เรียนรู้จากผลการทดสอบ PISA 2018



Godfree Roberts เขียนบทความเรื่อง Seeking Truth from PISA Facts (1) เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของจีนกับอเมริกัน    ชี้ให้เห็นว่าจีนเหนือกว่ามาก    แต่ผมอ่านเอาเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย  

เขาเรียงลำดับประเทศที่ได้คะแนนสูงเรียงตามลำดับคะแนน reading ที่เป็นจุดเน้นของการทดสอบ PISA ครั้งนี้    พบว่าจีนได้อันดับ ๑ คะแนน ๕๕๕    โดยของจีนเขาส่งเข้าทดสอบ ๔ มณฑลคือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เจียงสู และเจ้อเจียง     สหรัฐอยู่ที่อันดับ ๑๓  คะแนน ๕๐๕    ที่ ๒ คือสิงคโปร์ คะแนน ๕๔๙    ไทยอันดับที่ ๖๖  คะแนน ๓๙๙   ประเทศที่เข้าทดสอบมี ๗๘ ประเทศ    ประเทศที่คะแนนต่ำที่สุดคือฟิลิปปินส์ ๓๔๐ คะแนน  

มีผู้สันทัดกรณี (เป็นนักการศึกษาในยุโรป) นินทาให้ผมฟังว่าในการทดสอบนี้ ทางการจีนหาทางจัดการเพื่อให้ประเทศตนได้คะแนนสูง    แต่ผมไม่ได้ซัก ว่าเขาทำอย่างไร

ไทยเราคะแนน reading ตกลงไปจากคราวที่แล้ว    ข้อเรียนรู้สำหรับผมก็คือ เราเดินทางผิดเชิงระบบ    เพราะ PISA ซึ่งเป็นการทดสอบการเรียนรู้ระดับลึกและเชื่อมโยง (reasoning and self-expression) ของเราตกต่ำคงเส้นคงวามาเกือบ ๒๐ ปี    ทั้งๆ ที่เราใช้เงินด้านการศึกษาสูงมาก   

คะแนนด้านคณิตศาสตร์ สูงสุดคือจีน ๕๙๑ คะแนน     ไทยได้ ๔๑๙ คะแนน 

คะแนนด้านวิทยาศาสตร์ สูงสุดก็จีนอีก ๕๙๐ คะแนน    ไทยได้ ๔๒๖ คะแนน        

วิเคราะห์ผล PISA 2018 ของไทย ดูได้ที่ (๒)    ที่น่าตกใจคือเด็กไทยร้อยละ ๖๐ ขีดความสามารถด้านการอ่านต่ำกว่ามาตรฐาน (ของ OECD ร้อยละ ๒๓)    และร้อยละ ๕๓ ขีดความสามารถด้านคณิตศาสตร์ต่ำกว่ามาตรฐาน (ของจีนมีเพียงร้อยละ ๒)     ส่วนด้านวิทยาศาตร์ เด็กไทยร้อยละ ๔๔ มีความสามารถต่ำกว่า ระดับ ๒ (ใน ๖ ระดับ)    แปลกที่ข้อมูลนี้ไม่ปลุกให้ผู้รับผิดชอบการศึกษาของชาติตื่น           

กลับไปที่บทความเรื่อง Seeking Truth from PISA Facts (1)    เขาเอ่ยเรื่อง PISA นิดเดียว    ตามด้วยเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศจีน   ที่เขียนยืดยาว แต่น่าอ่านมาก    สรุปได้ว่า ประเทศจีนเอาจริงเอาจังมากในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของเด็กทั้งประเทศ    ให้แต้มต่อและทุนการศึกษาแก่เด็กจากพื้นที่และครอบครัวยากจน    หวังใช้การศึกษาของคนรุ่นใหม่ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว   

ประกอบกับสายเลือด และวัฒนธรรมจีนให้ความสำคัญสูงสุดต่อการศึกษา    พ่อแม่จึงร่วมมือกับรัฐบาลเต็มที่ในการหนุนให้ลูกทุ่มเทต่อการเรียน    คราวหนึ่งรัฐบาลออกนโยบายให้โรงเรียนลดการบ้าน    พ่อแม่คัดค้าน บอกว่าหากโรงเรียนไม่ให้การบ้าน พ่อแม่ก็ต้องให้แทน    เท่ากับโรงเรียนโยนความรับผิดชอบให้แก่พ่อแม่   

ผมตกใจมาก กับตัวเลข PISA 2012 ที่บอกว่า    สัดส่วนของเด็กที่สอบ PISA คณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูงสุด (ระดับ ๖) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับอัจฉริยะ สามารถจับหลักการ  ขยายความ และใช้คณิตศาสตร์ในสถานการณ์จริง  รวมทั้งเอาไปใช้ในบริบทใหม่ได้    นักเรียนอเมริกันอายุ ๑๕ ปี เพียงร้อยละ ๒  และของยุโรป ร้อยละ ๓ ที่อยู่ในกลุ่มนี้    แต่ตัวเลขนี้ของมณฑลเซี่ยงไฮ้เท่ากับร้อยละ ๓๐  

จากผล PISA 2018   เขาสรุปว่า เด็กจีนอายุ ๑๕ ปี มีการเรียนรู้ล้ำหน้าเด็กในรัฐแมสสาชูเสทส์ (ที่เป็นรัฐที่คุณภาพการศึกษาสูงที่สุดในสหรัฐ) ๓ ปี   น่าตกใจไหมครับ

ทั้งหมดนั้น มาจากการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ ในหลากหลายด้าน    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการ    ที่ครูและผู้บริหารเก่งๆ จะได้รับการส่งเสริมให้ได้ทำงานที่ท้าทายและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ    ในด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนกลุ่มน้อย และชุมชนด้อยโอกาส    อ่านวิธีคัดเลือกคนเป็นครูใหญ่ของเขาแล้วไม่แปลกใจว่าทำไมเขาปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของประเทศได้เร็วขนาดนี้   

อ่านแล้วเกิดความรู้สึกว่า  แทนที่จะไปดูงานการศึกษาที่ฟินแลนด์ น่าจะไปดูที่เมืองจีนดีกว่า     และน่าจะขอความร่วมมือจากประเทศจีน ในการถ่ายทอดแนะนำวิธีปฏิวัติการศึกษาไทย

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.พ. ๖๔

             

หมายเลขบันทึก: 689721เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2021 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2021 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I read “… แทนที่จะไปดูงานการศึกษาที่ฟินแลนด์ น่าจะไปดูที่เมืองจีนดีกว่า …” and felt that we have overlooked many background factors. First is we still think that “education is for giving” (by policy makers and administrators despite the facts that they failed and failed in the past). Second, “education is a cultural aspiration supported by family income”, when majority of families have low incomes, majority of children (people) would have poor education. Third, we sadly lacks examples of achievement levered by quality education and quality applications, but there is no shortage of examples of corruption (or misuse of innovation). Furthermore, there are long held traditions, promoted “national images”, newly acquired “fads” and commonly held attitudes such as ‘not our business’, ‘we vs they’, and so on.

==Because we don’t have direction, we don’t know where to go or what to plan, we don’t learn what we need – to get there.==

I read “… แทนที่จะไปดูงานการศึกษาที่ฟินแลนด์ น่าจะไปดูที่เมืองจีนดีกว่า …” and felt that we have overlooked many background factors. First is we still think that “education is for giving” (by policy makers and administrators despite the facts that they failed and failed in the past). Second, “education is a cultural aspiration supported by family income”, when majority of families have low incomes, majority of children (people) would have poor education. Third, we sadly lacks examples of achievement levered by quality education and quality applications, but there is no shortage of examples of corruption (or misuse of innovation). Furthermore, there are long held traditions, promoted “national images”, newly acquired “fads” and commonly held attitudes such as ‘not our business’, ‘we vs they’, and so on.

==Because we don’t have direction, we don’t know where to go or what to plan, we don’t learn what we need – to get there.==

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท