ช่องว่างของยุคสมัย


    ตั้งแต่เก่าก่อน อิงจากศิลาจารีกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือมักรู้จักกันในชื่อ "จารึกพ่อขุนรามคำแหง" ข้อความส่วนนึงปรากฏไว้ว่า 

“…ในปากประตูมีกะดิ่งอันณึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่างเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไว้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม”

ข้อความในข้างต้นหากแปลออกมาเป็นภาษาไทยในปัจจุบันจะได้ความว่า "ที่ปากประตูมี "กระดิ่ง" แขวนเอาไว้ ไพร่คนใดมีเรื่องทุกข์ร้อนก็ไปสั่นกระดิ่งอันนั้น เมื่อเจ้าเมืองคือพ่อขุนรามคำแหงทรงได้ยินก็จะเสด็จมาดำเนินการพิพากษาความด้วยพระองค์เอง"  โดยข้อความจะสื่อถึงกษัตริย์หรือพ่อขุนรามคำแหงที่ทรงมีความเป็นห่วงเป็นใยประชาชน หากประชาชนเดือดร้อนหรือมีเรื่องทุกข์อันใดก็จะสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และได้รับการตัดสินโดยมีกษัตริย์ทรงเป็นคนดำเนินพิพากษาความด้วยพระองค์เอง

          สัญลักษณ์ของยุคสมัยนั้นก็คือ "กระดิ่ง" ที่แสดงออกถึงความใกล้ชิดของประชาชนที่มีต่อกษัตริย์หรือเหล่าผู้ปกครองในดินแดนนั้น ดั่งกับผู้เป็นพ่อดูแลเอาใจใส่ต่อบุตร

          กลับกันในปัจจุบัน มีเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นและจบไป โดยทิ้งบาดแผลเอาไว้ให้กับประชาชนหรือประชาชนอาจลืมเหตุการณ์นั้นไปด้วยความเคยชิน หากสังเกตในปัจจุบันจะพบว่า การเปลี่ยนผลัดของยุคสมัยได้ทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างประชาชนกับผู้มีอำนาจปกครองมากขึ้น มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แย่งชิงอำนาจ การทะเลาะเบาะแว้ง และการหลอกหลวง กลับเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน การที่ผู้มีอำนาจจะมารับฟังประชาชนอย่างเอาใจใส่ จึงเป็นไปไม่ได้เลย สัญลักษณ์อันเก่าแก่ที่บรรพบุรุษพยายามรักษาและสืบทอดตลอดมาจึงกลายเป็น " ก ร ะ ดิ่ ง ที่ ไ ร้ เ สี ย ง " ที่ต่อให้สั่นกระดิ่งแรงเท่าใด ก็ไม่มีใครออกมา

          แต่ในท้ายที่สุดประชาชนก็ได้เลือกเส้นทางใหม่เพื่อให้เหตุการณ์ไม่เกิดขึ้นซ้ำเดิม ก้าวไปข้างหน้าเพื่อให้เสียงของเขาที่ไม่ใช่กระดิ่งที่ไร้เสียงอีกต่อไป หากเป็น " กลอง " ที่ไม่ใช่แค่คนๆเดียวที่ตีมัน แต่เป็นคนทุกคนที่เห็นต่างและสนับสนุนช่วยกันผลัดไม้ผลัดมือตีลงบนหน้ากลองนั้น กลองที่ส่งเสียงดังสนันเพื่อลบช่องว่างเกิดขึ้นและให้ประชาชนได้รับสิทธิเสรีภาพในการพูดอีกครั้ง กลองตัวนั้นมีชื่อว่า " อินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย "

หมายเลขบันทึก: 677102เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2020 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2020 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท