ทาน


ทาน

โสภณ จาเลิศ

         ทาน หมายถึงการให้ การเสียสละ การแบ่งปัน การบริจาค  ถ้าจะแบ่งประเภทของ ทานว่ามีกี่ประเภท น่าจะมาพิจารณาว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ถ้าจะแบ่งโดยอาศัยสิ่งที่ให้ หรือสิ่งที่ทำทาน เป็นเกณฑ์ ก็น่าจะแบ่งง่าย ๆ เป็น 2 ประเภท คือ

             1. อามิสทาน คือการให้ การแบ่งปัน การบริจาควัตถุ สิ่งของ ต่าง ๆ 
             2. ธรรมทาน คือการให้ธรรม ให้ความรู้ ถ่ายทอดวิชาความรู้ วิชาการต่าง ๆ หรือการแนะนำ อบรมสั่งสอน

             ถ้าจะแบ่งโดยพิจารณาถึงผู้รับเป็นเกณฑ์ ก็น่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
             1. ปาฏิบุคลิกทาน คือการให้เฉพาะบุคคล ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคล  หรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง
             2. สังฆทานคือการให้แก่สงฆ์, ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม  เช่น พระภิกษุ หรือ ภิกษุณี อย่างเป็นกลาง ๆ ในฐานะเป็นตัวแทนสงฆ์ โดยอุทิศต่อสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง

             ในบาลีเดิม เรียก ปฏิบุคลิกทาน ว่า ปฏิปุคฺลิกา ทกฺขิณา หมายถึงของที่ให้จำเพาะบุคคล และเรียก สังฆทาน ว่า สงฺฆตา ทกฺขิณาคือของถวายหรือของให้ที่ถึงในสงฆ์

             วิกิพีเดีย กล่าวถึงประเภทของทานว่า ทาน มี 3 ประเภท คือ

             1. อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ข้าว (อาหาร) และน้ำเป็นทรัพย์โดยปรมัตถ์   สิ่งอื่นเป็นทรัพย์โดยบัญญัติเพราะเกิดจากการสมมุติของของคนที่ทำให้เกิดความจำเป็น เช่น  เสื้อผ้าถ้าใส่กันอาย    เงินทองเพชรที่กินไม่ได้และไม่มีประโยชน์   (อามิสแปลว่าวัตถุสิ่งของ)
             2. ธรรมทาน คือการให้ที่ไม่เป็นวัตถุสิ่งของ ได้แก่ ให้สติ ให้ธรรมะ สอนคุณธรรม ให้กำลังใจ ให้อภัย (อภัยทาน) ให้ความรู้วิทยาทาน
             3. อภัยทาน คือการยกโทษด้วยการไม่พยาบาทจองเวร บัณฑิตกล่าวเป็นทานที่ให้ได้ยากที่สุด โดยเฉพาะการให้อภัยศัตรูหรือผู้ที่ทำร้ายตนอย่างสาหัส
             คำว่า อภัยทาน คือการให้ความไม่มีภัย ให้ความปลอดภัย การที่เราสามารถสร้างอภัยทานให้เกิดมีขึ้นในตัวได้นั้น ถือเป็นการชำระจิตใจของเราได้เป็นอย่างดี ทานที่เป็น “ทรัพย์ภายใน” ที่ทรงคุณค่าและสูงค่าที่สุดก็คือ อภัยทาน
 

เอกสารอ้างอิง

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับปนะมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 24. 
             กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2556. หน้า 62.
วิกิพีเดีย. ทาน [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ทาน [4 ก.พ. 2566]

เมื่อท่านอ่านจบแล้ว โปรดประเมินความพึงพอใจ โดยคลิก URL ข้างล่างนี้ ขอขอบคุณ

https://forms.gle/6MFWcg1pFQKR7DkVA    

loongso

 

 

.

หมายเลขบันทึก: 670653เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2019 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2023 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท