Mind & Spiritual (33) : อุปนิษัท = บทเรียนเชิงปรัชญา


เรียนรู้ที่เริ่มเข้าใจ...เรียนแบบไม่เรียน 

Text : Ka-Poom Photo : Ka-Poom & web painaima.com

...............................................................................
ดูดีดี...คำนี้ คืออะไร..ทำไมถึงนำมาพูดถึง...
อุปนิษัท ออกเสียงว่า อุบ-ปะ-นิ-ฉัด หาใช่ออกเสียงว่า อุบ-ปะ-นิ-สัด...ไม่
ดิฉันเองก็เพิ่งทราบว่า หรือรู้จักคำนี้มาได้เมื่อไม่นานนี่เอง...แต่เมื่อรู้แล้ว..ก็ "อ้อ!!!..." เราเป็นอยู่อยู่นี่เอง..
อุปนิษัท คืออะไร..คือ..บทเรียนเชิงปรัชญา ซึ่งหากแปลตามตัวแล้วแปลว่า "นั่งใกล้...นั่งใกล้ๆ กัน" ...

หากความหมายที่ลึกลงไป นั้นหมายถึง เป็นการสอนแบบคุรุกับลูกศิษย์
เป็นมุขปาฐ คือ การสอนแบบบอกเล่า ไม่มีคัมภีร์...
อย่างที่ดิฉันเองกำลังเรียนรู้เรื่องภายใน...โดยผลัดการสอนแบบแลกเปลี่ยนกับ "พี่ทาน"

การเรียนรู้ด้วยตนเอง 

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเป็นการเรียนรู้.."ด้วยตนเอง"...
พบกับตนเองว่า...เรียนรู้ได้ช้ามาก...แต่จะว่าไม่มีความก้าวหน้าเลยก็ไม่ใช่...แต่ทำให้เข้าใจอะไรบางอย่างได้อย่างไม่เข้าใจ...ซึ่งเป็นความเข้าใจแบบไม่เข้าใจ...
จนเมื่อได้มาเจอพี่ทาน ...รุ่นพี่ที่สนิทกันที่ไม่ได้เจอกันมาหลายเดือน ประมาณแปดเก้าเดือนได้...พี่ทานได้สอนเรื่อง กายาคตาสติ การตามระลึกรู้การเคลื่อนไหวร่างกาย...

------------> สอนเรื่องภายใน...และสอน...สอนในหลายเรื่อง..
ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ได้สอน...ฟังดูน่าแปลก..แต่จากการสอนแบบไม่ได้สอน ทำให้ดิฉันเองรู้สึกว่าตนเองก้าวหน้ามากขึ้น ... การเรียนรู้เหมือนวิ่งได้คล่องขึ้น...พิจารณาความเป็นจริงอย่างมองเห็นความเป็นจริงมากขึ้น..

ความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้น 

เข้าใจความจริง..รู้ว่า..."อ้อ...นี่คือ..สิ่งที่เกิดขึ้น..."
จากการสอน..การเรียน แบบไม่ได้สอน..แบบไม่ได้เรียน..ในพระไตรปิฎก..ใช้คำว่า "อุปนิษัท"...
ดิฉันชอบคุย เรื่องลึกๆ..เรื่องปรัชญา...ศาสนา..จิตวิญญาณ หรืออะไรหลายๆ เรื่องทำนองนี้
รวมไปถึง...เรื่อง..หนังสือ ความรัก ศิลปะ ชีวิต และความงามแห่งจิตและอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด
ซึ่งพี่ทานมักจะดุบ่อยๆ ว่า "อย่าๆ ไปให้ชื่อว่าเรื่องอะไร..ไม่ต้องไประบุชื่อ...จะเป็นอะไรก็แล้วแต่...ขอแค่ให้รู้"...

การเรียนรู้เรื่องภายใน "ตน"..."ชีวิตและมนุษย์" (เผลอให้ชื่ออีกแล้วคะ)...สิ่งหนึ่งที่ได้ติดต่อมาให้พึงระลึกถึงเสมอ คือ "อย่ารบ..จงปลอบ..จิตละเอียดอ่อน และไหวง่าย ต้องประคองให้ดี...และวางอย่างนุ่มนวล"...

.................................................................
การเรียน...เรามักใช้เวลาในช่วง..."การวิ่ง"...
เวลาที่วิ่ง...เราจะเรียนรู้เรื่องภายใน "จิต"...ของตนไปด้วย
พี่ทาน...บอกว่า เป็นการให้อาหารใจ และอาหารร่างกาย...

นอกจากนี้...ก็มีใช้เวลาในช่วงอื่นๆ...ที่พอเรียนและสอนได้
แต่การเรียนและสอนนั้น...ไม่ได้เป็นรูปแบบการเรียนการสอน หากแต่ผ่านการพูดคุย..สนทนา..ไม่มีตำรา..
การเรียนรู้ดังกล่าว...คุณขจิตเคยเรียกว่า..."ฉีกตำรา"...การเรียนรู้
แต่ดิฉันเพิ่งทราบว่า...อ้อ!! นี่ คือ การเรียนที่เรียกว่า  "อุปนิษัท"...บทเรียนเชิงปรัชญานี่เอง..

 

หมายเลขบันทึก: 69511เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

                การสอนคุรุกับศิษย์นั้นมักจะเป็นแนวปฏิบัติของมหายานหรือฝ่ายวัชรยาน อาจารย์จะถ่ายทอดธรรมอันวิเศษเพื่อการหลุดพ้นให้กับศิษย์แบบใจสู่ใจเช่นท่านเว่ยหล่าง อ่านหนังสือไม่ออกไม่เคยเรียนหนังสือแต่มีใจฝักใฝ่ในธรรมเป็นแค่คนผ่าฟืนเมื่อได้ยินคนอื่นท่องบ่นคัมภีร์เกิดระลึกรู้ดวงตาเห็นธรรมเพราะพื้นฐานเดิมเป็นผู้มีใจประภัสสร พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 ทราบเข้าด้วยวิถีจิตวิถีปัญญาได้ถ่ายทอดธรรมอันวิเศษให้และมอบบาตรจีวรซึ่งทางมหายานเชื่อว่าเป็นของพระพุทธเจ้าโดยตกทอดผ่านอัครสาวกพระมหากัสสปะ เป็นสัญลักษณ์สืบทอดเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่6และเป็นองค์สุดท้ายในแผ่นดินจีน

                   นี่ก็เป็นบันทึกประวัติศาสตร์หนึ่งที่พอจะอ้างอิงได้ถึงการเรียนรู้ธรรมโดยไม่สอน ไม่มีตำรา ไม่มีคัมภีร์ คนอ่านหนังสือไม่ออกก็บรรลุธรรมได้มีเพียงการปฏิบัติที่ถูกต้องที่ทำให้เราเข้าถึงได้ ธรรม  นั้นไม่มีภาษาใดในโลกที่จะสื่อได้อย่างถูกต้องและตรงที่สุด

                    นำมาแลกเปลี่ยน เห็นร่องรอยการเดินทางที่ถูกต้อง ตรง รวดเร็ว ไม่มีตำราคัมภีร์ และคงไม่ไกลจากความจริงนัก  สาวน้อยมหัศจรรย์ฉีกตำ

                

สวัสดีคะ..พี่หรอย

พรุ่งนี้ก็จะสิ้นปีแล้วนะคะ...แล้วก็เข้าเทศกาลปีใหม่...ก่อนอื่นก็ต้องขออวยพรให้พี่หรอยและครอบครัว...มีความสุขในวันปีใหม่และตลอดไปนะคะ...
...........
การเรียนรู้นี้กะปุ๋มขอเรียกว่าเป็นการเรียนรู้เรื่องชีวิต...และมนุษย์...ซึ่งอาศัยการเรียนจากภายในดวงจิตของตนเอง...ทางพุทธศาสนากะปุ๋มไม่ค่อยเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากเท่าไรคะ...แต่ก็พยายามเรียนรู้และศึกษา เรียนแล้วก็ค่อยย้อนกลับมาดู ... เรียนจากภายในออกมาสู่ภายนอก จากภายนอกย้อนกลับเข้าไปดูภายใน "อ้อ..มันเป็นเช่นนี้เอง..."...ทำให้เราเข้าใจเรืองบางเรื่อง...บางสิ่งบางอย่าง ... คนบางคน..และที่สำคัญ..ส่งผลต่อการช่วยเหลือคนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น...

ขอบคุณพี่หรอยมากนะคะ..สำหรับการสอนที่เผื่อแผ่มาถึง
(^___^)
กะปุ๋ม

 

                    ขอบคุณมากสำหรับคำอวยพรปีใหม่  ทุกคนมีความสุขมากเมื่อได้อ่านบันทึกกะปุ๋ม  รับรู้ได้ถึงควารู้สึกอันอบอุ่นจริงใจ (ที่สำคัญกะปุ๋มคือแรงบันดาลใจให้ทั้งน้องบุตรและน้องแป้งขยันเรียน เด็กๆ........เค้าพูดถึงน้าปุ๋มอยู่เสมอ)

                  การเรียนรู้วิถีจิตจากภายในตนนั้นถูกต้องที่สุด...............พี่ก็แอบเรียนจาก ดร.กะปุ๋มเหมือนกัน

                                        พี่หรอย 

 

สวัสดีปีใหม่คะ...พี่หรอย..

น้องแป้งกับน้องบุตร...คงโตขึ้นมากเลยนะคะ...

พี่โรมคงสบายดี...

ขอให้มีความสุข..ตลอดทุกสภาวะการณ์นะคะ

(^____^)

กะปุ๋ม 

 

เจริญพร จ้า

เข้ามาอ่านนะ ..อ่านแล้วข้องใจข้อความว่า

"ในพระไตรปิฎก..ใช้คำว่า "อุปนิษัท"...

ไม่แน่ใจว่า มีอ้างอิงหรือไม่ อาตมาไม่เคยเห็น และรู้สึกว่าศัพท์นี้ไม่มีใช้ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา (โดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทของเรา)

ตามที่เคยได้ยินมาบ้าง ศัพท์นี้เป็นภาษาสันสกฤต เป็นยุคหนึ่งในการกำหนดนับปรัชญาฮินดู...อะไรทำนองนี้

อีกอย่างหนึ่ง เคยได้ยินข้อสันนิษฐานของอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า ปรัชญาอุปนิษัท เป็นแนวคำสอนที่วรรณะกษัตริย์กับวรรณะแพทย์รวมหัวกันสร้างขึ้นมาเพื่อคานอำนาจทางความคิดของวรรณพราหมณ์..อะไรทำนองนี้

ขัดความรู้สึก ข้องใจ และอยากทราบจริงๆ จ้า

เจริญพร 

ขอเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่ดี ส่วนจะเป็นความรู้สึกที่ดี อันแท้จริงที่เป็นอมตะหรือไม่นั้น คงต้องใช้มิติอันซับซ้อนของอารมณ์เป็นปัจจัยในการกำหนด สิ่งที่รู้อันแท้จริง คือ การไม่รู้อะไรเลย ผมเองใคร่จะพูดว่า ความรู้ความเข้าใจของทุกๆความคิดนั้น (ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่มาจากมนุษย์หรือสัตว์นานาชนิด หรือแม้กระทั่งสิ่งต่างๆทั้งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม) ความคิดที่ออกมาจากสิ่งเหล่านั้น คนเหล่านั้น ล้วนเป็นความคิดที่ถูกต้องทั้งสิ้น(สิ่งที่ถูกต้องหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นนามธรรมที่ถูกสมมิติขึ้นเพื่อความเข้าใจในสถานการณ์นั้นๆ) ที่บอกว่าถูกต้องทั้งหมดนั้น เนื่องมาจาก กระบวนการคิดและความซับซ้อนของความคิดที่ถูกถ่ายทอดออกมานั้น มันมีความวิเศษในแต่ละอณูความคิดที่แตกต่างกันซ่อนอยู่ภายใน (เปรียบดั่งดีเอ็นเอที่ไม่มีผู้ใดเหมือนผู้ใดได้เลย) จริงอยู่บางความคิดอาจไม่สอดคล้องกับความจริงสากลหรือมโนคติ ซึ่งก็ต้องย้อนกลับไปมองที่การกำหนดความจริงสากลว่าทุกๆคนจะต้องรู้ไม่ว่าจะโง่หรือฉลาดเพียงใดก็ตาม ซึ่งมันเป็นวัฏจักรที่หมุนเวียนเป็นวงกลม โดยอาจจะเป็นวงกลมที่ใหญ่มากจนไม่สามารถหมุนเวียนมาครบวัฏจักรอีกรอบหนึ่ง ยามที่สิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิตนั้นๆเฝ้ามองการหมุนครบรอบอยู่

รู้คือไม่รู้ พูดคือไม่ได้พูด เราไม่ใช่ตัวเรา เขาไม่ใช่เป็นเขา

มองในมุมบวกอย่างเข้าใจของคู่สนทนา รวมถึงทุกๆสิ่งในสังคม

จงอยู่อย่างการดูแคลนจากโลกภายนอก แล้วทำความรู้สึกรับรู้และเข้าใจมันได้อย่างสงบและนิ่งลึก

สันชาน จินตภาพ มโนคติ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ปรจารย์ที่เชี่ยวชาญคิดมาเพื่อการต่อยอดของชนรุ่นต่อๆไป ตัวท่าน ตัวเรา เป็นร่างที่จิตยืมมาใช้เพื่อสานต่อสิ่งเหล่านั้น เพื่อรุ่นต่อไปเช่นกัน

อย่าดีใจเมื่อมีโอกาสได้ดีใจ อย่าเสียใจเมื่อสิ่งแวดล้อมอำนวยให้เสียใจ

เป็นเเนวคิดที่สร้างการเรีนยรู้ที่ดีในอนาคตของสังคมรุ่นต่อๆมา

หยากให้มีการอธิบายที่ชัดกว่านี้นิดหน่อยเพราะโดยพื้นฐานของความจริงในสังคมในยุคปัจจุบันน้อยคนมากที่จะเข้าใจในแนวปรัชญาแถบจะนับได้สำรับผู้ที่เข้าใจในแนวปรัชญา อย่าใครอื่นเลยผมเองก็ไม่เข้าใจมากหรอกในแนวปรัชญา นี่ผมเรีนยปรัชญานะยังไม่ค่อยเข้าใจแนวปรัชญาเลย ถ้าผู้ที่ไม่เคยเรียนปรัชญาละ จะขนาดไหน

สวัสดีครับ

 

แวะมาเจอ อุปนิษัท พอดี

ผมเข้าใจอย่างท่าน BM.chaiwut ว่า ไม่เจอคำว่า อุปนิษัท ในพระไตรปิฏก

โดยศัพท์ึคงไม่ใช่แน่ แต่โดยความหมาย อาจมีคำอื่นที่ตรงกัน ผมไม่แน่ใจ

 

หลักธรรมในระดับลึก ไม่ถือชื่อ เพราะภาษาไม่ครอบคลุมถึง

แต่เอาเป็นว่า ใช้ชื่อเพื่อจะได้เข้าใจกันง่ายๆ กว้างๆ

 

โดยรูปคำ "อุปนิษัท" คือ คำสอนอันใกล้ชิดระหว่างครูกับศิษย์

แต่โดยธรรมเนียมแล้ว อุปนิษัท หมายถึง คำสอนในชั้นหลังของพราหมณ์ฮินดู

เรียกอีกอย่างว่า เวทานตะ คือ ที่สุดของพระเวท (คั้นเนื้อสุดๆ เอาแต่แก่นเลย)

ดังนั้น หากเป็นการสอนอื่นแม้สอนแบบตัวต่อตัว แต่ไม่ได้สอนเนื้อหาแห่งพระเวท

เขาก็ไม่เรียกว่า คำสอนอุึปนิษัท 

 

ท่านว่า เนื้อหาในอุปนิืษัท เมื่อสรุปย่อๆแล้ว มีแ่ค่ 3 อย่าง คือ

1) ความจริงมีอย่างเดียว คือ พรหมัน

2) โลกที่เห็นนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง (เป็นมายา)

3) ชีวิตนั้นคือพรหมันนั่นแล ไม่ใช่สิ่งอื่นใด

 

โดยรวมๆ คำสอนในอุึปนิษัท เน้นเรื่องอาตมัน พรหมัน ชีวาตมัน ปรมาตมัน (ซึ่งก็คือสิ่งเดียวกัน) แต่ก็เน้นเรื่องการทำหน้าที่ และการไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ ขณะที่ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรม หรือทวยเทพอย่างในสมัยก่อนๆ

 

ผมมีความเห็นว่า คำสอนของพราหมณ์ฮินดู เชื่อมโยงกับคำสอนในพุทธศาสนา โดยมีอุปนิษัท หรือเวทานตะ เป็นรอยต่อ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท