การเพิ่มอัตราการผลิตของไก่พื้นเมืองโดยการใช้เครื่องฟัก


กลุ่มเป้าหมาย        

1.เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง หมู่ที่ 3 ต.นากะชะ อ.ฉวาง   จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 20 ราย

2.เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์  

จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 20 ราย

นักวิจัย

1.ดร.เสถียร  โปกุล               

2.ผศ.ศิริศักดิ์  บริรักษ์ธนกุล               

3.ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์  สร้อยสุวรรณ               

4.นายสมหมาย  คล้ายบ้านใหม่               

5.อาจารย์ชมัยพร สิทธิเกษมกิจ

การดำเนินงานและผลงาน

การเลี้ยงไก่โดยทั่วไปยังใช้วิธีแบบดั้งเดิม คือ ให้แม่ไก่ฟักไข่และเลี้ยงลูกเองวิธีนี้แม่ไก่จะมีวงรอบการผลิตยาวประมาณ 12 สัปดาห์ต่อรอบ โดยเป็นระยะเวลาวางไข่ 2 สัปดาห์ ฟักไข่ 3 สัปดาห์ เลี้ยงลูก 5 สัปดาห์ และพักฟื้นอีก อย่างน้อย 2 สัปดาห์ การมีวงรอบการผลิตยาวนี้ทำเป็นเหตุให้แม่ไก่สามารถให้ผลผลิตได้เพียงปีละไม่เกิน 4 รอบ นอกจากจำนวนรอบการผลิตต่ำ อัตราการรอดของลูกยังต่ำอีกด้วย สาเหตุหลัก 2 ประการ คือ การป่วย และการถูกศัตรูกัดกิน จากจำนวนฟักออกประมาณครอกละ 12-15 ตัว มีลูกไก่เหลือเมื่ออายุหย่าเฉลี่ยไม่เกินครอกละ 7 ตัว หรือเท่ากับแม่ไก่สามารถผลิตลูกได้จริงเพียงปีละ ไม่เกิน 30 ตัว จึงเห็นว่าเป็นการเสียโอกาสในการทำรายได้จากแม่ไก่มาก หากผู้เลี้ยงนำไข่มาฟักและเลี้ยงลูกไก่เองจะช่วยลดความยาวของรอบการผลิตลงเหลือประมาณรอบละเพียง 1 เดือน คือแม่ไก่จะต้องการเพียงเวลาสำหรับวางไข่และพักฟื้นเท่านั้น แม่ไก่จึงสามารถผลิตได้ถึงปีละ 12 รอบ หรือเพิ่มขึ้นอีก 8 รอบการผลิต นอกจากชวยเพิ่มรอบการผลิตแล้วยังช่วยเพิ่มการรอดของลูกไก่อีกด้วย                คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้สนับสนุนโครงการ การเพิ่มอัตราการผลิตของไก่พื้นเมืองโดยใช้เครื่องฟักไข่ โดยได้ทำการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 3 หลักสูตร ได้แก่ เรื่องระบบการทำงานของตู้ฟักไข่และวิธีรการฟักไข่  เรื่องวิธีการอนุบาลลูกไก่  เรื่องการประกอบตู้ฟักไข่ใช้เอง รวมถึงวิธีการบำรุงรักษา และการติดตามความคืบหน้าของเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำผู้ที่ประสบปัญหาและบันทึกข้อมูลการผลิตของเกษตรกร และวิเคราะห์ผล จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากจำนวนลูกไก่ที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น และยังสามารถประกอบอาชีพในถิ่นฐานเดิมได้ ลดการอพยพเพื่อหางานทำ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่สถาบันครอบครัวอีกด้วย

แหล่งทุน

คลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  
คำสำคัญ (Tags): #โครงการอื่น#ๆ
หมายเลขบันทึก: 67110เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท