การเลี้ยงแฮมสเตอร์


 การเลือกสายพันธุ์

  1. หนูแฮมเตอร์ สายพันธุ์ Syrian hamster มีความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีความเชื่องมากที่สุดและขนาดที่ใหญ่จับถนัดมือเวลาเล่น        ไจแอนท์สามารถแยกได้เป็นอีก 2 สายพันธุ์ย่อยคือ ไจแอนท์ไทยที่มีขนาดประมาณ 11-18 ซม. และไจแอนท์ยุโรปที่มีขนาดใหญ่กว่า
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.petloverscentre.co.th/Forms/News.aspx?nID=25&action=detail

2.หนูแฮมเตอร์ สายพันธุ์ Winter White hamster เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กรองลงมาแต่ยังมีคนนิยมเลี้ยงเป็นอย่างมากเช่นกันและมีความเชื่องพอ ๆกับไจแอนท์

ขอบคุณรูปภาพจาก https://pet.kapook.com/view92160.html

3.หนูแฮมเตอร์ สายพันธุ์ Roborovski hamster เป็นสายพันธุ์ที่ว่องไวตัวเล็กชอบอยู่เป็นฝูง แต่สามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ยากคนจึงนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นแต่สามารถฝึกให้เชื่องได้

ขอบคุณรูปภาพจาก https://bonlovepet.wordpress.com/

ข้องควรระวังและต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

การเลี้ยงแฮมสเตอร์ควรเลี้ยง 1 ตัวต่อ 1 กรง เนื่องจากแฮมสเตอร์เป็นสัตว์หวงถิ่นหากมีแฮมสเตอร์ตัวอื่นเข้ามาจะเกิดการกัดกันทำให้เกิดบาดแผลหรือตายได้ ยกเว้น สายพันธุ์ Roborovski ที่สามารถเลี้ยงรวมได้แต่ต้องเป็นพี่น้องที่โตมาด้วยกัน

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงแฮมสเตอร์

1.กรง (ไจแอนท์ควรเป็นกรงขนาด 60 ซม. ขึ้นไปเพราะตัวใหญ่ต้องการพื้นที่มาก หากพื้นที่เล็กไปอาจเกิดความเครียดและตายได้)

2.ขวดน้ำ

3.ห้องน้ำและทรายอาบน้ำ

4.อาหาร

5.รองกรง เช่น ก้านปอ ขี้เลื่อย เคธี่(เยื่อกระดาษ)

6.จักรวิ่ง (ไจแอนท์ควรมีขนาด 19 ซม.ขึ้นไป)

7.บ้านหรือที่ทำรัง

รองกรงแนะนำ

ก้านปอ สามารถดูดซับกลิ่นและน้ำได้ดี มีราคาถูกแต่อาจแข็งทิ่มน้องได้ ราคาประมาณ 70-90 บาท (1 กก.)

เคธี่ เป็นเยื่อกระดาษสามารถดูดซับกลิ่นและน้ำได้ดี สามารถนำไปทำรังได้ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย แต่มีราคาสูง ประมาณ  220 – 300 บาท


อาหารที่แนะนำ

Hamster nature
crispy muesli














การเลี้ยงดูเบื้องต้น

แฮมสเตอร์เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน ดังนั้นแฮมสเตอร์จะนอนหลับในตอนกลางวันและตื่นในตอนกลางคืน ไม่ควรไปรบกวนเวลานอน

เมื่อรับน้องมาเลี้ยงสิ่งแรกที่ควรทำคือ ให้น้องได้ปรับตัวโดยการไม่ไปยุ่งกับน้อง เพราะน้องอาจเกิดความจากการแยกจากเพื่อนหรือพ่อแม่ ให้น้องได้ปรับตัวได้สำรวจที่อยู่ใหม่เป็นเวลา 2-3 วัน 

เมื่อผ่านช่วงปรับตัวไปแล้วควรเริ่มด้วยการฝึกให้เชื่อง (แต่หากน้องยังมีความเครียดอยู่ควรให้เวลาน้องปรับตัวเอก) การฝึกแฮมสเตอร์ให้เชื่องนั้นสามารถทำได้โดยการ จับน้องบ่อย ๆชนน้องเคยชินอาจจะเป็นการจับน้องขึ้นมาแล้วป้อนอาหารน้องจากมือ ทำแบบนี้สม่ำเสมอแล้วน้องจะเชื่องเอง ที่สำคัญผู้เลี้ยงจะต้องมีความอดทนในการฝึกและไม่ล้มเลิกการฝึก

สิ่งที่ควรรู้

แฮมสเตอร์ไม่เฉามือ จับบ่อยแค่ไหนก็ได้ยิ่งจับยิ่งเชื่อง แต่ควรให้เวลาน้องพักผ่อนด้วยหากไม่ได้พักผ่อนจะเกิดความเครียด

แฮมสเตอร์จะมีอายุขัย ประมาณ 2-2 ปีครึ่ง หากแฮมสเตอร์ป่วยจะต้องได้รับการรักษาจากคลีนิครักษาสัตว์พิเศษ

หมายเลขบันทึก: 677107เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2020 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2020 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท