หมา (อยู่) วัด



หมา(อยู่)วัด เป็น
หนังสือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทนวนิยายสำหรับเยาวชน รางวัลแว่นแก้วปี ๒๕๕๑                                                  อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่เข้าประกวดโครงการสรรหาตำราดีเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์ ปี ๒๕๕๒ อีกด้วย                                                            ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาสอดแทรกให้เข้ากับเนื้อหาของเรื่องได้



    หมา(อยู่)วัด เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
    ประเภทนวนิยายสำหรับเยาวชน รางวัลแว่นแก้ว ปี ๒๕๕๑
    อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่เข้าประกวดโครงการสรรหาตำราดีเด่น
    ด้านทรัพยากรมนุษย์ ปี ๒๕๕๒ อีกด้วยหนังสือที่ผู้เขียน
    โสมประภัสร์ ขันธ์สุวรรณ ตั้งใจอยากใช้เป็นสื่อในการ
    เผยแพร่ความรู้ ชีวิตหมาวัดกับ “หมา (อยู่) วัด” เล่าเรื่องในมุม
    มองของ “หมาวัด” เรื่องเป็นแนวน่ารัก ใสซื่อ และได้อารมณ์
    สนุกสนาน แฝงสาระและคุณค่าของพุทธปรัชญา ช่วยกล่อม
    เกลาความรู้สึกนึกคิดของคนโดยมีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความดี
    และความรักอันบริสุทธิ์
    เป็นนวนิยายที่แฝงไว้ด้วยคติธรรมความรู้เกี่ยวกับ
    พุทธศาสนา ผ่านการเล่าเรื่องของ “เจ้าทองเทา”
    หมาวัดที่ใช้ชีวิตเติบโต กินนอนอยู่หลังกำแพงวัด นับตั้งแต่
    วันที่มันถูกนำมาทิ้งข้างประตูวัด ตอนยังลืมตาไม่ได้
    ด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นโชคดีของมันที่หลวงตาแฉ่งรับมันมา
    อุปการะเป็นหมาในสังกัดและอยู่รวมกับหมาวัดอีกกว่า
    ร้อยชีวิต
    สำหรับเรื่อง “หมา(อยู่)วัด” ไม่เพียงแต่จะบอก
    เล่าเนื้อหาด้วยลีลาภาษาที่เรียบง่ายและงดงามเท่านั้น
    แต่ยังจะตราตรึงใจผู้อ่านด้วยบทสะเทือนใจและแฝงไว้
    ด้วยคุณค่าของพุทธปรัชญาอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่ง
    ที่ช่วยกล่อมเกลาความรู้สึกนึกคิดให้เกิดความดีทั้งสิ้น

    หมา(อยู่)วัด เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุนัขตัวหนึ่ง
    ชื่อทองเทาเป็นสุนัขที่ถูกนำมาทิ้งที่วัดตั้งแต่เล็ก วัดที่มันอยู่
    มีสุนัขอาศัยอยู่มาก “ทองเทา” ตั้งโดยหลวงตาแฉ่งพระแก่
    ร่างเล็กใจบุญที่ชุบเลี้ยงทองเทาและสุนัขหลายตัวไว้ทุกเช้า
    หลวงตาจะมาเดินตรวจสุนัขทุกตัว ทองเทาเติบโตขึ้นมาภาย
    ใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา มันคิดอยู่เสมอว่าเป็นความโชค
    ดีของตนอย่างที่สุด ถึงแม้จะเป็นสุนัขแต่ก็ภูมิใจในชาติกำเนิด
    ของตน ถ้ามันเลือกเกิดได้ก็จะเกิดเป็นคนและเป็นเพศชาย
    ไทยเพราะอยากบวชเป็นพระเหมือนหลวงตาแฉ่ง
    หลวงตาแฉ่งเป็นคนที่มอบชีวิตใหม่กับมันและยังเป็น
    พระที่ไม่เรียกร้องเงินจากผู้ใด มีความเมตตาไม่เคยปฏิเสธคน
    ที่เดือดร้อน แม้กระทั่งหมาวัดทุกตัว
    วันหนึ่งหลวงตาแฉ่งอาพาธหนักจนต้องมีคนพาส่ง
    ที่โรงพยาบาล เมื่อมันรู้ข่าวก็ไม่เป็นอันกินอันนอนหลายวัน
    เอาแต่นอนหมอบอยู่กับที่พร้อมกับน้ำที่ไหลผ่านม่านตาทุกวัน
    จนกระทั่งหลายวันผ่านไป ขณะที่มันนอนอยู่ก็มีแสงสว่างส่อง
    ทะลุผ่านม่านตา มันลืมตาขึ้นพร้อมพร้อมกับแสงที่อยู่ตรง
    หน้าเห็นหลวงตามันดีใจมาก พอรุ่งเช้ามันตื่นขึ้นมากลับไม่
    เห็นหลวงตา จึงรีบออกตามหาจนมาถึงศาลาสวดศพ มันเดิน
    เข้าไปถึงได้รู้ว่าหลวงตามรณภาพแล้ว

    หมา(อยู่)วัด เป็นวรรณกรรมแนวธรรมมะ แต่เป็น
    ธรรมมะแนวใหม่คือไม่ได้มุ่งที่จะสอนหลักธรรมคำสอน
    โดยตรง แต่จะสื่อออกมาโดยผ่านการกระทำหรือเหตุการณ์
    ที่เกิดขึ้นกับตัวละครสอดแทรกไว้ตลอดทั้งเรื่อง กล่าวได้ว่า
    ผู้เขียนมีกลวิธีที่จะสอนธรรมะให้แก่ ผู้อ่านได้อย่างแนบเนียน
    โดยนำเรื่องใกล้ตัวและเหตุการณ์ใกล้ตัว ในที่นี้คือ “หมา”
    กับ “วัด” แล้วสร้างให้หมาวัดมีความคิดและมุมมองเหมือน
    กับคน เหมือนผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากการได้พูดคุย
    กับหมารู้เรื่อง แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีจินตนาการและความ
    สร้างสรรค์ในการคิด คือไม่อยู่ในกรอบหรือความจริงเกินไป
    เพราะความคิดนั้นสามารถสร้างสรรค์อะไรก็ได้ที่ไม่มีข้อบังคับ
    อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ หากผู้อ่านได้อ่านก็จะสามารถรับรู้
    ถึงมุมมอง ความคิด และความสร้างสรรค์ในการคิดของผู้เขียน
    ที่ถ่ายทอดผ่านตัวเนื้องานวรรณกรรมได้
    หมา(อยู่)วัด นับว่าเป็นหนังสือนวนิยายอีกหนึ่งเล่ม
    ที่ทุกคนควรอ่าน เนื่องจากมีเนื้อหาที่ดำเนินอย่างเป็นลำดับ
    ขั้นตอน ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และยังช่วยทำให้เยาวชนแล
    เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่าง “วัด” “หมา”
    และ “คน” ในสังคมไทย โดยผ่านวรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้
    ทั้งนี้จากเรื่องราวทั้งหมดของนวนิยายเรื่องนี้ครบ
    ถ้วนทั้งสาระและแนวคิดที่ผู้อ่านจะต้องประทับใจอย่างไม่รู้ลืม

    อ้างอิงรูปภาพ https://www.google.com/search?...

    หมายเลขบันทึก: 688511เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2021 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2021 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท