การเขียนตำรา ในรูปแบบ e-book


การเขียนตำราในรูปแบบอีบุคส์

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ขอแจ้งยืนยันและขอส่งลิงก์การอบรมออนไลน์

Topic: การเขียนตำรา ในรูปแบบ e-book
Time:  20 เมษายน 2564 10:00 - 12.00 น.

เริ่มเรียน

การบรรยายมีสามหัวข้อ คือ อีบุคส์ขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่ การเตรียมต้นฉบับและการจัดทำเป็นอีบุคส์

ประเด็น 1 

อีบุคส์ขอตำแหน่งทางวิชาการได้ มีการพิมพ์เผยแพร่ โดยสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นไปอย่างกว้างขวาง เช่น เผยแพร่ผ่านเวปของศูนย์หนังสือจุฬา หรือศูนย์เรียนรู้ มข

การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอ

น่าจะทำเป็นรูปเล่ม ร่วมกับ CD / Handy drive+ link URL


หนังสือและตำราต่างกันอย่างไร

หนังสือ หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชาหรือของหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา

ตำรา หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงและให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้กับสาขานั้นๆ มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื้อหาต้องทันสมัยเมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์


หนังสือ 1 เล่ม

ต้องมีอย่างน้อย 5 บท 80 หน้า อาจอยู่ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มก็ได้ หากหนังสือมีผู้นิพนธ์หลายคน ให้นำเฉพาะบทที่เจ้าตัวนิพนธ์มายื่นพร้อมกับปก สารบัญ คำนำและ index





 

อีบุคส์ขอผลงานได้หรือไม่ 

ผลิตอีบุคส์

อีบุคส์ขอผลงานทางวิชาการได้แน่นอน

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอะไรบ้าง 

อยากทำแบบไหน แบบ 1,2,3 

การเขียน

เตรียมต้นฉบับ ตั้งเป้าหมายก่อนว่า อยากให้เป็นอย่างไร ถ้าอยากได้หนังสือที่ดีที่สุด ก็อดทนทำต่อไป 

เริ่มเขียน เลือกเรื่อง  กำหนดสารบัญ จำนวนหน้า ประมาณ 80 หน้า 5 บท 

ภาพประกอบ ได้มาอย่างไร ต้องไม่ผิดจรรยาบรรณ 

ผู้เขียนร่วม ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องมีผู้เขียนร่วม อ้างอิง index  

การทำอีบุคส์ต้องคำนึงถึงจริยธรรม

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินอะไรบ้าง

มาตรฐานภายนอก รูปเล่ม ขนาด ตามรูปแบบหนังสือ ปริมาณ 5 บท 80 หน้า เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์อะไร 

คุณภาพภายใน ถูกต้อง critcal error, New theory? การพิมพ์ Typing error เอกสารอ้างอิง ตัวหนังสือ รูป ตาราง ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย จรรยาบรรณ แนวคิด การเขียน style ชัดเจน อ่านง่าย เข้าใจ ไม่น่าเบื่อ แทรกประสบการณ์และวิจัย เป็นประโยชน์ต่อวงการ วิเคราะห์แล้วได้ความรู้ใหม่

การตรวจสอบและแก้ไขต้นฉบับ

ผู้ทรงคุณวุฒิบอกว่า การใช้ Angsana new อ่านง่าย ที่สุด ถ้างั้นเราก็ใช้ฟอนต์นี้แหละค่ะ 

หัวข้อไม่ควรใช้ bullet มากเกินไป จะเหมือนเอกสารประกอบคำบรรยายมากไป


Milestone ในการเขียน

พัฒนาเอกสารคำสอนให้เป็นตำรา
ISBN ในหนังสือเก่า เราสามารถวงเล็บใน ESBN ได้หากทำเป็นอีบุคส์

.............

CR ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง บรรยายในการอบรมออนไลน์เรื่อง การเขียนตำราในรูปแบบอีบุคส์ วันที่ 20-04-2564 เวลา 10.00-12.00 

หมายเลขบันทึก: 690160เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2021 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2021 04:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นประโยชน์มากครับ พี่แก้ว ;)…

ศ นพ สมบูรณ์ เทียนทอง ปรมาจารย์ของหลายๆคนค่ะ อาจารย์ให้แง่คิดที่ดีมาก

-สวัสดีครับ-น่าสนใจมาก ๆครับ-ตำรา ตำราชีวิต /ขอบคุณครับ

ลองเขียนตำราชีวิตดูนะคะ นอกจากเนื้อหาดี พิมพ์สวยงาม ทำเป็นอีบุคส์อาจเป็นรายได้ก็ได้นะคะ คุณเพชร

เก่งจังเลยแก้ว พี่ต้องเข้ามาอ่านบ่อยๆแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท