ยศของเจ้านายในราชสกุล


ยศของเจ้านายในราชสกุล มีอยู่ 2 ประเภท

  1. 1. สกุลยศ
  2. 2. อิสริยศ

สกุลยศ หมายถึง ยศของผู้เกิดเป็นเจ้าในราชสกุล ได้แก่ พระราชโอรส  พระราชธิดา  พระราชนัดดา

ผู้เกิดในราชสกุล เจ้าสกุลยศชั้นสูงเรียกว่า เจ้าฟ้า

เจ้าฟ้ามีศักดินาต่างกัน 2 ชั้น

ชั้นที่ 1 คือ เจ้าฟ้าซึ่งพระราชมารดาทรงเป็นอัครมเหสีหรือราชธิดา เรียกว่า ทูลกระหม่อม

ชั้นที่ 2 คือ เจ้าฟ้าซึ่งพระราชมารดาทางศักดิ์รองลงมา เรียกว่า สมเด็จ

ราชสกุลยศรองจาก เจ้าฟ้า คือ พระองค์เจ้า

พระองค์เจ้า มี 3 ชั้น

ชั้นที่ 1 คือ พระราชบุตรและพระราชธิดาอันเกิดจากสนม

ชั้นที่ 2 คือ พระราชนัดดาซึ่งพระธิดาเป็นเจ้าฟ้าและพระมารดาเป็นเจ้าฟ้า

ชั้นที่ 3 คือ พระราชนัดดาซึ่งพระบิดาและพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าด้วยกันหรือพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นที่ 1 แต่พระมารดาได้เจ้า

ราชสกุลยศรองจาก พระองค์เจ้า เรียกว่า หม่อมเจ้า

หม่อมเจ้า เป็นราชโอรสหรือพระราชธิดาของเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าโดยสกุลยศ

หม่อมราชวงศ์ เป็นราชโอรสหรือธิดาของหม่อมเจ้าหรือพระองค์เจ้าที่มาจากการแต่งตั้ง

หม่อมหลวง เป็นโอรสหรือธิดาของหม่อมราชวงศ์ถือเป็นสกุลยศชั้นสุดท้าย

อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจาแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายในราชสกุลที่มีความดีความชอบในราชการให้มีศักดิ์สูงขึ้นเป็นบำเหน็จรางวัล โดยสถาปนาให้ทรงกรม

ในสมัยอยุธยา แบ่งเป็น 4 ชั้น

กรมหมื่น      เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระองค์เจ้า

กรมขุน           เป็นพระอิสริยยศสำหรับเจ้าฟ้าราชกุมาร

กรมหลวง        เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระมเหสี

กรมพระ         เป็นพระอิสริยยศสำหรับสมเด็จพระพันปีหลวง พระมหาอุปราช

(กรมพระราชวังบวรสถานมงคลและกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

หมายเลขบันทึก: 678037เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2020 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2020 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท