ตอนที่ 3-3 การเขียนข้อความความสามารถ (Writing Competency Statement)


สมรรถนะสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตอนที่ 3-3 (ต่อ)

(Competency-Based Approach to Human Resource Development)

ดร.ชัชรินทร์  ชวนวัน ข้าราชการบำนาญ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2562

......................................................

    จากตอนที่ 3-2   เสนอแนวคิดและหลักการกำหนดโมเดลความสามารถและองค์ประกอบความสามารถ  ตอนที่ 3-3 นี้ เสนอแนวทางการเขียนข้อความความสามารถส่วนต่างๆ ของโมเดล

ตอนที่ 3-3 การเขียนข้อความความสามารถ  (Writing Competency Statement)

                 ความสามารถ จะมีรูปแบบ (Format) ที่กำหนดขึ้น ได้แก่  1-ชื่อความสามารถ (Competency name), 2-นิยาม/ความหมาย (Definition),  3-ระดับและนิยามระดับความสามารถ (Proficiency Level/Definition) และ 4-ตัวชี้วัดพฤติกรรมความสามารถ (Competency Behavioral Indicator) ซึ่งมีแบบต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์กร แต่จะกำหนดแบบอย่างไรก็ตามส่วนต่างๆจะต้องเขียนข้อความความสามารถ คือ วิธีการเขียนองค์ประกอบในโมเดลความสามารถตามหลักการเขียนความสามารถ (competency statement)

หลักการ/แนวคิดการเขียนข้อความความสามารถ   (Writing Competency Statement Concept)

                 กำหนดหลักการ/แนวคิดการเขียนข้อความความสามารถ จากลักษณะของความสามารถ ดังนี้

                    1.ความสามารถหนึ่ง มีการแสดงออกเป็นพฤติกรรมแสดงการกระทำ ดังนั้น จึงต้องระบุการกระทำ (Action) ที่ชัดเจนด้วยคำกริยาแสดงการกระทำ (action verb) ที่ต้องสังเกตได้ (observable) ต้องวัดได้ (measurable) และใช้คำกริยาแสดงการกระทำอย่างเดียว (Single verb)

                    2.ความสามารถหนึ่ง มีเป้าหมายของการกระทำ  ดังนั้น จึงต้องระบุเป้าหมาย (Target/object) การกระทำที่ชัดเจนว่าแสดงการกระทำอะไร,กับใครซึ่งอาจเป็นเนื้อหาสาระ(content)เนื้อหาวิชา(subject matter),ประเภทการปฏิบัติงาน (type of performance) หรืองาน  (specific task)

                   3.ความสามารถหนึ่ง มีการแสดงออกในบริบทใดบริบทหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องระบุบริบทที่จะให้แสดงการกระทำและเกิดผลสำเร็จด้วยได้แก่ ข้อจำกัด(limitations) หรือ เงื่อนไขของงาน (conditions)

                    แนวคิดดังกล่าวจะนำไปสู่การเขียนข้อความความสามารถ 3 ส่วน คือ  

                   1.การเขียนข้อความสมรรถนะทั่วไป (General competency statement)    

                   2.การเขียนข้อความนิยามสมรรถนะ (Definition statement)

                   3.การเขียนข้อความตัวชี้วัดพฤติกรรมสมรรถนะ (Competency behavior indicators statement)

การเขียนชื่อความสามารถ (Competency name) กำหนดชื่อความสามารถเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (ถ้าชื่อสอดคล้องกันให้ใช้ชื่อความสามารถที่มีอยู่ในรายการ (list) หรือ (Library) ชื่อความสามารถที่มีอยู่แล้ว

การเขียนข้อความความสามารถทั่วไป

                     คือ การเขียนข้อความความสามารถโดยทั่วไปเลือกใช้คำกริยา (verb) คำที่แสดงการกระทำ โดย

                  1.เลือกใช้คำกริยาตามระดับการเรียนรู้และตัดสินใจว่าความสามารถใดควรแสดงออกถึงความ สำเร็จในด้านความรู้ ความเข้าใจ (cognitive) พฤติกรรม (affective) หรือ ทักษะ (psychomotor)  ด้านความรู้  จะเลือกใช้คำกริยาที่สัมพันธ์กับความเข้าใจ เช่น อธิบาย (explain) ทำนาย (predict) ปรับปรุง (revise) วิเคราะห์ (analyze) แปลความหมาย (interpret)  เป็นต้น  ด้านพฤติกรรม (affective) จะเลือกใช้คำกริยาที่แสดงถึงค่านิยม ความรู้สึก หรือทัศนคติ  เช่น ช่วยเหลือ (assist), ให้เหตุผล (justify),ยึดมั่น(adhere),ฟัง(listen) ไต่ถาม(question),เปรียบเทียบ (compare) เป็นต้น  ด้านทักษะ(Psychomotor) จะเลือกใช้คำกริยาที่แสดงการประยุกต์ใช้ทักษะนั้น  เช่น  ทำขนมปัง (bake), พันแผล (bandage) สร้างตึก สะสม(build) ฝึกฝน(drill), ทำให้ร้อน (heat), ยักย้ายถ่ายเท (Manipulate) เย็บ (sew), ร่าง (sketch), ชั่งตวง (weigh) เป็นต้น

                   2.พิจารณาตามระดับหรือตำแหน่งของความสามารถนั้น แล้วกำหนดระดับของคำกริยาที่ต้องการ

                   ถ้าความสามารถอยู่ในระดับต่ำ (lower levels) คำกริยาอาจเป็นการบ่งบอกถึงการจดจำได้ (recognition) เช่น กำหนด (identify), ฟัง(list), อธิบาย(describe),  หรือการตอบสนอง (response)  เช่น  ตอบ (answer) ,ทำตาม (conform) ,ติดตาม(follow)

                   ถ้าความสามารถอยู่ในระดับสูง คำกริยาจะเป็นการวิเคราะห์ จัดการ หรือ บางทีเป็นการตัดสินใจในคุณค่า เช่น  แสดงให้เห็นความแตกต่าง (differentiate), แก้ไข (modify) ประเมิน(evaluate) เป็นต้น

ประเภทของคำกริยาที่ใช้

                 ใช้คำกริยาที่แสดงถึงการกระทำเพื่อบ่งบอกว่าได้มีการกระทำตามเป้าหมายความสามารถนั้น

 1.คำกริยาที่ใช้แสดงถึงความหมายว่า การรู้จัก จำได้ เช่น

                อธิบาย (describe)                               ติดป้าย(label)                  การถ่ายข้อความ(paraphrase)

                ระบุ (enumerate)                                ฟัง (list)                         ชี้ไปยัง (point to)

                ยกตัวอย่าง (give example)                   ค้นหา (locate)                ทำนาย (predict)

                กำหนด (identify)                               ร่าง(outline)                    แถลง(state)

                2.คำกริยาที่ใช้แสดงถึงความหมายว่า การใช้ประโยชน์ของแนวคิดต่างๆ เช่น

                ปรับตัว(adapt)                                   เกิดผล(effect)                  ปฏิบัติ(perform)

                ยึดมั่น(adhere)                                  จ้าง(employ)                     ปฏิบัติ(practice)

                ประยุกต์(apply)                                 ติดตาม(follow)                  เตรียม(prepare)

                ทำให้สำเร็จ(carry out)                       ให้(give)                           การปฏิบัติ(process)

                ยินยอม(comply)                                ดำเนินการ(implement)       บรรยาย(relate)

                คำนวณ,นับ(compute)                       แปลความ(interpret)           คัดเลือก(select)

                ทำตาม(conform)                              แจก,จ่าย(issue)                  อาสา,ยอมรับ(undertake)

                แสดง,สาธิต(demonstrate)                แก้ไข(modify)                    ใช้ (use)

                ส่ง (dispatch)                                  เอา,บรรลุ(obtain)               ใช้ประโยชน์(utilize)

  2.คำกริยาตามหลักของ Bloom’s Taxonomy กำหนดให้ใช้คำกริยา (Action Verbs)  ทั้ง 3  Domain 

     2.1 การใช้ Action Verbs ส่วน Cognitive Domain

Knowledge

count, define, describe, draw, find, identify, label, list, match, name, quote, recall, recite, sequence, tell, write

Comprehension

conclude, demonstrate, discuss, explain, generalize, identify, illustrate, interpret, paraphrase, predict, report, restate, review, summarize, tell

Application

apply, change, choose, compute, dramatize, interview, prepare, produce, role-play, select, show, transfer, use

Analysis

 analyze, characterize, classify, compare, contrast, debate, deduce, diagram, differentiate, discriminate, distinguish, examine, outline, relate, research, separate,

Synthesis

compose, construct, create, design, develop, integrate, invent, make, organize, perform, plan, produce, propose, rewrite

Evaluation

appraise, argue, assess, choose, conclude, critic, decide, evaluate, judge, justify, predict, prioritize, prove, rank, rate, select,

   2.2 การใช้ Action Verbs ส่วน Affective Domain

Receiving

asks, chooses, describes, follows, gives, holds, identifies, locates, names, points to, selects, sits, erects, replies, uses.

Responding

answers, assists, aids, complies, conforms, discusses, greets, helps, labels, performs, practices, presents, reads, recites, reports, selects, tells, writes.

Valuing

completes, demonstrates, differentiates, explains, follows, forms, initiates, invites, joins, justifies, proposes, reads, reports, selects, shares, studies, works.

Organization

 adheres, alters, arranges, combines, compares, completes, defends, explains, formulates, generalizes, identifies, integrates, modifies, orders,

organizes, prepares, relates, synthesizes.

Internalizing Values

acts, discriminates, displays, influences, listens, modifies, performs, practices, proposes, qualifies, questions, revises, serves, solves, verifies.

       2.3 การใช้  Action Verbs  ส่วน Psychomotor Domain

Perception

choose, describe, detect, differentiate, distinguish, identify, isolate, relate, select.

Set

display, explain, move, proceed, react, show, state, volunteer.

Guided Response

copy, trace, follow, react, reproduce, respond, replicate, repeat

Mechanism

assembles, calibrates, constructs, dismantles, displays, fastens, fixes, grinds, heats, manipulates, measures, mends, mixes, organizes, sketches.

Complex Overt

Response

assembles (faster and without error); builds, calibrates (to more precise accuracy), constructs, dismantles (and re-assembles), displays, fastens,

fixes, grinds, heats, manipulates, measures, mends, mixes, organizes

Adaptation

adapts, alters, changes, rearranges, reorganizes, revises, varies.

Origination

combines, composes, constructs, creates, designs, initiate, creates, originates.

แบบประโยค

            พฤติกรรมการกระทำ           +      วัตถุประสงค์                  +     สถานการณ์/ เงื่อนไข

          Behavior + object                      Objective                           Condition/Context

    (action verbs from Bloom’s)

      คำกริยาแสดงการกระทำ       +    วัตถุประสงค์/ขอบเขตที่              ในสถานการณ์หรือเงื่อนไข  

                                                     ต้องการให้เกิดกระทำภายใต้      อย่างใดอย่างหนึ่ง

                                                     ความสามารถนั้น    

       ตัวอย่าง    วางแผน                   -คัดเลือก                               -ในงานพัฒนาบุคลากร

                                                     -ฝึกอบรม                               -ที่บรรลุเป้าหมายกลยุทธ์

                                                      -ติดตามประเมินผล                 -ของหน่วยงาน

                                                              ฯลฯ

การเขียนนิยามความสามารถ (Writing Competency Definition)  มี 2 แบบ  ได้แก่

                1.การเขียนนิยามความสามารถแบบโดยตรง (Direct  Statement  definitions)  ประกอบด้วย  ประโยคเดี่ยว (A single sentence) ซึ่งนำไปสู่ความหมายของความสามารถนั้น ตัวอย่าง ความสามารถชื่อ การทำงานที่ดีกับคนอื่น(Working well with others)

                  นิยาม :  การส่งเสริมการปฏิบัติงานของตนเองและบุคคลอื่นให้ดีขึ้น ด้วยการสร้าง (building)  การใช้ (using) และการผดุงรักษา (maintaining)  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

                2.การเขียนนิยามความสามารถแบบองค์ประกอบสำคัญ (Key Element definitions)  ประกอบด้วย การเขียนนิยามเป็นฯคำอธิบายเสริม (additional description)  หรือ องค์ประกอบสำคัญ (Key element) หรือเป้าหมายความสำเร็จสำคัญ ตัวอย่างความสามารถ   การทำงานที่ดีกับคนอื่น (Working well with others)

                  นิยาม :  การส่งเสริมการปฏิบัติงานของตนเองและบุคคลอื่นให้ดีขึ้น เพื่อเสริมแรงและสร้างแรงบันดาลใจปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ  องค์ประกอบสำคัญ (Key Element)  คือ

                 1. การสร้าง (building) ความสัมพันธ์ในการทำงานกับคนอื่น

                 2. การใช้ (using) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสร้างแรงบันดาลใจทำงาน

                 3. การผดุงรักษา (maintaining)  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้เป็นประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพการทำงานอย่างแท้จริง

    การกำหนดระดับความสามารถ (Defined Levels of  Competencies)

                   การกำหนดระดับในโมเดลความสามารถ มีหลายลักษณะ เป็นการกำหนดเพื่อจำแนกระดับพฤติกรรมความสามารถออกเป็นระดับ ตามประเภทของโมเดลความสามารถที่สร้างขึ้น ในภาพรวมการจำแนกระดับและกำหนดรายการพฤติกรรมความสามารถ  ส่วนใหญ่จัดทำเพื่อนำไปสู่การประเมินความสามารถเพื่อนำผลไปใช้ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

                   องค์กรที่มุ่งการพัฒนาบุคคล (Competency Development) จะจัดทำโมเดลความสามารถ จำแนกระดับ และกำหนดพฤติกรรม โดยใช้ทักษะเป็นสิ่งกำหนดระดับความสามารถ  เช่น  กำหนดเป็น  3 ระดับ   

                        ระดับที่ 1 ความตระหนัก (aware)  หมายถึง มีความรู้ ความสามารถนั้นในระดับขั้นพื้นฐาน  โดยแสดงพฤติกรรม เช่น สามารถระบุแนวความคิดความสามารถ, มีทักษะในความสามารถแต่ยังมีข้อจำกัดที่จะปฏิบัติตามได้ดี

                        ระดับที่ 2  มีความรู้ (knowledgeable) หมายถึง เข้าใจความหมายและการปฏิบัติตามความสามารถนั้นในระดับขั้นปานกลาง โดยแสดงพฤติกรรม เช่น  สามารถอธิบายทักษะได้ชัดเจน, สามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการปฏิบัติงานของตนเองได้

                        ระดับที่ 3 ก้าวหน้า (advanced) หมายถึง สามารถประยุกต์ใช้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ในระดับขั้นก้าวหน้า โดยแสดงพฤติกรรม เช่น สามารถสอนทักษะนั้นแก่ผู้อื่น, สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติใหม่ๆ

                     องค์กรที่มุ่งการประเมินขีดความสามารถ (Proficiency Level) จะกำหนดระดับและพฤติกรรมความสามารถตามระดับพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความชำนาญแต่ละระดับ เช่น  แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตามระดับความชำนาญ (Expertise) ได้แก่

                       ระดับที่ 1 ขั้นพื้นฐาน (Novice) หมายถึง ระดับทักษะพื้นฐานที่พนักงานทุกคนควรมี

                       ระดับที่ 2 ขั้นปฏิบัติงาน (Adequate) หมายถึง ระดับความสามารถที่จำเป็นต้องมีในการปฏิบัติงาน

                       ระดับที่ 3 ขั้นประยุกต์ (Develop) หมายถึง ระดับความสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบได้ดี

                       ระดับที่ 4 ขั้นก้าวหน้า (Advance) หมายถึง ระดับความสามารถที่พนักงานสามารถใช้ทักษะด้วยความชำนาญในงานที่ ตนเอง  รับผิดชอบ

                       ระดับที่ 5 ขั้นเชี่ยวชาญ (Expert) หมายถึง ระดับความสามารถที่พนักงานมีความเชี่ยวชาญในการใช้ทักษะนั้นๆกับหน้าที่    ความรับผิดชอบของตน

    20200123220024.pdf

                  สรุป  การกำหนดองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสามารถนั้น เป็นส่วนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากการกำหนดกรอบความสามารถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้มีรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นที่จะนำไปสู่การจัดทำโมเดลสมรรถนะต่อไป ส่วนสำคัญได้แก่การกำหนดโครงสร้างโมเดลความสามารถและแต่ละองค์ประกอบจะต้องใช้วิธีการและแนวทางที่ถูกต้องตามหลักการความสามารถที่วางไว้เท่านั้น ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และยังต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะนำความสามารถนั้นไปใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลอีกด้วย การกำหนดโมเดลความสามารถมีหลายวิธีและมีเทคนิคหลากหลาย เช่น การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ (Functional Analysis) เทคนิค DACUM เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ฯลฯ เป็นต้น  สำหรับวิธีกำหนดองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสามารถมีด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วิธีการที่นิยมใช้กันมากคือ นำโมเดลความสามารถมากำหนดองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสามารถที่เป็นภาพรวมก่อน เมื่อองค์กรต้องการใช้โมเดลความสามารถสำหรับการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบใด ก็จะนำโมเดลความสามารถมาทบทวน และพิจารณาปรับปรุงรายการพฤติกรรมสมรรถนะให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์   ที่ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้โมเดลความสามารถที่นำไปสู่การประเมินจะมีวิธีการกำหนดหรือเขียนตัวชี้วัดพฤติกรรมเพื่อการประเมินตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามประเภทของงานที่ต้องการ  เช่น การนำโมเดลความสามารถไปใช้เพื่อประเมินความต้องการสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนา (Training Needs Assessment) การนำโมเดลความสามารถไปใช้เพื่อประเมินผลงาน (Performance Assessment) สำหรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานและอื่นๆในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ขององค์การ.

                                                                           …………………………………..

    หมายเลขบันทึก: 674599เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2020 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2020 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท