทหารปืนใหญ่สนามบาวาเรียที่ 7 เป็นทหารราบเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับบาดเจ็บ

หลายครั้งระหว่างสงครามและได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็กชั้นสองในปี 1915 ไม่นานก่อนสงครามยุติ เฮ็ส

ขึ้นทะเบียนเพื่อฝึกเป็นนักบิน แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทนี้ เขาออกจากกองทัพในเดือนธันวาคม 1918 

ด้วยยศร้อยโทสำรอง (Leutnant der Reserve)ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1919 เฮ็สสมัครเรียนในมหาวิทยาลัยมิวนิกที่

ซึ่งเขาศึกษาวิชาภูมิรัฐศาสตร์กับคาร์ล เฮาโชแฟร์ ผู้สนับสนุนมโนทัศน์เลเบนซเราม์ ("ที่อยู่อาศัย") 

ซึ่งต่อมากลายเป็นเสาหลักของอุดมการณ์พรรคนาซี เฮ็สเข้าร่วมพรรคนาซีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1920 

และร่วมกับฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1923 อันเป็นความพยายามของนาซีที่ล้มเหลว

เพื่อยึดรัฐบาลบาวาเรีย ระหว่างรับโทษจำคุกจากความพยายามรัฐประหารนี้ เฮ็สช่วยฮิตเลอร์เขียนงานของเขา ไมน์คัมพฟ์ 

ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานแนวนโยบายของพรรคนาซีเมื่อนาซียึดอำนาจในปี 1933 เฮ็สได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์

ของพรรคนาซีและได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์เขาเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดอันดับสามในประเทศเยอรมนี 

รองแต่เพียงฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง นอกเหนือจากการปรากฏตัวแทนฮิตเลอร์ในการปราศรัยและชุมนุม 

เฮ็สลงนามผ่านกฎหมายหลายฉบับซึ่งรวมกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1935 ซึ่งถอดสิทธิของชาวยิวในประเทศเยอรมนี

นำไปสู่ฮอโลคอสต์เฮ็สยังสนใจการบิน โดยเรียนบินอากาศยานที่ซับซ้อนขึ้นซึ่งมาพัฒนาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ 

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1941 เขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเขาหวังจัดการเจรจาสันติภาพกับดุ๊กแฮมิลตัน 

ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคนสำคัญในฝ่ายค้านของรัฐบาลอังกฤษ เฮ็สถูกจับกุมทันทีที่มาถึงและถูกอังกฤษควบคุมตัวจนสิ้นสงคราม

(หลังจากฮิตเลอร์ได้ทราบการกระทำของเฮ็สทำให้เขาโกรธมากและทำการปลดเขาออกจากรองฟือเรอร์และ

ได้แต่งตั้งมาร์ติน บอรมันแทน) เมื่อเขากลับประเทศเยอรมนีเพื่อรับการไต่สวนในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กอาชญากร

สงครามคนสำคัญในปี 1946 ตลอดการไต่สวน เขาอ้างว่าป่วยเป็นภาวะเสียความจำ แต่ภายหลังรับว่าเป็นอุบาย เฮ็ส

ถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพและคบคิดกับผู้นำเยอรมันอื่นเพื่อก่ออาชญากรรมและถูกย้ายไป

เรือนจำซแพนเดาในปี 1947 ซึ่งเขารับโทษจำคุกตลอดชีวิต ความพยายามซ้ำ ๆ ของสมาชิกครอบครัวและนักการเมือง

คนสำคัญเพื่อให้ปล่อยตัวเขาถูกสหภาพโซเวียตขัดขวาง ขณะยังถูกควบคุมตัวในซแพนเดา เขาเสียชีวิตโดยดูเหมือน

ฆ่าตัวตายในปี 1987 เมื่ออายุ 93 ปี หลังเสียชีวิต เรือนจำถูกทำลายเพื่อมิให้กลายเป็นที่บูชาของนีโอนาซี

Johannes Erwin Eugen Rommel (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1891 - 14 ตุลาคม ค.ศ. 1944) 

เป็นนายพลและนักทฤษฎีการทหารชาวเยอรมัน เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเป็นจิ้งจอกทะเลทรายเขาทำหน้าที่เป็นจอมพลใน

Wehrmacht (กองกำลังติดอาวุธ) ของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเช่นเดียวกับการให้บริการในReichswehr

ของสาธารณรัฐไวมาร์และกองทัพของจักรวรรดิเยอรมนี

Rommel เป็นเจ้าหน้าที่ได้รับการตกแต่งอย่างสูงในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและได้รับรางวัลเทเลอMérite การกระทำของ

เขาในอิตาลีด้านหน้าในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือคลาสสิกของเขาเกี่ยวกับยุทธวิธีทางทหารInfantry Attacks

โดยเล่าถึงประสบการณ์ของเขาในสงครามครั้งนั้น ในสงครามโลกครั้งที่สองเขารู้จักตัวเองเป็นผู้บัญชาการของกอง

ยานเกราะที่ 7 ในช่วง1940การรุกรานของฝรั่งเศส ความเป็นผู้นำของกองกำลังเยอรมันและอิตาลีในการรณรงค์

ในแอฟริกาเหนือสร้างชื่อเสียงให้กับเขาในฐานะหนึ่งในผู้บัญชาการรถถังที่เก่งที่สุดในสงครามและทำให้เขาได้รับฉายา

ว่าเดอร์วูสเตนฟุคส์ "จิ้งจอกทะเลทราย" 

ในบรรดาศัตรูชาวอังกฤษของเขาเขามีชื่อเสียงในเรื่องความกล้าหาญและวลี "สงครามปราศจากความเกลียดชัง" ของเขา

ถูกใช้เพื่ออธิบายการรณรงค์ในแอฟริกาเหนือ[2]นักประวัติศาสตร์หลายคนได้ปฏิเสธวลีนี้ในฐานะตำนานและได้ค้นพบ

ตัวอย่างของอาชญากรรมสงครามและการทารุณกรรมทั้งต่อทหารศัตรูและประชากรพื้นเมืองในแอฟริกาในช่วงความขัดแย้ง

นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อมโยงรอมเมลกับอาชญากรรมสงครามแม้ว่านี่จะไม่ใช่ความเห็นของคนส่วนใหญ่ก็ตามนัก

ประวัติศาสตร์คนอื่นๆทราบว่าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ารอมเมลมีส่วนเกี่ยวข้องหรือรู้เห็นกับอาชญากรรมเหล่านี้ 

(แม้ว่าแครอนและมึลเนอร์จะชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จทางทหารของเขาทำให้อาชญากรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้) 

โดยมีบางคนชี้ให้เห็นว่าสงครามในทะเลทรายขณะที่รอมเมลและฝ่ายตรงข้ามต่อสู้กันยังคงใกล้เคียงกับการต่อสู้ที่บริสุทธิ์เหมือน

ในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้บัญชาการกองกำลังเยอรมันที่ต่อต้านการรุกรานข้ามช่องทางของฝ่ายสัมพันธมิตร

ในนอร์มังดีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944

เมื่อนาซีเข้ามามีอำนาจในเยอรมนีรอมเมลค่อย ๆ ยอมรับระบอบการปกครองใหม่โดยนักประวัติศาสตร์ให้เรื่องราว

ที่แตกต่างกันเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจงและแรงจูงใจของเขา โดยทั่วไปเขาถือว่าเป็นผู้สนับสนุนและเป็นเพื่อนสนิท

ของอดอล์ฟฮิตเลอร์อย่างน้อยก็จนถึง ใกล้สิ้นสุดสงครามหากไม่จำเป็นต้องเห็นอกเห็นใจพรรคและกองกำลังทหารที่เกี่ยว

ข้องจุดยืนของเขาต่ออุดมการณ์ของนาซีและระดับความรู้เกี่ยวกับความหายนะยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในหมู่นักวิชาการ

ในปี ค.ศ. 1944 รอมเมลมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์ในวันที่20 กรกฎาคมเนื่องจากสถานะของรอมเมล

ในฐานะวีรบุรุษของชาติฮิตเลอร์จึงต้องการกำจัดเขาอย่างเงียบ ๆ แทนที่จะประหารชีวิตเขาทันทีเหมือนที่วางแผนไว้

อีกหลายคน รอมเมลได้รับทางเลือกระหว่างการฆ่าตัวตายเพื่อตอบแทนความมั่นใจว่าชื่อเสียงของเขาจะยังคงอยู่และ

ครอบครัวของเขาจะไม่ถูกข่มเหงหลังจากการตายของเขาหรือต้องเผชิญกับการพิจารณาคดีที่จะส่งผลให้เขาอับอายขายหน้า

และถูกประหารชีวิต; เขาเลือกที่จะฆ่าตัวตายอดีตและมุ่งมั่นที่ใช้ยาไซยาไนด์ รอมเมลได้รับศพของรัฐและมีการประกาศ

ว่าเขายอมจำนนต่อการบาดเจ็บจากการถูกรถชนของเจ้าหน้าที่ในนอร์มังดี

 รอมเมลได้กลายเป็นบุคคลที่มีขนาดใหญ่กว่าชีวิตทั้งในการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายสัมพันธมิตรและนาซีและในวัฒนธรรม

สมัยหลังสงครามโดยมีผู้เขียนหลายคนคิดว่าเขาเป็นผู้บัญชาการที่เหี้ยนเตียนที่ยอดเยี่ยมและเป็นเหยื่อของอาณาจักรไรช์ที่สามแม้ว่า

การประเมินนี้จะโต้แย้งโดยผู้เขียนคนอื่น ๆ ว่าตำนาน Rommelชื่อเสียงของรอมเม็ลสำหรับการทำสงครามที่สะอาดถูก

นำมาใช้ในความสนใจของเยอรมันตะวันตกติดอาวุธที่ดีและความสมานฉันท์ระหว่างอดีตศัตรู สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

ในด้านหนึ่งและใหม่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในที่อื่น ๆ อดีตผู้ใต้บังคับบัญชาของรอมเมลหลายคนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

หัวหน้าพนักงานของเขาฮันส์สเปเดลมีบทบาทสำคัญในการติดอาวุธใหม่ของเยอรมันและการรวมเข้ากับNATO

ในยุคหลังสงคราม ฐานทัพทหารที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพเยอรมันคือจอมพลรอมเมลบาร์แรคส์ออกุสดอร์ฟได้รับการตั้งชื่อ

เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

ไฮนทซ์ วิลเฮ็ล์ม กูเดรีอัน (มิถุนายน ค.ศ. 1888 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1954) 

เป็นนายพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งภายหลังสงคราม ได้กลายเป็นนักบันทึกที่ประสบความสำเร็จ 

แต่ก่อนเป็นผู้บุกเบิกและสนับสนุนการโจมตีแบบ"สายฟ้าแลบ"(บลิทซ์ครีค) เขามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาแนวคิด

กองพลยานเกราะ ในปี ค.ศ. 1936 เขาได้กลายเป็นผู้ตรวจการกองกำลังยานยนต์

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง กูเดรีอันได้นำกองพลน้อยยานเกราะในการบุกครองโปแลนด์ ในช่วงการบุกครอง

ฝรั่งเศส เขาได้บัญชาการหน่วยยานเกราะที่เข้าโจมตีผ่านป่าอาร์แดนและเอาชนะการป้องกันของฝ่ายสัมพันธมิตรที่

ยุทธการเซอด็องเขาได้นำกองทัพยานเกราะที่สอง ในช่วงปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา การบุกครองสหภาพโซเวียต 

การทัพได้ยุติลงด้วยความล้มเหลว ภายหลังจากเยอรมันได้ทำการรุกด้วยปฏิบัติการไต้ฝุ่นได้ล้มเหลวในการเข้ายึดกรุงมอสโก

ซึ่งหลังจากนั้นกูเดรีอันได้ถูกปลดออก

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1943 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งกูเดรีอันให้ดำรงตำแหน่งนายพลผู้ตรวจการของกองกำลังยานเกราะ

ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ ในบทบาทนี้ เขาได้รับผิดชอบอย่างกว้างขวางในการสร้างและฝึกกองกำลังยานเกราะใหม่ 

แต่ประสบความสำเร็จที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเศรษฐกิจสงครามของเยอรมนีที่เลวร้ายลง กูเดรีอัน

ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการของกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกในทันที 

ภายหลังจากแผนลับ 20 กรกฎาคม ที่จะลอบสังหารฮิตเลอร์

กูเดรีอันได้วางตัวอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของ"ศาลอันทรงเกียรติยศ" โดยฮิตเลอร์ ซึ่งในผลพวงของแผนลับนั้น 

ได้ถูกใช้เพื่อปลดคนออกจากกองทัพ ซึ่งพวกเขาจะถูกนำตัวมาพิจารณาคดีใน "ศาลประชาชน" และถูกประหารชีวิต 

เขาได้เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของฮิตเลอร์ในแนวรบด้านตะวันออกและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบอบนาซี 

กองกำลังทหารของกูเดรีอันได้ดำเนินตามคำสั่งคอมมิสซาร์ที่เป็นอาชญากรรมในช่วงบาร์บาร็อสซา

และเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการการโต้กลับในภายหลังจากการก่อการกำเริบในกรุงวอร์ซอในปี ค.ศ. 1944

กูเดรีอันได้ยอมจำนนต่อกองกำลังสหรัฐ เมื่อวันที 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และถูกคุมขังจนถึงปี ค.ศ. 1948 

เขาได้รับการปล่อยตัวโดยปราศจากการถูกตั้งข้อหาใด ๆ และเกษียณอายุเพื่อเขียนบันทึกความทรงจำของเขา

 ในชื่อเรื่องว่า ผู้นำยานเกราะ (Panzer Leader) หนังสืออัตชีวประวัติได้กลายเป็นหนังสือที่ขายดี 

ซึ่งได้มีการอ่านกันอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ งานเขียนของกูเดรีอันได้ส่งเสริมเรื่องปรัมปราหลายเรื่อง 

รวมทั้งเรื่อง "แวร์มัคท์บริสุทธิ์" ในอัตชีวประวัติของเขา กูเดรีอันได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเองเป็นเพียง

ผู้ริเริ่มกองกำลังยานเกราะของเยอรมัน เขาได้เว้นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของเขากับฮิตเลอร์และระบอบนาซีหรือ

อาชญากรรมสงคราม กูเดรีอันได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1954 และศพถูกฝังในเมืองกอสลาร์

พลเอกอาวุโส อัลเฟรท โยเซ็ฟ แฟร์ดีนันท์ โยเดิล (Alfred Josef Ferdinand Jodl)

เป็นนายทหารบกเยอรมัน ดำรงตำแหน่งเสนาธิการอำนวยการกองทัพแห่งแวร์มัคท์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 

เขารับมอบอำนาจจากประธานาธิบดีคาร์ล เดอนิทซ์ เพื่อได้ลงนามตราสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตร 

ในปีค.ศ. 1945ภายหลังสงครามสิ้นสุด โยเดิลมีความผิดในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการกระทำอาชญากรรมต่อสันติภาพ, 

การวางแผนการเริ่มต้นและขับเคี่ยวสงครามรุกราน, อาชญากรรมสงคราม และก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ 

ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค   การสืบสวนสอบสวนเอกสารหลักฐานพบว่ามีความผิดจริง 

จึงถูกตัดสินโทษให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1946

อิตาลี

เบนีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) 

29 กรกฎาคม ค.ศ. 1883      28 เมษายน ค.ศ. 1945

เป็นนักการเมืองชาวอิตาลีและนักเขียนข่าวที่เป็นผู้นำของพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ เขาได้ขึ้นปกครองอิตาลีในฐานะ

นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 ถึง 1943 เขาได้กลายเป็นผู้นำประเทศจนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 เมื่อเขาได้ทำลายการหลอก

ลวงของระบอบประชาธิปไตยและสร้างระบอบเผด็จการเป็นที่รู้จักกันในฐานะ"อิลดูเช"(ท่านผู้นำ), มุสโสลินีได้เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิ

ฟาสซิสต์อิตาลี ภายหลังการเดินขบวนสู่โรมในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1922 มุสโสลินีได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลี

มุสโสลินีและผู้ติดตามของเขาได้รวบรวมอำนาจผ่านหนึ่งในกฎหมายที่เปลี่ยนประเทศให้เป็นระบอบเผด็จการพรรคการเมือง

เดียว ภายในห้าปีที่ผ่านมา มุสโสลินีได้จัดตั้งอำนาจเผด็จการด้วยวิธีทั้งทางกฎหมายและวิธีที่ไม่ธรรมดาและต้องการที่จะสร้างรัฐ

ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ในปี ค.ศ. 1929 มุสโสลินีได้ลงนามสนธิสัญญาลาเตรันกับนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดในช่วง

หลายทศวรรษของการสู้รบระหว่างรัฐอิตาลีและพระสันตะปาปาและได้ยอมรับการเป็นรัฐอิสระของนครวาติกัน

ปี ค.ศ. 1935-1936 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง การรุกรานครั้งนี้ได้

ถูกประณามโดยมหาอำนาจตะวันตกและตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิตาลี ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและ

อิตาลีที่ดีขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนของฮิตเลอร์ในการรุกราน มุสโสลินีได้ยอมรับให้ประเทศออสเตรียอยู่ภายใต้เขตอิทธิพล

ของเยอรมนี, ได้ลงนามสนธิสัญญาในการร่วมมือกับเยอรมนีและประกาศก่อตั้ง อักษะ โรม-เบอร์ลิน

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึง 1939 มุสโสลินีได้ส่งทหารจำนวนมากไปให้การสนับสนุนแก่กองกำลังของฟรังโกในสงครามกลาง

เมืองเสปน

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้าไปยังกรีซ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอิตาลี-กรีซ 

การรุกรานครั้งนี้ล้มเหลวและหลังจากกรีซได้โจมตีตอบโต้กลับผลักดันอิตาลีกลับไปยังเขตยึดครองแอลเบเนีย การล่มสลาย

ของกรีซและพร้อมกับความปราชัยต่อบริติซในแอฟริกาเหนือทำให้อิตาลีต้องพึ่งพาเยอรมนี

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเพื่อเข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ประกาศ

สงครามต่อสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม ในปี ค.ศ. 1943 ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพแดงได้ทำลายกองทัพอิตาลีในรัสเซีย

อย่างราบคาบ

ในเดือนพฤษภาคม, ฝ่ายอักษะถูกขับไล่ออกจากแอฟริกาเหนือ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม, ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองเกาะซิซิลี 

และเมื่อถึงวันที่ 16 ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าการรุกรานในช่วงฤดูร้อนในสหภาพโซเวียตล้มเหลว ด้วยผลที่ตามมา, เมื่อวันที่ 25 

กรกฎาคม สภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ได้ลงมติไม่ไว้วางใจต่อมุสโสลินี วันต่อมา กษัตริย์ได้ปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้นำ

คณะรัฐบาลและควบคุมตัวเขาให้อยู่ในความดูแล เพื่อแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโยขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนต่อจากเขา 

มุสโสลินีได้รับการปลดปล่อยจากที่คุมขังในการตีโฉบฉวยแกรน์ แซสโซโดยทหารโดดร่มเยอรมันและหน่วยคอมมานโด

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สภายใต้การนำโดยพันตรี Otto-Harald Mors

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้คอยให้ความช่วยเหลือให้มุสโสลินีเข้าไปปกครองในรัฐหุ่นเชิดทางภาคเหนือของอิตาลี สาธารณรัฐ

สังคมอิตาลี(อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI) เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐซาโล 

ในช่วงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะที่ความพ่ายแพ้ทั้งหมดได้ใกล้เข้าถึง มุสโสลินีและอนุภรรยาของเขา

คลาล่า แปตะชิ ได้พยายามหลบหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์ แต่ทั้งคู่ถูกจับกุมโดยพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีและถูกประหารชีวิต

อย่างรวบรัดโดยชุดทีมยิงเป้า เมื่อวันที่ 28 เมษายน ใกล้กับทะเลสาบโกโม ร่างของเขาถูกนำไปยังเมืองมิลาน ซึ่งที่นั้นได้ถูกแขวน

ประจานไว้ที่หน้าสถานที่ราชการเพื่อเป็นการยืนยันการตายของเขาแก่สาธารณชน

ปีเอโตร บาโดลโย ดยุคที่ 1 แห่งอาดดิสอาบาบา มาร์ควิสที่ 1 แห่งซาโบตีโน (Pietro Badoglio 28 

กันยายน ค.ศ. 1871 - 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956) 

เป็นนักการเมืองเป็นสมาชิกพรรคฟาสซิสต์และเป็นนายพลสังกัดกองทัพแห่งราชอาณาจักรอิตาลีภายใต้ยุคเผด็จการของ

นายกรัฐมนตรีเบนิโต มุสโสลินีผลงานอันยอดเยี่ยมของเขาในสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง

 

หมายเลขบันทึก: 698708เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2022 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2022 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท