ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต


สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกเเล้ว วันนี้ดิฉันได้โจทย์จากอาจารย์ท่านหนึ่งมา อยากรู้กันเเล้วใช่ไหมคะ บอกเลยว่าโจทย์ไม่ธรรมดานะคะ  โจทย์คือ : นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไรในนศ.กฎหมาย ที่ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน แบบละมีหูเเว่วเล็กน้อยสอบตกทุกวิชา 
 

ก่อนอื่นเลยเราจะเรียกผู้รับบริการกลุ่มนี้ว่า ‘‘ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต’’ ไม่ว่าผู้รับบริการจะเป็นอย่างไร เป้าหมายหลักคือการช่วยให้ผู้รับบริการมี…

Hopeful (ความหวัง) : มุ่งเน้นไปที่การช่วยให้ผู้รับบริการมีความหวังเกี่ยวกับอนาคต

Empowered (เสริมสร้างพลังชีวิต) : ผู้รับบริการต้องรู้สึกว่าตนเองสามารถตั้งเป้าหมายของตนเองได้และมีความเป็นอิสระในการไล่ตามเป้าหมายเหล่านั้น

Skilled (ได้รับการึกฝนทักษะ): เพื่อสอนทักษะต่างๆ ใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการ รวมถึงทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะทางสังคม และอื่นๆ

Supported (ได้รับการสนับสนุน) : ทั้งจากผู้บำบัด ครอบครัว เพื่อน เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิต เเละทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพเเละมีความสุข

เซลิกแมนเสนอมุมมองใหม่ไว้ใน The Theory of Well-Being หรือแนวคิดเรื่องความอยู่ดีมีความสุขว่า  ‘‘แท้จริงแล้วความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนสร้างได้เอง แต่ต้องรู้จักองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุขเสียก่อน แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความคิดและความเป็นอยู่ให้ชีวิตรับรู้ได้ถึงความสุขเหล่านั้น’’ ซึ่งมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ เรียกรวมกันว่า PERMA model หรือแบบจำลองที่ทำให้เกิดความสุขใจในชีวิต

 1. P - positive emotion : ด้านอารมณ์บวกในเวลาที่ผ่านมานั้น อารมณ์ด้านบวกมีอะไรบ้าง เช่น สงบ ปลอดภัย ตื่นเต้น สนุก ผ่อนคลาย อยากรู้อยากเห็น  ลองทบทวนว่า กิจกรรมใด หรือพฤติกรรมใดที่ทำให้เรารู้สึกบวก รู้สึกมีคุณค่าต่อตนเอง หรือต่อผู้อื่น

2. E - engagement : ด้านความผูกพัน ในสิ่งที่ทำไปแล้วนั้น ตนเองได้ผูกพัน มีส่วนร่วม ตอบสนองทางบวกกับผู้อื่นมากน้อยเพียงไร อะไรทำให้เกิดความผูกพัน ความผูกพันนั้นทำให้ตัวเองเดือดร้อน

3. R - relationship  : ความสัมพันธ์เชิงบวก เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับใคร หรือกับสิ่งใดบ้าง  แสดงให้เห็นว่า ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการมีเพื่อน เป็นที่ยอมรับและมีคุณค่ส

4. M - meaning and purpose : คุณค่าและเป้าหมาย สิ่งที่ทำนั้นตอบโจทย์ ความต้องการ ความคาดหวัง ความฝันของตนเองอย่างไร เช่น ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้รักษาสิ่งแวดล้อม การได้ทำในสิ่งที่ใฝ่ฝันถึงมานานแล้วตั้งแต่เด็ก สิ่งที่ทำนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมีประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อโลกอย่างไร 

5. A - accomplishment : ความสำเร็จ ทบทวนตัวเองว่าได้ทำอะไรสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายหรือความฝัน ความสำเร็จอาจอยู่ที่ความรู้สึกระหว่างทาง เช่น ทำงานได้สำเร็จ ตั้งเป้าหมายที่อารมณ์และความสงบสุข จากการเรียนรู้เช่นเดียวกับผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม

นักกิจกรรมบำบัดจะใช้ PERMA ในผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต อย่างเเรกที่นักกิจกรรมบำบัดควรทำคือการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ (Therapeutic relationship) เพื่อให้เกิดความเชื่อใจซึ่งกันและกัน  การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีอย่างจริงใจกับผู้รับบริการจะทำให้การบำบัดเป็นไปในทางที่ดีขึ้น นักกิจกรรมบำบัดใช้ PERMA สอดประสานในการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ  อาจจะใช้ตั้งคำถามเพื่อให้เข้าใจผู้รับบริการได้มากขึ้น เราไม่จำเป็นต้องพยายามเเสดงออกว่าเราเข้าใจทุกปัญหาเเละสามารถเเก้ได้ เราเพียงเเค่เข้าใจอย่างเเท้จริง ฟังด้วยหัวใจ (Empathy listening) เมื่อเราได้ข้อมูลเพียงพอเเล้วต่อไปก็จะนำไปวางเเผนการรักษาต่อไป


นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ Recovery model ในการบำบัด ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ RECOVERY MODEL หรือการฟื้นคืนสู่สุขภาวะกันก่อนค่ะ

Recovery model ก็คือ “ขบวนการเปลี่ยนแปลงด้วยการดำเนินการของบุคคลในการที่  จะปรับปรุงสุขภาพและการมีความสุขของตน ดำรงชีวิตตามวิถีทางที่เขาเลือกเอง และฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อให้บรรลุถึงความสามารถเต็มตามศักยภาพของเขา” 

กุญแจสำคัญของขบวนการฟื้นคืนสู่สุขภาวะ

การค้นหาความหวังและยึดถือเป็นเป้าหมายเชื่อในตนเอง มีความรับผิดชอบ มองโลกอนาคตในแง่ดี

สร้างภาพลักษณ์ด้านดีใหม่ค้นหาภาพลักษณ์ใหม่ถึงแม้ว่ายังมีอาการอยู่ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

ค้นหาชีวิตที่มีความหมายและสร้างแนวทางการดำรงชีวิตอย่างมีความหมาย

รับผิดชอบและควบคุมตนเองรู้สึกว่าควบคุมอาการและตนเองได้

ทางเดินไปสู่การมีสุขภาวะ มีองค์ประกอบ 10 ประการ

1. Self-Direction : ผู้รับบริการมีอิสระในการตัดสินใจเลือกจุดมุ่งหมายในชีวิตและออกแบบเส้นทางเดินเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์เหล่านั้น สามารกำกับดูเเลตนเองได้ 

2. Individualized and person-centered : มีการวางแผนเป็นรายบุคคล                                                      

3. Empowerment : เสริมสร้างพลังชีวิต ก่อนจะเสริมสร้างพลังชีวิตเราต้องทราบความต้องการที่เเท้จริงของผู้รับบริการก่อน                                                                                                                                                              

4. Holistic  : บริการแบบองค์รวม มองภาพรวมของสุขภาพผู้รับบริการ ทั้งความสามารถทางด้านร่างกาย การรู้คิด การเข้าใจตนเอง รวมถึงความสามารถทางจิตสังคม สามารถคืดบวกได้ไหม? ลงมือทำได้ไหม?           

5. Nonlinear : การฟื้นสู่สุขภาวะ เป็นขบวนการที่เป็นแนวระนาบเดียว                                                                  

6. Strengths-based : การนำเอาจุดที่ดี จุดเเข็งของปู้รับบริการมาใช้                                                                 

7. Peer Support : การสนับสนุนซึ่งกันและกัน  เช่น เพื่อนที่สนิท                                   

8. Respect :  การเคารพและให้เกียรติกัน                                                                                                           

9. Responsibility : เพิ่มความรับผิดชอบให้กับผู้รับบริการ                                                                               

10. Hope : เพิ่มความหวัง การคิดบวกให้ผู้รับบริการ

การผสมผสานการฟื้นคืนสู่สุขภาวะในการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนจะส่งผลให้ผู้รับบริการเกิดการพัฒนาตนเอง ยอมรับตนเอง สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความเป็นอิสระ มีสัมพันธภาพด้านบวกต่อบุคคลต่างๆ สามารถจัดการสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายในชีวิต

นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้กิจกรรมบำรุงสุข 3 ด้าน (https://www.bangkokhospital.com/content/therapeutic-activities)

1. Healthy Life Style : ใจป่วยนำไปสู่กายป่วย การฟื้นฟูบำบัดใจจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงควบคู่ไปด้วย เพื่อความสมดุลทั้งกายและใจ (Life Balance) ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การเดิน การออกกำลังกาย โยคะ หรือเเม้เเต่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

2. Stress Reduction : ความเครียดทำให้ร่างกายเสื่อม อ่อนล้า นอนไม่หลับ คนมากมายหาวิธีคลายเครียดด้วยการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายตามมา ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย

3. Art and Creativity : เมื่อใจป่วยความคิดจะตีบตัน หมดความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจ นอกจากกิจกรรมนี้จะช่วยให้ฝึกความคิดและจินตนาการ ทังยังช่วยให้คุณสุข สงบ และรู้สึกสบายใจ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น 

         การใช้ดนตรีบำบัด (Music Therapy) จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้ ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด ไปสู่ความสุขสบายเพลิดเพลิน เนื่องจากดนตรีที่เลือกสรรแล้ว โดยเฉพาะจังหวะ ความเร็ว-ช้า ระดับของเสียงและความดังจะมีอิทธิพล ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทางร่างกาย จิตใจ อันมีผลทำให้ความวิตกกังวล ความกลัวลดลงและยังสามารถปิดกั้นวงจรของการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้ความเจ็บปวดลดลงได้ และดนตรียังเพิ่มแรงจูงใจทำให้อยากเคลื่อนไหว (https://www.goldenlifehome.com/2016/ดนตรีบำบัด/)


         การใช้ศิลปะบำบัด (art therapy) หัวใจของศิลปะบำบัดคือการมุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ ปัญหา โดยจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางงานศิลปะ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าใช้ศิลปะเป็นตัวกระตุ้นให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในความทรงจำที่เลวร้ายหรือความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก (https://hellokhunmor.com/สุขภาพจิต/ศิลปะบำบัด-สุขภาพจิต/)

“สิ่งสำคัญที่พวกเรามาร่วมทำงานในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชมาจากจิตใจที่งดงาม...มองเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์และมีจิตสาธารณะ เพราะเราเลือกที่จะไม่ทำก็ได้ ....แต่เราเลือกที่จะทำ ดังนั้น โปรดรับรู้ว่าการดูแลทางจิตใจไม่ต้องการเครื่องมือที่หรู ทันสมัย ราคาแพง เเต่ต้องการสิ่งสำคัญที่มีอยู่ในตัวตนของท่าน…คือการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”

 

ที่มา: https://www.srithanya.go.th/images/Sheet/s_f8.ppt

https://drpanom.wordpress.com/2020/12/23/ปีเก่าผ่านไป-ทบทวนจิตใจ/

 

พิณศฐิตรา พิมหะศิริ 6323025 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 

 

 


 


 

 

 


 


 

หมายเลขบันทึก: 695733เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2023 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท