เมื่อฉันอ่านฉันจึงเล่า-ReThink[2] : การเข้าถึงชีวิตแห่งการอ่าน


ตื่นเช้ามามาเจอที่ อ.ดร.แจ็ค โพสต์ไว้

“LittleFreeLibrary” เป็นภาพตู้หนังสือเล็กๆ ที่มีหนังสืออยู่ในนั้นจำนวนไม่มาก วางไว้ใกล้ๆ กับม้านั่งในสวน ที่ Wakefield, รัฐโรดไอแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นแล้วรู้สึกประทับใจทันที จึงขออนุญาตอาจารย์แจ็คนำมาบันทึกไว้

ทำให้หวนนึกถึงสมัยหนึ่ง จำไม่ได้ว่าที่องค์กรไหนสักแห่งหนึ่ง มีผลงาน R2R ที่ทำห้องสมุดเคลื่อนที่นำหนังสือใส่รถเข็ญ ไปไว้ตามจุดต่างๆ ทั่วโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงหนังสือ และการอ่าน จากผลงานครั้งนั้น ได้ชวนแม่ให้นำหนังสือชีวจิตและนิตยสารต่างๆ บริจาคที่โรงพยาบาล ก็ได้รับความสนใจผลสมควร

เมื่อคืนนี้ได้คุยกับพี่เล็ก เรื่องรณรงค์เกี่ยวกับการอ่าน ก็เกิดความคิดใหม่ขึ้นมาว่า “การส่งเสริมการอ่านดังกล่าวอาจไม่ได้มุ่งเป้าหมายไปที่เด็กอย่างเดียว แต่ยังเป็นกระตุ้นผู้ปกครอง ให้นำพาการอ่านกลับคืนสู่ความเป็นชีวิตของเด็กๆ ได้อีกด้วย อาทิเช่น ในชนบทที่เด็กถูกทิ้งให้อยู่กับปู่ย่าตายาย นอกจากบางครอบครัวต้องรับภาระในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแล้ว การอ่านยังนำมาเป็นเครื่องมือนำเข้าไปสู่การเริ่มต้นการกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้ [ดั่งงานวิจัยของ รพ.สต.หนองคูน้อย อ.ไทยเจริญ จ.ยโสธร ที่ทำได้ดีและต่อเนื่องมาเป็นสิบปี]

ในการส่งเสริมการอ่าน อาจจะไม่ใช่แค่ให้อ่านเพียงอย่างเดียว ถ้าเราสามารถออกแบบการอ่าน ที่นำไปสู่การทำ Reflective Learning ร่วมด้วย กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการอ่านก็น่าจะชัดเจนและเห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลได้มากขึ้น

#Noteความคิด

ที่มาภาพ อ.ดร. Jack Kua


หมายเลขบันทึก: 669620เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2019 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2019 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท