อารยธรรมโรมัน


อารยธรรมโรมัน

สมัยสาธารณรัฐ

               พวกอิทรัสกันอพยพเข้าสู่แหลมอิตาลีได้นำเอาอารยธรรมและความเชื่อของกรีกได้เข้ามาปกครองแบบสาธารณรัฐ มีพระมหากษัตริย์มีประมุข

               มีรัฐสภาในการปกครองเรียกว่าอิมพีเรียม (Imperium) 

               มีสภาซีเนตหรือสภาขุนนางเป็นที่ปรึกษาชนชั้นปกครองเป็นพวกพาทรีเซียน(patrician) 

               ประชาชนทั่วไปเรียกว่า เพลเบียน (plebeian)

                                                            สภาซีเนตหรือสภาขุนนาง

         ต่อมาทั้งสองกลุ่มได้เกิดการขัดแย้งกันขึ้น จึงได้มีการออกกฏหมายที่เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tables) เพื่อใช้บังคับกับชาวโรมันทุกคน(รวบกฎหมายเป็นหมวดหมู่และจารึกลงบนโต๊ะทองเหลือง)

         กฎหมายสิบสองโต๊ะถือเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโรมที่เป็นแม่แบบของกฎหมาย ของโลกตะวันตก

        โต๊ะที่ 1 โต๊ะที่ 2 และ โต๊ะที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่งและการบังคับคดี เช่น 

        ถ้าหากคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลก่อนเที่ยงวัน ก็ให้ศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดี ถ้าหากคู่ความฝ่ายใดหาพยานไม่ได้ก็ให้ร้องตะโกนดังๆ ที่ประตูบ้านของตน เพื่อแสวงหาพยาน ในคดีที่จำเลยยอมรับใช้หนี้สินหรือในคดีที่ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน ก็ให้จำเลยชำระเงินภายใน 30 วัน

        โต๊ะที่  4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้าครอบครัว เช่น

        บิดาระหว่างที่มีชีวิตมีอำนาจเด็ดขาดเหนือบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย บิดาอาจกักขังบุตรหรือเฆี่ยนตีหรือล่ามโซ่ ให้ทำงานหรือมีเหตุไม่ชอบใจจะฆ่าบุตรเสียก็ได้ ตลอดจนจะเอาบุตรไปขายเสียก็ได้ทารกคลอดออกมารูปร่างผิดปกติมากจะเอาไปฆ่าเสียก็ได้

       โต๊ะที่ 5 โต๊ะที่  6และ โต๊ะที่ 7 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมรดก และทรัพย์สิน เช่น

        ชายผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวตายลงโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ให้ญาติฝ่ายชาย ที่ใกล้ชิดที่สุดเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อไป  ถ้าชายอิสระตายลงโดยไม่มีผู้สืบสันดาน (ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน) ให้ทรัพย์สินของชายคนนั้นตกแก่ผู้อุปถัมภ์ผลไม้หล่นตกไปในบ้านของผู้อื่น เจ้าของต้นผลไม้ยังคงเป็นเจ้าของผลไม้นั้นอยู่

       โต๊ะที่  8 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา เช่น

        ผู้ใดทำการโฆษณาหมิ่นประมาทว่าเขาทำผิดทางอาญาหรือทางลามกอนาจาร ให้เอาผู้นั้นไปตีเสียให้ตาย 

ผู้ใดลักทรัพย์เวลาค่ำคืน ให้เอาไปฆ่าเสีย ผู้ใดวางเพลิงบ้านเรือนเขาหรือกองข้าวสาลีของเขา ให้เอามาผูกแล้วเฆี่ยนและ

เผาเสียทั้งเป็น แต่ถ้าเกิดขึ้นด้วยความประมาท ให้เสียเงินค่าทำขวัญแล้วลงโทษพอควร สัตว์สี่เท้าของผู้ใดเข้าไปทำให้ที่ดินเขาเสียหาย เขาจับยึดตัวสัตว์นั้นไว้เป็นของ เขาได้ เว้นแต่เจ้าของสัตว์จะเสียเงินค่าไถ่ถอนกลับคืนมาตามราคาค่าเสียหาย

        โต๊ะที่  9 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของรัฐ เช่น 

        กฎหมายใดๆ จะก่อให้เป็นแต่ทางเสียหายอย่างเดียวแก่เอกชนนั้นห้ามไม่ให้มีผลบังคับใช้ รัฐสภาเท่านั้นที่มีอำนาจออกกฎหมายที่กระทบกระเทือนถึงสถานะของบุคคลได้

       โต๊ะที่  10 เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายของศาสนา เช่น 

ห้ามไม่ให้ฝังหรือเผาศพในเขตพระนคร  ห้ามมิให้หญิงขีดข่วนแก้ม ร้องไห้เกรียวกราวในงานศพ

      โต๊ะที่  11 และ โต๊ะที่  12 เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายเพิ่มเติม เช่น 

ห้ามมิให้บุคคลต่างชั้นวรรณะทำการสมรสกัน เมื่อทาสทำการลักทรัพย์ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เขา

นายทาสต้องรับชดใช้ค่าเสียหายหรือส่งมอบตัวทาสให้เขาไป  กฎหมายที่ออกมาภายหลังย่อมยกเลิกกฎหมายเดิมที่มี

ข้อความขัดแย้งกัน

สมัยจักรวรรดิ

        ออกุสตุส(Augustus)ได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐมาระบอบจักรวรรดิและตั้งตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิหรือซีซาร์(Caerar)พระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน

 

               ในสมัยนี้โรมันเจริญถึงขีดสุดละได้ขยายอำนาจไปยังภูมิภาคต่างๆและเมื่อศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายมาถึงดินแดน ทางภาคตะวันตกของปาเลสไตน์ 

               ในสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชพระองค์ (Constantine the Great) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาทำให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิในเวลาต่อมา

จักรวรรดิโรมันแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 

              จักรดิวรรดิโรมันตะวันตกศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม

              จักรดิวรรดิโรมันตะวันออกศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล  (ปัจจุบันคือนครอิสตันบูลในประเทศตุรกี) 

              ต่อมาเรียกว่าจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์(Byzantine)

              ในปีค.ศ.476จักรวรรดิโรมันตะวันตกเผชิญปัญหาภายในทำให้ถูกพวกอนารยชนเผ่าเยอรมันหรือเผ่ากอธเข้าปล้นสะดมและขับไล่กษัตริย์ออกจากบัลลังก์ถือเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมันตะวันตกและประวัติศาสตร์สมัยโบราณ

มรดกของอารยธรรมโรมัน

สถาปัตยกรรม
       เน้นความใหญ่โต แข็งแรงทนทาน โดยชาวโรมันได้พัฒนาเทคนิคการก่อสร้างของกรีกเป็นประตูโค้ง (arch)และเปลี่ยนหลังคาจากจั่วเป็นโดมและสร้างอาคารต่างๆเพื่อสนองความต้องการของรัฐและสาธาณชน เช่น โคลอเซียม  สถานที่อาบน้ำสาธารณะ วิหารแพนธีออน (Pantheon)

                                                                    วิหารแพนธีออน (Pantheon)

ประติมากรรม
              สะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสมจริงตามธรรมชาติ และมีสัดส่วนงดงามเหมือนกรีก แต่โรมันจะเน้นพัฒนาศิลปะด้านการแกะสลักรูปเหมือนบุคคลสำคัญๆ เช่น จักรพรรดิ นักการเมือง โดยเฉพาะในครึ่งท่อนบนจะสามารถแกะสลักได้อย่างสมบูรณ์

               ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความมีชีวิตชีวา ชาวโรมันเชื่อว่าการแกะสลักรูปเหมือนจริงที่สุดจะช่วยรักษาวิญญาณของคนนั้น เมื่อตายไปแล้วไว้ได้  นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักภาพนูนต่ำ เพื่อบันทึกเรื่องรามทางประวัติศาสตร์และสดุดีวีรกรรมของนักรบ

ภาษาและวรรณกรรม
              ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษากรีกที่พวกอีทรัสกันนำมาใช้ จนใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 

               ส่วนวรรณกรรมระยะแรกเป็นบันทึกพงศาวดาร กฎหมาย ตำราการทหาร และการเกษตร ต่อมามีการแต่งงานประพันธ์เป็นของตนเอง ได้แก่ เรื่อง อิเนียด ประพันธ์โดยเวอร์จิล งานประพันธ์ของซิเซโร เป็นต้น

วิศวกรรม
               การสร้างถนนคอนกรีต โดยถนนทั้ง 2 ข้างจะมีท่อระบายน้ำ และมีหลักบอกระยะทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานส่งน้ำ (aqueduct) ขนาดสูงใหญ่จำนวนมากเพื่อนำน้ำวันละ 300 ล้านแกลลอนหรือประมาณ 8,505 ล้านลิตร จากภูเขาไปยังเมืองเพื่อให้ชาวเมืองได้ใช้

ปฏิทิน
       ปฏิทินจูเลียน (แบบสุริยคติ) ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละปีมี 365 วัน และเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ให้ทุก ๆ 4 ปี มี 366 วัน

 ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เกรกอเรียน

ด้านการปกครอง

               กฎหมายสิบสองโต๊ะ (Twelve Tables)  ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) และทิ้งไว้เป็นมรดกล้ำค่าของโลกตะวันตก 

การแพทย์
         แพทย์โรมันสามารถผ่าตัดรักษาโรคได้หลายโรค โดยเฉพาะการผ่าตัดทำคลอดทารกทางหน้าท้องของมารดา ซึ่งเรียกว่า ศัลยกรรมซีซาร์ (Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงพยาบาล ระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล

                                                                       ศัลยกรรมซีซาร์

ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมัน

      ตั้งแต่ ค.ศ. 180 จักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อมอำนาจลง เนื่องจากไม่สามรถปกครองจักรวรรดิที่มีขนาดกว้างใหญ่มากๆได้ บางช่วงต้องมีการแต่งตั้งจักรพรรดิร่วมเพื่อแยกกันปกครองจักรวรรดิ 

      ใน ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ได้ปกครองจักรวรรดิโรมัน และเกิดเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ คือ 

เหตุการณ์แรก

      ได้แก่การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงโรมไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) เมื่อ ค.ศ. 330 ทำให้จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งยังคงมีศูนย์กลางที่กรุงโรม และจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือหรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือนครอิสตันบูลในประเทศตุรกี) ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลงและถูกรุกรานในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ที่ 2 คือ

      การที่จักรพรรดิคอนสแตนตินหันไปนับถือศาสนาคริสต์และทำให้คริสต์ศาสนา แพร่หลายในเขตจักรวรรดิโรมัน และกลายเป็นศาสนาหลักของโลกตะวันตกในเวลาต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง 

     จักวรรดิโรมันตะวันตกอ่อนแอลงตามลำดับเพราะถูกทำลายโดยพวกอารยชนสำคัญ 2 เผ่า คือ เผ่าเยอรมันซึ่งมาจากทางเหนือของแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ

     พวกฮัน (Huns) ซึ่งเป็นเชื้อสายเอเชียมาจากทางเหนือของทะเลดำ

     พวกเยอรมันโจมตีกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 410 และปล้นสะดมทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เกิดความระส่ำระสายขึ้นในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในที่สุดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ถูกโค่น

     ใน ค.ศ. 476 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นปีที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย แม้ว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังดำรงอยู่ต่อไปก็ตาม

 

 

หมายเลขบันทึก: 696893เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2022 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2022 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท