น้ำท่วมยโสธร ห้วงเวลาแห่งการเรียนรู้


"น้ำท่วมยโสธร"
ห้วงเวลาแห่งการเรียนรู้

[1] 

ฉันกลับมาถึงสนามบินุบลราชธานี ในวันที่ 1 กันยายน วันนั้นฟ้าโปร่งเมฆก็สวยมาก จนฉันรู้สึกเพลิดเพลินกับการถ่ายรูปบนท้องฟ้านี้ ก่อนสองสามวันฉันเห็นความเคลื่อนไหวในโซเชียลฝนตกหนักและน้ำระบายไม่ทันทำให้น้ำท่วมถนนหลายสายระหว่างจากเมืองสู่เมือง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เรากังวลมากว่า เมืองที่เราอยู่จะถูกล้อมรอบด้วยมวลน้ำ

[2] 
เพียงแค่ข้ามคืนกับฝนที่กระหน่ำตกลงมาอย่างกับคนที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่มีเว้นวรรค ต่อเนื่องจากวันสู่วัน แสงแดดเราแถบจะไม่ได้สัมผัส แต่เราก็ยังนอนใจกันอยู่ จวบจบในตอนเย็นวันอังคารที่ 3 กันยายน กระแสข่าวหนาหูขึ้นน้ำท่วมถนนในหลายๆ เส้นทาง จากพื้นที่ที่ห่างไกลขยับเข้าสู่ถนนใกล้ตัวเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลานั้นผู้คนเริ่มตื่นตระหนัก ปริมาณน้ำฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย พร้อมกับมวลน้ำอันมากมายที่ไหลมาจากแม่น้ำหลายๆ สาย ข่าวการเตรียมเมืองแม้จะเริ่มช้าเพราะทุกอย่างเข้ามาอย่างรวดเร็ว แต่ก็ทุกฝ่ายต่างออกมาช่วยกัน ทั้งในระดับผู้นำ ภาครัฐ การเมือง ประชาชน และจิตอาสา เกือบทุกกลุ่มวัย

[3]
การทำงานที่มีการวางแผน ประชุม สื่อสารข้อมูล และป้องกันความเสี่ยงจากข้อมูลที่อาจนำมาสู่ violence หรือความขัดแย้ง บั่นทอนจิตใจ มีการป้องกันและตรวจสอบช่วยกัน ในสภาวะเช่นนี้การเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลในทีมทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกอย่างถือว่าเป็นระยะวิกฤต ในวันที่แม่น้ำชีเอ่อล้นทะลักเข้าเขตเทศบาล เชื่อว่าหลายคนเริ่มเสียขวัญ แม้ว่าลักษณะเมืองฝั่งน้ำชีจะมีแนวระดับที่คล้ายแนวกำแพงกั้นน้ำ แต่ชุมชนแถวนั้นก็จะประสบภัยก่อนใครๆ ทุกฝ่ายระดมสรรพกำลังช่วยกัน ในขณะที่รอบนอกตัวเมืองก็เผชิญสภาพไม่ต่างกัน เมืองยโสธรเกือบมีสภาพเป็นเกาะ เพราะทุกสายแปรเปลี่ยนเป็นสายน้ำโอบล้อมเมือง จะเหลือก็แต่ฝั่งสวนพญาแถน ถ้าอีกนิดเดียวเดียวสะกัดกั้นไม่ได้ น้ำทุกด้านก็จะทะลักล้นเมืองเป็นแน่แท้ ภาพของคนเมืองยสลุกมาช่วยกัน ภาพของผู้นำลงพื้นที่ ภาพของทุกฝ่ายร่วมกันประสานแก้ไขปัญหา ทำให้ฉันมองเห็นว่านี่คือเมืองยศที่เวลาทุกข์ยากต่างร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มกำลัง แม้ปัญหาที่อาจมีเกิดก็ไม่ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงให้เป็นความรุนแรง

[5] 
สิบกว่าวันเมืองแห่งลุ่มน้ำชี และชีวิตมองบวก ทำให้เห็นความแง่งาม
ฝนหยุดตกไปหลายวัน แต่กระแสน้ำบางพื้นที่ก็ยังไม่ลด ภาระที่หนักในช่วงวิกฤตผ่านไป สิ่งที่หลงเหลือคือ การเยียวยาฟื้นฟู ระยะยาว การเร่งซ่อมแซมทั้งชีวิต จิตใจ และอาคารสถานที่ต่างๆ ดำเนินไปอย่างที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย 

บางครั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ธรรมชาติอาจกำลังสอนเราในหลายสิ่งหลายอย่าง
สอนให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ และชีวิตนี้สั้นนัก ความขัดแย้งและความรุนแรงทางจิตใจจะเบาบางลงไปได้ หากเราเข้าใจปรากฏการณ์แห่งความจริงที่เกิดขึ้น และลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ในใจของเราก็จะเต็มไปด้วยการเรียนรู้ มากกว่าการนำพาตนเองคลุกรุ่นอยู่กับอารมณ์ และความคิดที่เป็นลบ

#AAR
เขียนบันทึกไว้ที่ https://www.gotoknow.org/posts...

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วมยโสธร 62
หมายเลขบันทึก: 668316เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2019 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2019 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท