พันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคม โดยมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ Community Organizer



ในการประชุมมูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๒    ศ. นพ. ประเวศ วะสี ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนไทยมีทุนปัญญาไม่ใช่น้อย    แต่ขาดทักษะในการ organize พลังในชุมชน    ชุมชนที่สมาชิกเป็นคนใช้แรงงาน มักไม่มีเวลามาทำกิจกรรม organize พลังชุมชน    มหาวิทยาลัยจึงน่าจะเข้าไปทำงาน University – Community Engagement โดยไปร่วมกับชุมชนในการฝึกทักษะการ organize หรือจัดการตนเอง

ปัจจัยหนึ่งที่น่าจะมีการจัดระบบอย่างยิ่งคือ ระบบการเงินชุมชน (community financial system)    ที่ผมเคยไปเห็นคือ กลุ่มออมทรัพย์ชุมชน ที่มีตัวอย่างต้นฉบับคือ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์จังหวัดสงขลา ที่ครูชบ ยอดแก้ว (ผู้ล่วงลับ) ริเริ่ม (๑)    ซึ่งมีการดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย เช่นที่จังหวัดตราด ภายใต้การนำของหลวงพ่อสุบิน ปณีโต (๒)     และที่อื่นๆ อีกมากมาย (๓)    ระบบนี้ช่วยให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินลงทุน โดยเสียดอกเบี้ยต่ำ    และผู้ออมทรัพย์ก็ได้รับดอกเบี้ยสูง    เพราะค่าใช้จ่ายในการจัดการต่ำ

การ organize อีกแบบคือ สหกรณ์การเกษตร แบบที่ชาวบ้านจัดการกันเอง     ไม่ตกอยู่ใต้การครอบงำโดยราชการ    ที่ชาวบ้านมีการรวมตัวกันผลิตให้ได้มาตรฐาน  และมีระบบการตลาดที่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าคุณภาพสูงในราคายุติธรรม    และเกษตรกรก็ไม่ถูกกดราคา     อย่างที่ผมไปเห็นที่ญี่ปุ่น (๔)      

การรวมตัวกัน จัดองค์กรขึ้นมาจัดการกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย เพื่อชีวิตที่ดีของชาวบ้าน    น่าจะเป็นกิจกรรม University – Community Engagement    ที่นอกจากชุมชนและชาวบ้านจะเกิดการเรียนรู้และเป็นชุมชนเข้มแข็งแล้ว    มหาวิทยาลัยก็จะได้ใช้กิจกรรมนั้นๆ เพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา    และอาจารย์ก็จะมีผลงานวิจัยได้ด้วย

วิจารณ์ พานิช

๒๔ ธ.ค. ๖๒

บนรถยนต์กลับบ้าน

      

หมายเลขบันทึก: 675000เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท