อปริหานิยธรรม 7


อปริหานิยธรรม 7

นำเสนอโดย
พระณัฐพงศ์ มณีวณฺโณ

เสนอ ดร.โสภณ จาเลิศ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

  อปริหานิยธรรม 7   ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม  เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว  สำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมือง 

  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 

  2. พร้อมเพรียงกันประชุม  พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม  พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ     ข้อนี้แปลอีกอย่างหนึ่งว่า  พร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันบ้านเมือง  พร้อมเพรียงกันทำกิจการทั้งหลาย

          3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้  (อันขัดต่อหลักการเดิม)  ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้  (ตามหลักการเดิม)  ถือปฏิบัติตามวัชชีธรรม (หลักการ)  ตามที่วางไว้เดิม

          4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี  เคารพนับถือท่านเหล่านั้น  เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง 

          5.  บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย  ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ

          6.  เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ  ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่าง ๆ  ของวัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย  ทั้งภายในและภายนอก  ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป 

          7.  จัดให้ความอารักขา  คุ้มครอง  ป้องกัน  อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย  (ในที่นี้กินความกว้าง  หมายถึงบรรพชิตผู้ดำรงธรรม  เป็นหลักใจของประชาชนทั่วไป)  ตั้งใจว่า  ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา  พึงมาสู่แว่นแคว้น  ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก

          อปริหานิยธรรม  7 ประการนี้  พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลาย  ผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม (republic)  ซึ่งรัฐคู่อริยอมรับว่า  เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้  จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้  นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือยุแยกให้แตกสามัคคี

เอกสารอ้างอิง

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต).  พจนานุกรมพระพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลธรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 24. 
             กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธสาสนาของธรรมสภา, 2556.  หน้า 211-212.

คำสำคัญ (Tags): #อปริหานิยธรรม 7
หมายเลขบันทึก: 673513เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2019 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2019 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท