รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ แบบยืดหยุ่น



รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ แบบยืดหยุ่น


Model Flexible Learning


คำนำ

     รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนในด้านพุทธพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยสำหรับนักศึกษา โดยมีความยืดหยุ่นที่สำคัญ 3 มิติ คือ ด้านเวลา ด้านเนื้อหา และด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนและการจัดทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน คือ ก่อนการเรียนรู้ในชั้นเรียน การเรียนรู้ในชั้นเรียน และหลังการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยเทคนิคหรือวิธีการสอนไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่ดีที่สุด หากแต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอน ที่ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ตลอดเวลา ตามความเหมาะสม ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาและการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปได้เป็นอย่างดี

ดร.นันทวัน ทองพิทักษ์


คำจำกัดความ
ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น

   การจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น หมายถึง กระบวนการ กิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความรู้ ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลา สถานที่ เนื้อหาวิธีการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ รวมถึงการประเมินผลการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนทำการแสวงหาความรู้ได้อย่างอิสระ ที่มีลักษณะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามศักยภาพ มีอิสระในการเรียนรู้ รวมไปถึงส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบ

   รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น หมายถึง ขั้นตอน และวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ โดยมีโครงสร้างแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย โดยผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ เนื้อหา การประเมินผลการเรียนรู้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ซึ่งรูปแบบประกอบด้วย หลักการวัตถุประสงค์ กระบวนการ เงื่อนไขการใช้รูปแบบ และแนวทางการใช้รูปแบบ

  1.    ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ มิติความยืดหยุ่น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเวลา ด้านเนื้อหา และด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ดังนี้
               ด้านเวลา (Time) ประกอบด้วย การกำหนดเวลาในการเข้าชั้นเรียน (Startinglearning) การกำหนดเวลาเลิกเรียนแต่ละครั้ง (Finishing learning) เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน
    แต่ละครั้ง (Tempo of studying)
              2. ด้านเนื้อหา (Contents) ประกอบด้วย การจัดลำดับเนื้อหาสาระตามความยากง่าย (Sequence of different parts of content) การประเมินความรู้พื้นฐานเดิมของผู้เรียน (Assessment of background knowledge) การเพิ่มเติมเนื้อหา สาระ (Additional content)
              3. การจัดการเรียนการสอนและการจัดทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ (Instructional approaches and resource) ประกอบด้วย ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย (A variety of teaching methods) สร้างแรงจูงในการเรียนรู้ (Motivation to learn) การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการแนะนำวิธีใช้สื่อต่างๆ (Methods, Technology for learning)

หมายเลขบันทึก: 680440เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2020 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2020 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท