การเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ของประเทศไทย


การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1ของประเทศไทย

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถพิจารณาเหตุการณ์ อย่างละเอียดรอบคอบ 

ทรงนำประเทศเข้าร่วมสงคราม ในวันที่ 22กรกฎาคม พุทธศักราช 2460 (ค.ศ. 1917) 

โดยประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร อันมี ฝรั่งเศส อังกฤษและอเมริกา เป็นการแสดงให้รู้เห็นว่าไทยไม่เข้าข้าง

ฝ่ายผิดเยอรมัน  ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสกับอังกฤษจะเคยเอาเปรียบไทยในการบีบบังคับให้ไทยยกดินแดนให้ในอดีต 

เรื่องนี้ย่อมเกิดจากพระปรีชาสามารถ แสดงให้เห็นความ ชาญฉลาดรอบคอบขององค์พระประมุข 

ที่ทรงตัดสินพระทัยคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้อง ในการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรรบกับฝ่ายเยอรมัน

ผู้บังคับบัญชาในสงครามโลกครั้งที่ 1

จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ 

เสนาธิการทหารบก ทรงอำนวยการ และบังคับบัญชากองทหาร

พลตรี พระยาพิชัยชาญฤทธิ์(ผาด เทพหัสดิน ณ กรุงเทพ)หัวหน้าคณะทูตทหารไทย 

ผู้เปรียบเสมือนพระหัตถ์ขวาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสงครามโลกครั้งที่ 1

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) ผู้บังคับบัญชากองทหารอาสา

กองทหารที่ส่งไปร่วมรบ

กองทหารที่ส่งไปร่วมรบในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กอง และ 1 หมวดพยาบาล คือ

1. กองบินทหารบก (ปัจจุบัน คือกองทัพอากาศ )มี พ.ต.หลวงทยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต) เป็นผู้บังคับบัญชา

2. กองทหารบกรถยนต์ (ปัจจุบัน คือกรมการขนส่งทหารบก) มี ร.อ.หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี)เป็นผู้บังคับบัญชา

 

3. หมวดพยาบาล มี ร.ต.ชุ่ม จิตต์เมตตา เป็นผู้บังคับหมวด กองทหารดังกล่าว อยู่ในบังคับบัญชาของ 

พ.อ.พระเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณ ประทีป)   ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองทหารในสงครามครั้งนี้

กองบินทหารบกได้มีการฝึกอบรมในระหว่างที่ยังอยู่กรุงเทพ ฯ โดยแบ่งทหารเป็นกองย่อย 3 กอง คือ
- กองบินใหญ่ที่ 1 (กองบินขับไล่) มี ร.อ.ปลื้ม สุคนธสาร เป็นผู้บังคับกอง
- กองบินใหญ่ที่ 2 (กองบินลาดตระเวน) มี ร.ท.เหม ยศธร เป็นผู้บังคับกอง
- กองบินใหญ่ที่ 3 (กองบินทิ้งระเบิด) มี พ.ต.หลวงทยานพิฆาต เป็นผู้บังคับกอง

ในกองบินใหญ่แต่ละกอง มีผู้บังคับบัญชา และพลทหาร นักบิน ช่างเครื่องยนต์ แพทย์ และพลพยาบาลประจำ ประมาณ 135 คน 

รวมทั้ง 3 กองบินใหญ่ มีพลประมาณ 500 คนเศษ สำหรับกองทหารบกรถยนต์ มีกำลังพลทั้งหมดประมาณ500 คนเศษ

สำหรับกองทหารบกรถยนต์ มีกำลังพลทั้งหมดประมาณ 850 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ 

8 กอง แต่ละกองมี นายทหาร นายสิบ และพลทหาร ประมาณ 100 คน ดังนี้
- กองร้อยที่ 1 มี ร.ท.หม่อมเจ้า นิตยากร วรวรรณ เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 2 มี ร.ท.เอิบ รักประเทศ เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 3 มี ร.ท.ม.ล.ดวง สุทัศน์ เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 4 มี ร.ท.ศรี ศุขะวาที เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 5 มี ร.ท.แม้น เหมะจุฑา เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 6 มี ร.ต.พล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 7 มี ร.ท.มุ่ย มังคลานนท์ เป็นผู้บังคับกอง
- กองร้อยที่ 8 มี ร.ต.ชุ่ม จิตต์เมตตา เป็นผู้บังคับกอง

เมื่อได้รับการฝึกหัดในประเทศไทยเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ในวันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2461 กองทหารได้ออก

เดินทางจากกรุงเทพ ฯ โดยเรือศรีสมุทรลำเลียงทหารอาสาไปส่งขึ้นเรือเอ็มไพร์ท เกาะสีชัง เดินทางออกจากประเทศไทย 

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พุทธศักราช 2461 ใช้เวลาเดินทาง 41 วัน  จากนั้น กองทหารอาสาได้แยกย้ายกันไปรับการฝึกหัด

เพิ่มเติมกองบินทหารบก เข้าที่ตั้งที่เมืองอีสตร์ส (ISTRES) ทำการฝึกภาคพื้นดินสำเร็จการฝึก เมื่อวันที่ ๑ กันยายน 

พุทธศักราช ๒๔๖๑ ได้เดินทางไปฝึกการบินที่เมืองโป (PAU)ต่อและฝึกทิ้งระเบิดที่ทะเลใกล้เมืองซังต์ราฟาเอล 

(ST.RAPHA - L)ในการฝึกของกองบินทหารบกครั้งนี้ สิบโท โทน บินดี ทหารอาสาของไทยได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงแก่

ทหารไทย ต่างชาติยกย่องมาก สิบโท โทนฯสำเร็จการบินผาดแผลงคนแรก ในศิษย์การบินหลายชาติ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

ต่อมา ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นร้อยเอกหลวง สันทัดยนตกรรม เป็นผู้เชี่ยวชาญในหลาย ๆด้าน 

เป็นผู้ควบคุมการสร้างสนามบิน กองบินน้อยที่ 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสนามบินโคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี 

และเป็นครูฝึกสอนการบินขับไล่ แก่ หลวงเทวฤทธิ์พันลึก

กองทหารบกรถยนต์

กองทหารบกรถยนต์ เมื่อเดินทางถึงฝรั่งเศส ได้เข้าที่ตั้งขั้นต้นทำการฝึกเพิ่มเติมที่เมืองลีออง (LYON) และเมืองดรูดอง 

(DOURDAN) รับสิ่งอุปกรณ์ครั้งสุดท้ายที่เมืองตรัวยส์ (TROYES) และเคลื่อนที่เข้าสู่ยุทธบริเวณ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 

พุทธศักราช 2461

การปฏิบัติการรบ

ทหารไทยได้ไปปฏิบัติการรบสนับสนุนกองทัพบกฝรั่งเศส และ ได้รบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารชาติสัมพันธมิตรอย่างกล้า

หาญองอาจ เข้าสู่ยุทธบริเวณในย่านกระสุนตก ท่ามกลางหิมะหนาวเหน็บ นอกจากนั้นกองทหารบกรถยนต์ ยังได้ลำเลียงทหาร

สัมพันธมิตรข้ามแม่น้ำไรน์(RHINE) ที่เมืองไมน์ส (MAINZ) เข้ายึดดินแดนเยอรมัน ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำไรน์ได้สำเร็จ

สงครามยุติ

รัฐบาลฝรั่งเศส ได้มอบตรา “ครัวซ์เดอแกร์”(Croix de huerre) ประดับธงชัยเฉลิมพลของกองทหารบกรถยนต์ และ

นายทหารในกองทหารบกรถยนต์ เพื่อเป็นเกียรติยศการฉลองชัยชนะ และกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้เดินสวนสนามฉลองชัยชนะ ณ เมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้ด้วย

วันที่ 14 กรกฎาคม พุทธศักราช 2462 ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะผ่านประตูชัยที่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส 

ร้อยเอก หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี) ต่อมาเป็น พันโท พระอาสาสงคราม ผู้บังคับกอง ทหารรถยนต์

เดินนำแถวทหารที่อัญเชิญธงชัยเฉลิมพล

ในการไปราชการสงครามในทวีปยุโรป ทหารอาสาเสียชีวิต 19 นาย ได้ฝังไว้ ณ ตำบล ดายูเบ คูรท์ (Jube Court) 

ในยุทธบริเวณประเทศฝรั่งเศส และได้ทำการฌาปนกิจที่สุสาน ประเทศเยอรมันนี เมื่อสงครามสงบแล้วได้อัญเชิญอัฐิทหาร

อาสาทั้ง 19 นาย มาบรรจุ ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา ที่บริเวณทิศเหนือของท้องสนามหลวง

ผลที่ไทยได้รับจากสงครามโลกครั้งที่ 1

ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ในการเข้าร่วมสงคราม ดังนี้

1. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศ

2. ได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์

3. มีโอกาสแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และอเมริกา

4. ได้รับเชิญเป็นสมาชิกเริ่มแรกขององค์การสันนิบาตชาติ เป็นการยกฐานะของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

5. กองทหารบกรถยนต์และกองบินทหารบก ได้นำความรู้จากการฝึกและปฏิบัติทางยุทธวิธีมาใช้ปรับปรุงกองทัพในระยะต่อมา
6. ได้ใช้เรือสินค้าที่ยึดได้ในประเทศไทย มาจัดตั้งกองเรือพานิชย์นาวี และพัฒนาเป็นบริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด
7. มีการเปลี่ยนเครื่องแบบจากเดิม ซึ่งเป็นเครื่องแบบ ๒ สี ของเยอรมันนีมาเป็นสีกากีแกมเขียวแบบฝรั่งเศส
8. มีการเปลี่ยนหลักนิยม ตลอดจนตำรายุทธวิธีทางการทหารแบบเยอรมันนี เป็นแบบฝรั่งเศส

 

                                                                        อนุสาวรีย์ทหารอาสา

หมายเลขบันทึก: 698525เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2022 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2022 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท