ครบรอบ 500 ปี เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเหยียบแผ่นดิน และถูกฆ่าตายบนแผ่นดินฟิลิปปินส์


ครบรอบ 500 ปี เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเหยียบแผ่นดิน และถูกฆ่าตายบนแผ่นดินฟิลิปปินส์

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งอยุธยา ได้รับอาสาจากพระเจ้าชาร์ลที่ 1 กษัตริย์สเปนออกสำรวจซีกโลกตะวันตก เดินทางค้นหาหมู่เกาะแห่งเครื่องเทศ

ครั้งนั้นเขาได้นำกองเรือสำรวจ 5 ลำพร้อมกับลูกเรือทั้งหมด 265 คน เดินเรือจากเซบิยามหาสมุทรแอตแลนติกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก จนพบฟิลิปปินส์ในปี 1521

ที่หมู่เกาะ Limazawa แมคเจลลัน ได้รับการต้อนรับจากชาวเกาะเป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นเขายังได้กรีดเลือดร่วมสาบานกับดาตู หรือผู้นำชุมชนในเกาะนั้น ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพื้นเมืองเรียกว่า Sandugo นั่นเป็นการสมานความสัมพันธ์ครั้งแรกระหว่างชาวตะวันตกกับชาวฟิลิปปินส์พื้นเมือง แต่การเดินเรือของแมกเจลแลนในครั้งนั้นไม่ได้มีวัตถุประสงค์หมายยึดครองประเทศ เป็นเพียงแค่ต้องการสำรวจและเผยแผ่ศาสนาคริสต์เท่านั้น จากนั้นก็เดินทางต่อไปที่เกาะเซบู

การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของมาเจลลันมักจะอ้างว่า คุณสมบัติและความเก่งกาจของเขานอกจากเสื้อเกราะและอาวุธที่มีคุณภาพแล้ว ยังได้มาจากพลังอำนาจของพระเจ้าด้วย สิ่งนี้ทำให้ชาวเซบูหลายคนเปลี่ยนศาสนามาเป็นศาสนาคริสต์ เขาได้ขนานนามเกาะเซบูว่าเป็น หมู่เกาะแห่งเซนต์ลาซาลัส เพราะช่วงที่เขาไปเหยียบเกาะตรงกับช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองนักบุญลาซาลัสพอดิบพอดี

เขาได้ผูกมิตรกับรายาห์หรือผู้ปกครองเมืองอีกหลายคน โดยเฉพาะกับรายาห์ฮูมาบอน แห่งบารังไกโคลัมบู เป็นรายาห์ที่ทรงอำนาจคนหนึ่งในเกาะเซบู แล้วเขาก็ใช้ฐานอำนาจและความสัมพันธ์นี้ไปสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำหรือหัวหน้าชุมชนอื่นหรือเกาะอื่นต่อไปเรื่อย ๆ และเขาก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ของสเปนกับฟิลิปปินส์ในช่วงเวลานั้น แม้จะดูเหมือนว่าเป็นเพียงแค่การเผยแพร่ศาสนา แต่ใจจริงแล้วยังมีวัตถุประสงค์การควบคุมทางการเมืองด้วย

แต่พอมาถึงเกาะมักตัน บารังไกดาปู-ดาปูไม่ต้อนรับเขาและคณะ บารังไกดาปู-ดาปู ปฏิเสธอำนาจของรายาห์ฮูมาบอน เพราะมองว่าฮูมาบอนคือศตรู และไม่อยากคบค้าสมาคมกับพวกสเปน

จากนั้นบารังไกดาปู-ดาปูจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกมากกว่า 2 พันคนเข้าต่อสู้กับทหารสเปนที่มีเพียงไม่ถึงสามร้อยคน

ดังนั้นในวันที่ 27 เมษายน 1521 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักสำรวจและนักเดินเรือคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก ก็ถูกฆ่าตายในการสู้รบครั้งนั้น ความแข็งแกร่งของเสื้อเกราะและดาบรวมถึงอำนาจของพระเจ้าที่มักเจลลันกล่าวอ้างนั้น ก็พ่ายก็แพ้ให้กับอำนาจของชาวพื้นเมือง ที่กลัวว่าจะชาวต่างชาติจะมาแย่งชิงดินแดนของพวกเขาไปนั่นเอง

กองเรือสเปนที่นำโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน เดินทางกลับประเทศสเปนโดยที่ไม่มีเขา มีเพียง ฮวนเซบาสเตียน เอลคาโน กับทหารสเปนที่รอดชีวิตเพียง 17 คน (บ้างก็ 18) กับเรือ Victoria 1 ลำเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กองเรือของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลันนับเป็นกองเรือชุดแรกที่ประสบความสำเร็จในการเดินเรือรอบโลก

การพ่ายแพ้ของกองเรือสเปนต่อชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ในครั้งนั้น ก็กลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในเวลาต่อมา เพราะสมัยนั้นสเปนไม่ใช่ประเทศธรรมดา แต่คือประเทศผู้นำของจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์ เป็นเจ้าแห่งประเทศที่ให้การสนับสนุนการเดินเรือที่สำคัญที่สุดของโลก ทั้งหมดมาจากเป็นผลสืบเนื่องของพระราชอำนาจพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 และพระราชินีเบลล่าของสเปน ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงอำนาจทางด้านการทหารและอำนาจของศาสนา

ในปี 1543 กองเรือของสเปน 5 อีกลำ และลูกเรือประมาณ 370 นาย ที่นำโดย รุย โลเปซ เดอ บิยาโลบอส เดินทางเข้ามาสู่ฟิลิปปินส์อีกครั้ง ครั้งนี้ไม่ใช่แค่การสำรวจ แต่เป็นการจัดตั้งอาณานิคมแห่งโพ้นทะเลและการเผยแผ่ศาสนาคริสต์อย่างเป็นรูปประธรรมที่สุด แถมยังนำพระนามของเจ้าชายฟิลิปแห่งราชวงศ์แฮปส์เบิร์ก ของสเปนมาตั้งเป็นชื่อประเทศในการเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่าฟิลิปปินส์อีกด้วย

ในปี 1571 สเปนความสำเร็จในการยึดมะนิลา โดยมี Miguel Lopez de Gazpi เป็นผู้นำในการเดินทางครั้งนั้น และสามารถตั้งป้อมปราการในฟิลิปปินส์ได้สำเร็จ

จากนั้นฟิลิปปินส์ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของสเปนถึง 333 ปี

ปีนี้ 2021 ก็ครบรอบ 500 ปี เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเหยียบแผ่นดิน และถูกฆ่าตายบนแผ่นดินฟิลิปปินส์พอดิบพอดี  ประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นในด้านไหนก็ตามมันก็ได้สร้างฟิลิปปินส์มวันนัั้นและเป็นฟิลิปปินส์ในวันนี้ อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

วาทิน ศานติ์ สันติ
5 กันยายน 2021

เอกสารประกอบการเขียน
วสิน ทัพวงศ์. (2557). "ปฏิกิริยาของฟิลิปปินส์ต่อการปกครองของสเปนและสหรัฐอเมริกา" จักรวรรดินิยมตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การเข้ามาและผลกระทบ. กรุงเทพมหานคร: ศักดิโสภณการพิมพ์.

ศิวพร ชัยประสิทธิกุล. (2550). ประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตถึงปัจจุบันโดยสังเขป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ศฤงคาร พันธุพงศ์. (2548). ประวัติศาสตร์สเปนสมัยใหม่.  กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

britannica online. (2021). Ferdinand Magellan. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2021, จาก https://www.britannica.com/search?query=Ferdinand+Magellan

หมายเลขบันทึก: 692292เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2021 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2022 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท