ยุทธศาสตร์สื่อสารองค์กร



วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓ ผมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ในฐานะที่ปรึกษา โดยผมประชุมแบบ ออนไลน์    

มีวาระขอคำแนะนำ เรื่อง แผนยุทธศาสตร์การสื่อสารองค์กรที่เจ้าหน้าที่นำเสนออย่างมืออาชีพ    รวมทั้งมีคณะอนุกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ช่วยให้คำแนะนำ     มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารไว้ ๘ กลุ่มชัดเจนมาก   

เนื่องจากหัวข้อเป็นเรื่อง “การสื่อสารองค์กร”     เป้าหมายของผู้รับผลดีจากการสื่อสารจึงเป็นองค์กร ซึ่งในที่นี้คือ กสศ.    ผมจึงเสนอแนวคิดแบบ lateral thinking ว่า    ไม่น่าจะเน้นสื่อสาร กสศ.    แต่ควรเน้นการสื่อสารความเท่าเทียม/ความเหลื่อมล้ำ ด้านการศึกษา     สื่อสารคุณค่าของความเท่าเทียม และโทษของความไม่เท่าเทียม    สื่อสารให้เห็นว่าผู้คนและฝ่ายต่างๆ ในสังคมสามารถช่วยกันยกระดับความเท่าเทียมนี้ได้อย่างไร    สื่อสารให้เห็นว่า กสศ. ทำหน้าที่เชื่อมโยงฝ่ายต่างๆ เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร   

คนก็จะเห็นว่า กสศ. เป็น “ตัวคูณ”   ไม่ใช่ “ตัวบวก”    มีคุณค่ามากกว่ากันมาก     

ผมมองว่า กสศ. ทำหน้าที่ “ตัวคูณ” จริงๆ    และคณะกรรมการบริหารที่มี ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นประธาน ก็กำหนดทิศทางให้ กสศ. ทำหน้าที่เช่นนั้น  

การสื่อสารองค์กร ก็จะกลายเป็นการสื่อสารเพื่อรวมพลังสังคม    เป็นการสื่อสารที่ใช้จิตใหญ่ มองที่สังคม    ไม่ใช่สื่อสารแบบจิตเล็ก มุ่งตัวเอง   

เป็นการสื่อสารการดำเนินการเพื่อบรรลุ purpose (เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่) ขององค์กร    ไม่ใช่เพียงบรรลุ goals ที่เป็นเป้าหมายจำเพาะ  

Branding  และความน่าเชื่อถือจะมาเอง    หากองค์กรดำเนินการและสื่อสารเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่    ให้ได้ใจผู้คนฝ่ายต่างๆ ในสังคม

จึงควรเปลี่ยนชื่อ ฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็น ฝ่ายสื่อสารสังคม (Public communication)

วิจารณ์ พานิช

๒๖ มี.ค. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 676980เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2020 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2020 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท