การปฏิวัติในบทเพลง: การระลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์โดยผ่านบทเพลง


ในวันที่ 5 พฤษภาคม ปี 1966 จิตร ภูมิศักดิ์ถูกฆ่าที่บ้านหนองกุง จังหวัดสกลนคร ผ่านมา 53 ปีแล้ว

ทุกวันนี้มีคนระลึกถึงจิตรในหลายรูปแบบ สำหรับการประท้วงของนักกิจกรรมนักศึกษาตอน 14 ตุลาคม ปี 1973 จิตรดูเป็นคนเคร่งขรึมที่สวมแว่น เป็นทั้งวีรบุรุษในการปฏิวัติและนักวิชาการที่ต่อสู้เพื่อผู้คน

สำหรับคนบ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เขาเป็นอาจารย์จิตร ที่เป็นตัวละครสำคัญในประวัติศาสตร์ของชุมชน ในเวลาเดียวกัน เขาเป็นเจ้าพ่อจิตร ซึ่งเป็นวิญญาณผู้พิทักษ์ ที่อาจบอกคนว่าจะชนะหวยได้อย่างไร หากผู้คนถวายบุหรี่และเบียร์แดง เช่นไฮเนเกน ที่เจดีย์ ณ วัดประสิทธิสังวร ซึ่งอัฐิของฝังอยู่

ในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์ จิตรละทิ้งงานที่เป็นวิชาการ เช่น โฉมหน้าศักดินาไทย และความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และคุณลักษณะที่สำคัญของชนชาติ กับวงวิชาการไทย

จิตรเป็นทั้งนักคิด กวี และนักแต่งเพลง เพลงของเขาเป็นที่จดจำและร้องจนทุกวันนี้ เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ที่ปรากฏในการประท้วงทางการเมืองเกือบทุกกุลุ่ม จิตรเขียนทั้งเนื้อเพลงและดนตรีให้กับเพลงของเขาส่วนใหญ่ ยกเว้นบางเพลงที่เขาใช้ท่วงทำนองที่มีอยู่แล้ว เขาเป็นทั้งนักดนตรีที่มีความสามารถ และเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีไทยเดิมในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนเขาเป็นนักศึกษา และพิพิธภัณฑ์กรรมกรไทยได้เก็บรวบรวมเครื่องจะเข้ที่เขาเคยแต่งเพลงไว้ด้วย จิตรเคยวิพากษ์ดนตรีไทยเดิม และหนังสือศิลปะเพื่อชีวิต และศิลปะเพื่อประชนเป็นหนึ่งในงานที่สำคัญที่สุด

ดนตรีของจิตรได้สะท้อนถึงความคิดทางการเมือง โดยเฉพาะข้อเสนอของเขาในศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน ที่มองว่าศิลปะจะต้องรับใช้ประชาชน ดังนั้นเพลงของเขาจึงเรียกร้องให้ผู้ฟังต่อสู้แก่ชนชั้นล่างและชนชั้นแรงงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมกร ทุกวันนี้เพลงของจิตรยังถูกรำลึกว่าเป็นสัญลักษณ์ของการขัดขืนทางการเมืองหรือการต่อสู้ทางการเมือง

จิตร ภูมิศักดิ์ ที่มหาวิทยาลัยลาดยาว

การเขียนเพลงของจิตรทำให้เราย้อนกลับไปในปี 1956 ตอนที่เขาเป็นนักศึกษาที่จุฬาลงกรณ์ จิตรเขียนเพลงประมาณ 20 เพลงทั้งชีวิต และแม้กระทั่งงานช่วงแรกๆของเขาก็สะท้อนความคิดเชิงสังคมนิยม เช่น เพลงมาร์ชกรรมกร  ที่เขาเขียนราวๆปี 1956-57 ที่ใช้ในการสรรเสริญพระราชบัญญัติกรรมกร ในปี 1957 เพลงนี้อุทิศให้ชนใช้แรงงานและเรียกร้องให้พวกเขารวมพลังกัน เพลงมาร์ชแอนตี้จักรวรรดินิยม ซึ่งเขียนราวๆปีที่เขียนมาร์ชกรรมกร ที่เรียกร้องให้คนไทยปลดแอกอิทธิพลของอเมริกา เพราะจิตรเห็นว่าสหรัฐและประเทศอาณานิคมกำลังเข้ามาครอบครองเศรษฐกิจไทย

ในปี 1958 จิตรถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เขาถูกจับและขังไว้ที่คุกลาดยาว ซึ่งเป็นที่จิตรและเพื่อนร่วมคุกเรียกชื่อว่า มหาวิทยาลัยลาดยาว และในช่วงที่ถูกคุมขังนี้เองที่จิตรเขียนเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา เช่น แสงดาวแห่งศรัทธา, เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ, และทะเลชีวิต ในขณะที่เพลงเหล่านี้ไม่ใช่เพลงมาร์ช และไม่ได้เรียกร้องให้จับอาวุธ แต่เพลงเหล่านี้ยังคงแสดงถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของจิตร และเป็นเพลงที่แสดงถึงความอดทนในเวลาที่ไม่มีความหวัง ที่คนคนนั้นไม่รู้จะต่อสู้ได้อย่างไร ยกตัวอย่างเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา เขากล่าวว่า ดวงดาวแห่งศรัทธายังคงส่องแสง และนำจิตใจของประชาชน ถึงแม้ว่าจะมีความยากลำบากและอุปสรรคเพียงใดก็ตาม

Atibhop Pataradetpisan กล่าวว่าดวงดาวเป็นสัญลักษณ์ของการหวนคืนมาต่อสู้ในเพลงหลายเพลง หรืออย่างเพลงทะเลชีวิต ที่เป็นเพลงให้ผู้ร่วมคุกให้มาแบ่งปันอุดมการณ์ของเขา ด้วยคำพูดว่า “ฉันขอให้ดวงดาวมีความเมตตา โปรดนำเพื่อนของฉัน ให้พลังกับพวกเขาในการต่อสู้กับอันตราย จนกระทั่งพวกเขาฝ่าฟันมันไปได้” Atibhop เสนอว่า เพราะดาวแดงเป็นสัญลักษณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ปรากฎในเพลงปฏิวัติ ดังนั้นดาวที่ปรากฏในเพลงของจิตรจึงไม่เหมือนกับดาวดวงอื่น แต่เป็นดาวแดงของพรรคคอมมิวนิสต์นั่นเอง

จิตรยังเขียนบทละครให้คนที่ถูกคุมขังที่ลาดยาวเล่น และเขายังเขียนเพลงรักอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเป็นเพลงมาร์ช  แต่ก็มีกลิ่นอายของอุดมการณ์สังคมนิยมอยู่ด้วย เช่นเพลงอาณาจักรแห่งความรัก ที่ไม่ใช่เป็นเพลงโรแมนติกเท่านั้น แต่ยังเป็นเพลงรักเพื่อชนชั้นล่าง เพลงกล่าวว่า “รักที่แท้จริงมาจากใจที่โผบินในท้องฟ้า ราวกับนกกำลังโผบิน อาณาจักรแห่งรักเผื่อแผ่ไปถึงประชาชน” และกระตุ้นให้ผู้ฟังโดยการกล่าวคำว่า “หนึ่งชีวิตใช่จะไร้ค่า อยู่รออนาคตสดใส แผ่คามรักอันไม่จำกัดออกไป เพื่อหัวใจของคนที่ทุกข์ยากจากแผ่นดิน”

สหายปรีชา

ในปี 1964 หลังจากที่เขาออกจากคุก จิตรเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขาจึงเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น สหายปรีชา และเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังพรรค ทำงานในพื้นที่ภูพานในจังหวัดสกลนคร

จิตรรับภาระในการเขียนเพลงปฏิวัติให้กับพรรค เพราะว่าในตอนนั้นพรรคกองกำลังปลดแอกยังไม่มีเพลงเป็นของตนเอง นี่คือเหตุผลว่าทำไมจิตรจึงเขียนเพลงมาร์ชจำนวนมากที่ภูพาน ทำไมเพลงที่เขียนสำหรับพรรคจึงเป็นการเปิดเผยถึงขบวนการคอมมิวนิสต์มากกว่างานช่วงแรกๆ

เพลงมาร์ชกองทัพปลดแอกเพื่อประชาชน เป็นเพลงที่เขียนตอนรับใช้พรรคฯ คำที่กล่าวว่า “พรรคจะนำประชาชนชาวไทยไปสู่สงครามปฏิวัติ จงตามพรรคด้วยหัวใจ, ศรัทธา, และกล้าหาญ” ในเพลงภูพานปฏิวัติ ก็เป็นอีกเพลงหนึ่งที่เขียนให้กับพรรคฯ เขาบรรยายถึงธงพรรคโบกไสวเหนือภูเขา  “จงต่อสู้กับพายุโดยไม่มีความกลัว” และกองทัพปลดแอกเพื่อประชาชน ก็ “เป็นทหารของประชาชน” ที่จะเดินทางไปทุกๆที่ ที่ยืนหยัดมั่นคงเหมือนไม่มีความหวาดกลัวดังเช่นภูพานนั้นเถิด” หลังจากได้แรงบันดาลใจจากไฟป่า เขาก็ใช้ภาพลักษณ์ของไฟเพื่อบรรยายการปฏิวัติที่แผ่ขยายไปสู่แผ่นดิน

เมื่อเปรียบเทียบกับงานยุคแรกๆของเขา จะมีงานอยู่ 2 ชิ้นที่สนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ ยกตัวอย่างคือเพลงวีรชนปฏิวัติ ที่จิตรเขียนช่วงขังคุก เขาได้รับการดลใจโดยนายครอง จันดาวงศ์ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมถูกขังคุกและถูกสั่งฆ่าโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ในเดือนพฤษภาคม ปี 1961 จิตรเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อผู้ปฏิวัติ Vorasakdi Mahatdhanobol กล่าวว่า ถึงแม้ว่าเพลงจะเขียนให้ต่อสู้กับระบอบเผด็จการ แต่มันไม่เคยพูดถึงพรรคฯ แม้กระนั้นจิตรจะเข้าร่วมพรรคฯเมื่อปี 1953 ก็ตาม

แต่จิตรก็ไม่ใช่เขียนเพลงเพื่อการปฏิวัติเพื่อการแสดงถึงสังคมนิยมแต่เพียงอย่างเดียว แม้กระทั่งเพลงรัก เช่น อาณาจักรแห่งความรัก ที่กล่าวถึงข้างบน หรือเพลงจอมใจดวงแก้ว ก็มีการอ้างอิงถึงการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประชาชน เพลงจอมใจดวงแก้ว ที่เขาเขียนให้สหายชื่อกลาโหมแต่งให้ก่อนลาจากคู่รัก เพลงกล่าวถึงการปฏิวัติที่ต้องทิ้งคนรักไว้เบื้องหลัง ผู้ร้องกล่าวว่าความรักของเขาจะไม่ไปไหน เพราะความทุกข์ยากมาพร้อมกับความยากจน ผู้ร้องกล่าวกับคนรักว่าเขาต้องไปร่วมกับกองทัพประชาชน ด้วยการคาดหมายว่าเมื่อมีการปฏิวัติของประชาชน พวกเขาจะได้กลับมาเจอกัน

จิตรใช้คำแนะนำของตนเอง ที่เขาเสนอในศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน อุดมคติทางศิลปะของเขา ที่ต้องการจะรับใช้คนธรรมดาสามัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมต้องสร้างสิ่งที่ดีขึ้น เป็นแก่นในการเขียนเพลง โดยการเขียนเกี่ยวกับความคิดสังคมนิยม, โดยการเขียนเกี่ยวกับความทุกข์ยาก, และเรียกร้องเสรินิยม จิตรกำลังใช้ศิลปะเพื่อใช้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างสังคมให้ดีขึ้น

ความตายและการเกิดใหม่

หากเขายังอยู่จนทุกวันนี้ จิตรจะมีอายุ 80 ปี

ไม่มีใครรู้ว่าจิตรจะคิดอะไรเกี่ยวกับประเทศไทยในยุคนี้ หากเขาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ 50 ปีที่แล้ว หรือมากกว่า ไม่มีใครรู้ว่าจิตรจะเลือกหางด้านไหน แต่สิ่งที่เราเห็นคือเรื่องราวของจิตรถูกเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีก ตอนนี้เขาถูกจดจำในเรื่องสัญลักษณ์ของคนที่เด็ดเดี่ยว ในขณะที่ความคิดเรื่องคอมมิวนิสต์ของเขาถูกทิ้งไป

ดังที่ Smanachan Buddhajak ให้ข้อโต้เถียงว่า จิตรเป็นที่รู้จักกันในนามตอนตายมากกว่าตอนเป็น การเกิดใหม่ของเขาจะอยู่ในช่วงราวๆการโต้สู้ 14 ต.ค. ปี 1973 โดยการผ่านการพิมพ์งานของเขา การพิมพ์งานสร้างภาพลักษณ์ว่าจิตรเป็นศิลปินที่ต่อสู้เพื่อประชาชน นักประวัติศาสตร์ชื่อชาญวิทย์ เกษตรสิริ กล่าวว่า “เหตุผลที่จิตรเกิดอีกครั้งหลังจากการประท้วง 14 ต.ค. ปี 1973 เพราะเยาวชนได้ไปขุดค้นงานของเขา เขาจึงเป็นนักคิด, ผู้เขียน, และนักปฏิวัติ ด้วยเหตุผลข้อนี้ สิ่งที่เขาทำระหว่างปี 1947 และ 1957 ที่ถูกลืมในยุคเผด็จการสฤษดิ์-ถนอม จึงกลับมาเฉิดฉายอีกครั้งหนึ่ง”

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่จิตรเป็นนักปฏิวัติยังเป็นที่จดจำ แต่ความเป็นคอมมิวนิสต์ของจิตรกลับไม่มีใครพูดถึง Thikan Srinara นำเสนอว่า การฟื้นฟูงานเขียนของจิตร และการพิมพ์ประวัติของเขานำไปสู่การลบบทบาทของเขาด้านขบวนการคอมมิวนิสต์ไป หากจะไปดูที่การอ้างอิงของสมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ในงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกแล้ว การที่ Thikan โต้เถียงว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้จิตรมีชื่อเสียงหลังจากการประท้วง 14 ต.ค. ก่อนที่จะลบภาพลักษณ์การเป็นคอมมิวนิสต์หลังจากปี 1977 ในขณะที่งานเชิงวิชาการตีพิมพ์มากกว่างานเชิงปฏิวัติ ผู้คนจึงมองชีวิตของจิตรเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ใช่เป็นนักปฏิวัติหัวเอียงซ้าย

ทั้งหมดนี้คือความพยายามในการสร้างตัวตนใหม่ของจิตรในแง่นักวิชาการและนักต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งทำให้เรื่องราวของจิตรและดนตรีของเขาปรากฏในการประท้วงทางการเมืองของชนเกือบทุกกลุ่ม สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้ให้ข้อคิดว่า เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา เป็นเพลงที่ถูกร้องเกือบทุกๆการประท้วง ตั้งแต่กุล่มเสื้อแดงไปจนถึงกปปส.  ไปถึงขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มพันธมิตร

กลุ่มพวกนี้ทั้งหมดมีประเด็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน และไม่มีทางหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ดังที่จิตรเคยเจอช่วงที่ยังอยู่ได้ อย่างไรก็ตามภาพลักษณ์ของจิตรจะถูกอ้างอิงถึงและถูกใช้โดยพวกเขา

แม้กระนั้นการลบตัวตนของความเป็นคอมมิวนิสต์ตามที่ Thikan อ้างถึง แต่ Atibhop โต้เถียงว่ามีทางเป็นไปได้ที่ความเป็นนักต่อสู้ทางการเมืองจะยังคงมีความสำคัญ และมีประสิทธิภาพในการทำให้ผู้คนออกมาประท้วง เพราะว่ากลุ่มนี้หลายกลุ่มยังคงต่อต้านอำนาจรัฐ เพราะด้วยสิ่งนี้ จิตรในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ต่อต้านรัฐยังคงมีความสำคัญเสียยิ่งกว่าเขาเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่เพียงแต่เสื้อแดงก็อ้างอิงว่าจิตรเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์ และความหมายของเพลงแสงดาวแห่งศรัทธายังถูกลดทอนให้เป็นการต่อสู้ของปัจเจกบุคคลต่อความคิดที่เป็นนามธรรม มากกว่าการปฏิวัติทางสังคมเสมอไป

จากวันที่ตาย จิตร ภูมิศักดิ์ได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จากนักต่อสู้คอมมิวนิสต์ที่ถูกลบเลือน และถูกฆ่าตายที่ชายป่า ต่อมาจิตรกลายมาเป็นวีรบุรุษเชิงปฏิวัติ ต่อมาเป็นความทรงจำร่วมว่าเป็นศิลปิน, นักคิดที่ต่อสู้เพื่อสิ่งที่เขาเชื่อ  และเขาต้องเกิดซ้ำใหม่ซ้ำอีก โดยนัยทางนี้เขาจึงเป็นอมตะ ดังที่ชาญวิทย์กล่าวว่า “ทุกๆคนได้รับแรงดลใจจากจิตร ทุกๆคนจะเรียนรู้จากจิตร จะมีคนที่แบกรับแรงบันดาลใจ...ประชาชนและสังคมจะไม่มีทางลืมเขาไปได้ มีความเชื่อกันว่าในอนาคตจะมีคนที่ต้องเรียนรู้จากเขาแน่นอน”

 แปลและเรียบเรียงจาก

Anna Lawattanatrakul. A Revolution in Song: remembering  Jit Phummisak through music.

https://prachatai.com/english/node/8041

หมายเลขบันทึก: 682180เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2020 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2020 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท