จักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire)


จักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire)

คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมา

ในบริเวณที่ราบสูงอิหร่านถิ่นกำเนิดของเปอร์เชียและไกลไปทางเอเชียตะวันตก,เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส 

จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) 

หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนียจักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์(550–330ปีก่อนคริสต์ศักราช) 

เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราชและพระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช 

ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญองรัฐกรีกโบราณ บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) 

ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน

จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส(Medes)และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลาง

ที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโลเนีย,อัสซีเรีย,ฟินิเซียและลิเดีย

หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช

แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียนและจักรวรรดิซาสซานิยะห์แห่งอิหร่านที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆเช่นจักรวรรดิทาฮิริยะห์,จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุคและจักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน

จักรวรรดิต่างๆที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม ค.ศ. 1935 เรียกรวมกันว่า “จักรวรรดิเปอร์เชีย” โดยนักประวัติศาสตร์ตะวันตก จักรวรรดิต่างๆ เหล่านี้เกือบทุกจักรวรรดิเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในบริเวณที่ปกครอง และบางจักรวรรดิก็เป็นมหาอำนาจของโลกในสมัยที่รุ่งเรือง

ประวัติศาสตร์เปอร์เซีย

ขณะที่บาบิโลนครองความเป็นใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของราชอาณาจักรเก่าของอัสซีเรีย พวกมีเดียครองความเป็นใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ สองจักรวรรดินี้ตั้งอยู่คู่เคียงกันเป็นเวลานานประมาณเจ็ดสิบปีโดยไม่มีการ สู้รบกันอย่างเปิดเผย

ในปี ก่อนค.ศ. 550 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น อัสทียาเกส (Astyages) แห่งมีเดียยกทัพไปต่อสู้กับพวกเอลาม ซึ่งตอนนั้นกษัตริย์ไซรัส (Cyrus) แห่ง เปอร์เซียปกครองอยู่ การสู้รบกันครั้งนี้ปรากฎว่ากองทัพมีเดียปราชัยยับเยิน เพราะกษัตริย์ไซรัสทรงเดชานุภาพและเป็นที่นิยมรักใคร่ของประชาชนเกินกว่าที่ จะเอาชนะพระองค์ได้ ไซรัสทรงสามารถขับพวกมีเดียให้ล่าทัพกลับ แล้วตามไปโจมตีถึงในดินแดนของชาวมีเดียจนได้ชัยชนะ อีกไม่นานไซรัสก็ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ในเอคบาทานา (Ecbatana) และอ้างว่าพระองค์มีอำนาจในจักรวรรดิมีเดีย

นาโบนิดัด (Nabonedus) แห่ง บาบิโลนกลัวว่าไซรัสจะยกทัพเลยเข้ามาโจมตีจักรวรรดิของพระองค์ ซึ่งก็เป็นความจริงเช่นนั้น พระองค์จึงได้ร่วมกับผู้นำมิตรประเทศ ได้แก่ อามาซิส (Amasis) แห่งอียิปต์ และ โครเอซัส (Croesus) แห่งลิเดียจัดตั้งกองกำลังเพื่อป้องกันประเทศของพวกตน กษัตริย์ไซรัสบุกเข้ายึดซารดิส (Sardis) เมืองหลวงของลิเดียได้เป็นแห่งแรกในปี ก.ค.ศ. 547 พอถึงปี ก่อน ค.ศ. 539 ไซรัสทรงยกทัพเข้าโจมตีบาบิโลนโดยตรง เวลานั้นประชาชนชาวบาบิโลนไม่นิยมเลื่อมใสในตัวกษัตริย์นาโบนิดัด เพราะนอกจากพระองค์จะเป็นชาวอารัมที่มาจากเมืองฮารานซึ่งไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ แคลเดียแห่งบาบิโลนแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ยอมสักการะเทพเจ้ามาร์ดุกอีกด้วย จึงทำให้พวกปุโรหิตของพระมาร์ดุกไม่ชอบพระองค์ นาโบนิดัดเลื่อมใสศรัทธาพระสิน (Sin) ซึ่งเป็น เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เทพองค์นี้มีวิหารอยู่ที่เมืองฮาราน ก่อนหน้านั้นหลายปี คือก่อนที่กษัตริย์ไซรัสจะยึดเอคบาทานาได้นาโบนิดัดปล่อยให้เบลชัสซาร์โอรสของพระองค์ปกครองประเทศแทน ผลที่ตามมาก็คือไม่มีการฉลองเทศกาลปีใหม่ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี เพราะเทศกาลนี้กษัตริย์จะต้องเป็นผู้นำในพิธีรื้อฟื้นความเป็นผู้นำประเทศ เรื่องนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจนาโบนิดัดอย่างมาก ดังนั้นเองจึงไม่เตรียมตัวเตรียมใจเพื่อต่อสู้กับไซรัสอย่างเต็มกำลัง

ไซรัสรบชนะบาบิโลนที่เมืองโอปิส (Opis) บนฝั่งแม่น้ำไทกรีสเมื่อปี ก่อน ค.ศ. 539 และ อีกไม่กี่วันต่อมาแม่ทัพของพระองค์ก็ยึดกรุงบาบิโลนได้สำเร็จโดยไม่มีการ ต่อสู้มากนัก นาโบนิดัดทรงหนีเอาตัวรอดแต่ก็ถูกจับได้ ชาวบาบิโลนต้อนรับกษัตริย์ไซรัสด้วยความปีติยินดีในฐานะที่ทรงเป็นวีรชนผู้ ยิ่งใหญ่ของพวกเขาและผู้รับใช้ของพระมาร์ดุก เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมาร์ดุกกษัตริย์ไซรัสจึงทรงรื้อฟื้นเทศกาลปี ใหม่ขึ้นมาอีก และนำรูปปฏิมาของเทพเจ้าต่าง ๆ กลับไปไว้ในเทวสถานเดิมของใครของมัน หลังจากไซรัสได้บาบิโลนไว้ในความครอบครองแล้วไม่นาน บรรดาเจ้านายผู้ปกครองมณฑลต่างด้าวต่าง ๆ ก็พากันมาสวามิภักดิ์ จักรวรรดิเปอร์เซียตั้งขึ้นได้ด้วยการผนวกจักรวรรดิมีเดีย จักรวรรดิบาบิโลน พร้อมกับดินแดนอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลเข้าด้วยกัน โดยมีกรุงเอาบาทานาเป็นเมืองหลวง

จักรวรรดิ เปอร์เซียตั้งอยู่ได้นานประมาณสองร้อยปี กษัตริย์องค์หลัง ๆ ไม่ใช่นักปกครองที่ดีเหมือนไซรัส อียิปต์และกรีกเป็นศัตรูตัวฉกาจของเปอร์เซีย โดยคัมบีเซส (Cambyses) โอรสของไซรัสปราบอียิปต์ได้สำเร็จในปี ก่อน ค.ศ. 525 แต่ ประชาชนชาวอียิปต์ไม่เต็มใจอยู่ใต้ปกครองของเปอร์เซียจึงก่อการกบฏขึ้นบ่อย ๆ หลายครั้งก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศกรีก ระหว่าง ก่อน ค.ศ. 401-342 อียิปต์ได้รับอิสรภาพอีกครั้ง แต่ก็ต้องสูญเสียไปอีกก่อนที่จักรวรรดิเปอร์เซียจะถูกโค่นลง

ประเทศกรีกสร้างความเดือดร้อนให้แก่เปอร์เซียมากกว่าและเปอร์เซียก็ไม่เคยเอาชนะกรีกได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว กษัตริย์เซอร์ซิสที่ 1 (Xerxis l) เป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซียองค์แรกที่พยายามจะพิชิตกรีกให้ได้ พระองค์ยกทัพเรือไปรบกับกรีกครั้งแรกในปีก่อน ค.ศ. 480 แรกๆก็ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ถึงกับสามารถยึดกรุงเอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของกรีกได้แล้วเผาวัดวาอารามและอาคารบ้านเรือนของประชาชนที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโปลิส แต่อีกไม่นานกองทัพกรีกก็สามารถทำลายเรือรบส่วนใหญ่ของเปอร์เซียกองทัพของเซอร์ซิสที่ 1พ่ายแพ้ยับเยิน พระองค์เองก็ถูกปลงพระชนม์

อาร์ทาเซอร์ซิสที่ 1 (Artaxerxes l) ทำสงครามกับกรีกต่อไป แต่ในที่สุดก็ยอมทำสัญญาสงบศึกกันในปี ก่อน ค.ศ.449 หลังจากนั้นพวกกรีกก็รบพุ่งกันเอง เปอร์เซียจึงล่ากลับไปเฝ้าดูพวกกรีกฉีกเนื้อกันเองออกเป็นชิ้น ๆ ในสงครามที่เปโลโปนนีเชียน (Peloponnesian War ก่อน ค.ศ. 431-404) ตอน นั้นไม่จำเป็นที่เปอร์เซียต้องเข้าไปแทรกแซง ชาวกรีกเอาแต่รบกันเองจนไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่จักรวรรดิเปอร์เซีย แต่ผลสุดท้ายก็สร้างความพินาศให้แก่เปอร์เซียอยู่ดี ทันทีที่เลิกทำสงครามกันเอง พวกกรีกก็เริ่มก่อกวนสร้างความเดือดร้อนให้แก่บรรดาผู้ปกครองของเปอร์เซีย เมื่ออียิปต์เข้าร่วมผสมโรงด้วยก็ทำให้ยิ่งเดือดร้อนขึ้นกว่าเดิม ในที่สุดอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) แห่ง ประเทศกรีกก็ทำลายอาณาจักรเปอร์เซียได้สำเร็จ แล้วทรงครอบครองโลกสมัยโบราณไว้ได้ทั้งหมดตั้งแต่แม่น้ำดานูบจรดแม่น้ำอิน ดัสและเลยไปอีก

ศาสนาของชาวเปอร์เซีย

ศาสนา ดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และกสิกรรมแบบเรียบง่าย แต่ต่อมาก็มีศาสนาใหม่ ศาสนาโซโรแอสเตอร์เกิดขึ้น ศาสนานี้พัฒนาขึ้นผลงานของชายผู้หนึ่งชื่อว่า ซาราธุสตรา (Zarathustra) หัวใจ ของศาสนาโซโรแอสเตอร์อยู่ที่หนังสือศักดิ์สิทธิ์หรือพระคัมภีร์ เช่นเดียวกันกับศานายูดาย อิสลาม คริสต์ศาสนาและศาสนาของชาวตะวันออกอีกหลายศาสนา หนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มนี้เรียกว่า พระคัมภีร์อาเวสตา (Avesta) ศาสนา โซโรแอสเตอร์มีลักษณะเป็นลัทธิทวินิยม สานุศิษย์ของศาสนานี้เชื่อในอำนาจสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งดีฝ่ายหนึ่งชั่ว พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งความดีเป็นเทพผู้สูงสุด ชื่อออร์มาซด์ (Ormazd) เทพองค์นี้มีพวกอัครเทวทูตและเทวทูตทั้งหลายเป็นบริวาร และเชื่อว่ามีเทพแห่งความชั่วองค์หนึ่งชื่อ อาห์ริมาน (Ahriman) มี ภูตผีปีศาจเป็นบริวาร ศาสนาโซโรแอสเตอร์สอนว่า มนุษย์ควรจะปรนนิบัติรับใช้เทพแห่งความดี และทำตามประมวลกฎหมายอันสูงส่งซึ่งแสดงออกมาเป็นค่านิยมทางศีลธรรมแบบถ่อม ตัว ศิษยานุศิษย์ของศาสนานนี้มีความเชื่อมั่นว่า ความตายไม่ใช่การสิ้นสุดคนชอบธรรมจะได้รับชีวิตใหม่เมื่อตอนที่เทพออร์มาซด์ ทำสงครามชนะ

อารยธรรมของชาวเปอร์เซีย

อารยธรรมเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช หลัง จากที่อาณาจักรแอสสิเรียได้เสื่อมลง ชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นชนชาติอินโดยูโรเปียนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือได้สร้างอาณาจักรอยู่ทางตอนเหนือเทือกเขาตะวันออก กษัตริย์ราชวงศ์อะเคเมเนียนของเปอร์เซียได้แผ่ขยายอำนาจเข้าปกครองดินแดน ต่างๆ ด้วยความบ้าคลั่งแต่ในยุคนี้ได้มีพัฒนาการที่ทันสมัยมากขึ้นมีการผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้นอกจากนั้นยังได้มีการดัดแปลงตัวอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรของเปอร์เซีย จัด ระบบการปกครอง โดยแบ่งเป็นจังหวัด หรือมณฑล เรียกว่า

แซแทรปปี (Satrapy) นอก จากในด้านเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองแล้ว ชาวเปอร์เซียยังได้สร้างถนนใช้คมนาคมและถือว่าเป็นถนนที่ดีที่สุดในยุค โบราณ และนอกจากนั้นยังมีไปรษณีย์ติดต่อสื่อสารทางราชการอีกด้วย

สถาปัตยกรรม - สถาปัตยกรรมของชาวเปอร์เซียได้รับอิทธิพลมาจากอียิปต์และกรีก การก่อสร้างได้นำเอาวัสดุหลายชนิดมาใช้อย่างเหมาะสม เช่น ใช้หินเป็นพื้น ผนังใช้อิฐและนำเอาเสาไม้มาใช้ตกแต่ง ทำโครงเพดาน มีการตกแต่งหัวเสาและแกะเสาเป็นร่องคล้ายของกรีก

ประติมากรรม - งาน ประติมากรรมที่สำคัญของเปอร์เซีย คือ การแกะสลักหัวเสาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ มีความสวยงามและประณีตนอกจากนั้นยังรู้จักนำทองแดงและโลหะต่างๆ มาประดับแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร

ประติมากรรมที่นิยมคือแบบนูนต่ำโดยเฉพาะการแกะสลักฐานบันไดกำแพง หรือฝาผนัง เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นภาพกษัตริย์ ขุน นาง และข้าทาสบริพารหรือพิธีกรรมต่างๆ ผลงานที่โดดเด่นมักจะเป็นผลงานประเภทประณีตศิลป์ ซึ่งจะนำสัตว์มาดัดแปลงประยุกต์เป็นสิ่งของเครื่องใช้

จิตรกรรม - ผลงานด้านจิตรกรรมของเปอร์เซียมีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นการนำไปประยุกต์ ใช้กับการตกแต่งผนังภายในงานสถาปัตยกรรม รูปแบบจะมีลักษณะคล้ายกับแอสสิเรีย ศิลปกรรมเปอร์เซียเริ่มเสื่อมลงเมื่อพวกมุสลิมหรืออาหรับเข้ามามีอำนาจ ลักษณะงานศิลปะจึงได้เปลี่ยนแปลงไป

หมายเลขบันทึก: 676242เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2020 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2020 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท