ซิซีฟิส (Sisyphus) ผู้ไม่ยอมสยบให้กับเทพเจ้า ผู้โกงความตาย และผู้ถูกสาปให้กลิ้งหินตลอดกาล


#บทความ

ซิซีฟิส (Sisyphus) ผู้ไม่ยอมสยบให้กับเทพเจ้า ผู้โกงความตาย และผู้ถูกสาปให้กลิ้งหินตลอดกาล

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ (6 พฤษภาคม 2562)

หากได้ชมภาพยนตร์ฝรั่งเรื่อง Final Destination ที่ทำม่แล้วหลายภาค ก็จะรู้ว่าภาพยนตร์ได้แสดงให้เห็นถึงผู้คนกลุ่มหนึ่ง ที่รอดพ้นจากความตาย ในแบบที่ไม่ควรรอดกล่าวคือมีคนคนหนึ่งในกลุ่มนั้นสามารถเห็นนิมิตในอนาคตได้ คนนั้นจึงไปบอกกับทุกคนให้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่แล้วมันก็เป็นการเลี้ยงได้เพียงชั่วคราวสุดท้าย ความตายก็ได้กลับมาเอาคืนทุกคน แบบโหด ๆ เลยทีเดียว

Triangle (2009) เรือสยองมิตินรก ว่าด้วยเรื่องหญิงสาวคนหนึ่งที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียววันหนึ่งเธอได้เดินทางท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน แล้วเรือแตกไม่มีใครตาย ทุกคนส่มารถขึ้นไปบนเรือใหญ่ลำหนึ่งได้ แต่แล้วเหตุการณ์ในเรือนั้นก็วนเวียนไปแบบซ้ำซาก ต้องฆ่ากันแบบไม่มีสิ้นสุด แม้ถึงจุดหนึ่งตัวเอกของเรื่องจะสามารถหนีความตายและความวนเวียนบนเรือใหญ่มาได้ แต่เธอต้องมาชดใช้สิ่งนั้นอย่างไม่รู้จบ

Meet Joe Black (1998) อลังการรักข้ามโลก เป็นเรื่องราวของมหาเศรษฐีคนหนึ่ง ที่ต้องตายไปอย่างกะทันหัน ก่อนตายเขาได้ต่อรองกับยมทูตว่า ขอเวลาสะสางปัญหาบางอย่าง แต่สิ่งที่เขาต้องแรกคือการที่ยมทูตเข้ามามีอำนาจในชีวิตของเขา ทั้งในชีวิตส่วนตัว การงาน ครอบครัว และสิ่งที่เขารัก เขาต้องชดเชยหลายอย่างกับการยื้อการตาย

city of angels (1988) สัมผัสรักจากเทพ เสพซึ้งถึงวิญญาณ เรื่องนี้อาจจะแตกต่างไปจาก 3 เรื่องแรกตรงที่ยมทูตผู้มีความเป็นมาเป็นอมตะ กลับเลือกที่จะโกงความเป็นอมตะของตัวเองยอมเป็นมนุษย์ผู้มีความตายเป็นสรณะ เพื่อแลกกับการที่ตนได้ใช้ชีวิตกับหญิงมนุษย์หญิงสาวที่ตัวเองรัก นับเป็นการโกงความไม่ตายด้วยความตาย และท้ายที่สุดเขาก็ต้อง "จ่าย" ชดเชยด้วยราคามหาศาล

นั่นคือตัวอย่างการโกงความตายในโลกภาพยนตร์ คติความเชื่อเรื่องการโกงความตายนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะในเทพปกรณัมกรีกได้เล่าเรื่องกษัตริย์ผู้หนึ่งที่โกงความตาย รวมถึงโกงเทพเจ้ามาได้หลายครั้ง นั่นคือ ซิซีฟีส กษัตรย์แห่งโครินธ์

เทพปกรณัมกรีกได้อธิบายเรื่องราวของ ซิซีฟัส ว่าเป็นกษัตริย์แห่งโครินธ์ ว่ากันว่าเป็นผู้ปกครอง มีความโหดเหี้ยมทารุณ ไม่ครองตนอยู่ในทศพิธราชธรรม ทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูงและแสวงหาอำนาจอยู่เสมอ ไม่สยบต่อทวยเทพทั้งปวง กำหนดเส้นทางเดินของชีวิตด้วยตนเอง และที่สำคัญมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเจ้สเลห์จอมอุบาย ขนาดศรีธนญชัยยังเรียกพ่อ

วันหนึ่งบ้านเมืองของเขาประสบปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค ขณะที่เขาประทับอยู่บนหอคอย บังเอิญได้เห็นเหตุการณ์มหาเทพซุสลักพาตัว "เอจิน่า" บุตรสาวของ "อะโซปัส" เทพแห่งแม่น้ำไปทำเป็นเมีย เมื่อเวลาผ่านไป อะโซปัส ได้ออกตามหาบุตรสาวของตนเองแล้วมาพบกับซิซีฟัส ซิซีฟัสจึงเล่าเรื่องราวที่ตนเคยพบเห็นให้ฟัง แต่เนื่องจากซิซีฟัส เป็นคนที่มีอุปนิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบายและรู้ว่าอะโซปัสเป็นใคร เขาได้ยื่นข้อเสนอแก่อะโซปัสว่าต้องหาแหล่งน้ำให้กับเมืองโครินธ์ ซึ่งเธอก็เลยเนรมิตหินกัอยหนึ่งให้น้ำพุ่งออกมาตลอดเวลา

อะโซปัสจึงตามไปทวงบุตรสาวคืนจากซุสตามที่ที่ซิซีฟัสบอก แต่ชุสก็ฟาดอสุนีบาตใส่นางจนเทพอะโซปัสไหม้ตกลงมาตายจนกลายเป็นถ่านหินไป ภายหลังเทพซุสทราบว่า ซิซีฟัส เป็นผู้บอกเรื่องนี้แก่อะโซปัส เทพซุสจึงส่ง "ทานาทอส" เทพแห่งความตายไปจับเอาดวงวิญญาณของซิซีฟัส แล้วตรวนด้วยโซ้คุมวิญญาณขังไว้ในนรก แต่ซิซีฟัสก็ฉลาดพอที่จะใช้อุบายจับทานาทอสตรวนด้วยโซ้คุมวิญญานนั้นเองได้เฉยเลย แต่ความซวยหนักก็เกิดตามมาเพราะว่าเมื่อเทพแห่งความตายถูกขังทุกคนบนโลกจึงไม่มีใครตาย

เดือดร้อน "เอริส" เทพแห่งสงคราม เพราะว่าทุกการรบนั้นไม่มีใครตายเลย แม้ว่าเอริสจะฆ่าศตรูยังไงก็ไม่ตาย เอริสหัวเสียมาก เมื่อรู้ข่าวว่าทานาทอสถูกขังเอริสจึงไปช่วยทาทานาทอสออกมาจากการคุมขังนั้นด้วยตนเอง

ต่อมาทานาธอสสามารถนำดวงวิญญาณของซิซีฟัสลงนรกจนได้ แต่ซิซีฟัสก็ยังมีความฉลาดแกมโกง ซึ่งก่อนเขาตายนั้นได้สั่งเสียภรรยาไว้ว่า ห้ามทำพิธีศพเด็ดขาด ห้ามนำเหรียญมาวางไว้บนตาและบนปากของเขาเด็ดขาด เมื่อไม่มีพิธีกรรมแห่งความตาย ไม่มีเงินวางไว้บนตาและปาก ก็ไม่มีเงินสำหรับจ้างคนพายเรือไปยังแม่น้ำยมโลก วิญญาณของซิซีฟัสก็ไม่สามารถล่องลอยไปตามแม่น้ำแห่งยมโลกได้ เขาจึงไม่ตาย ซิซีฟัสโกงความตายอีกครั้ง

ความอีรุงตุงนังยังไม่จบเพียงแค่นั้น "เฮดีส" เทพแห่งนรกสงสัยว่าเหตุใดซิซีฟัสผู้เป็นถึงกษัตริย์ของเมืองใหญ่ มีพระราชินีเคียงคู่ แต่กลับไม่มีผู้ใดทำพิธีศพให้ เฮดีสเข้าใจว่าซิซีฟัสอาจสิ้นชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วนไม่ได้สั่งเสียงใครเอาไว้เลย เอดีสจึงปล่อยให้ดวงวิญญาณของซิซีฟัสได้กลับไปบนโลกมีชีวิตอีกครั้งแบบชั่วคราว เพื่อให้ไปสั่งเสียภรรยา อีกทั้งเฮดีส ยังต้องการให้บุคคลรุ่นหลังได้แสดงให้เห็นว่าการที่ภรรยาทำพิธีศพอย่างสมเกียรติให้กับสามีนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีที่ควรปฏิบัติ

แต่มีข้อแม้ว่าจะมีชีวิตได้เพียงแค่ 3 วันเท่านั้นเมื่อสั่งเสียเสร็จแล้ว และจัดงานศพเสร็จสิ้นแล้วจะต้องกลับมายังยมโลกทันที ซิซีฟัสก็ตอบรับปากไปอย่างนั้นเอง

แต่ซิซีฟัส ก็คือ ซิซีฟัส เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด อีกทั้งยังเป็นผู้มีความเจ้าเล่ห์เพทุบาย เขากลับไปโลกมนุษย์แล้วก็ไม่ยอมกลับยมโลกตามสัญญาที่เขาให้ไว้กับเทพเจ้าแห่งนรก ทำให้เทพซุสและเทพเฮดีสโกรธแค้นเป็นอย่างมาก ในฐานะเป็นถึงเทพเจ้าแต่กลับไม่สามารถทำอะไรมนุษย์คนนี้ได้ เดือดร้อนไปถึงเทพเจ้าอีกสามองค์

เทพี "มอยเร" เป็นบุตรี 3 องค์แห่งเทพเจ้าซุส ทั้งสามองค์มีพลังอำนาจในการลิขิตชะตาชีวิตของมนุษย์ เปรียบได้กับพรหมลิขิตของศาสนาพราหมณ์นั่นแหละ เทพีทั้งสามองค์ มีหน้าที่ปั่นเส้นด้ายแห่งชีวิต กำหนดเส้นทางแห่งชีวิต และตัดเส้นด้ายแห่งชีวิตเมื่อหมดสิ้นอายุไข ธิดาทั้ง 3 องค์ทราบถึงความเสียหน้าของเทพบิดา จึงทำการตัดเส้นด้ายชีวิตของซิซีฟัสซะเลย

คราวนี้ซิซีฟัสตายจริง และหมดเล่ห์กลใดในการหลอกมหาเทพอีกแล้ว ด้วยความโกรธแค้นเป็นอย่างมาก เทพเฮดีสจึงสาปให้ซิซีฟัสต้องกลิ้งหินก้อนใหญ่ขึ้นไปบนภูเขาสูง ในนรกขุมที่อยู่ต่ำที่สุดและโหดร้ายที่สุดชื่อว่า "ทาร์ทารัส" และกลิ้งหินถึงจุดสูงสุดของยอดเขาเมื่อไหร่หินจะกลิ้งตกลงมา จากนั้นซิซีฟัสจะต้องกลิ้งหินกลับขึ้นไปใหม่ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

นั่นคือราคามหาศาลที่ซิซีฟัสต้องจ่ายหลังจากที่เขาโกงความตาย

ไพวรินทร์ ขาวงาม กวีซีไรต์ได้เล่าเรื่องของ ซิซีฟัส ผ่านบทกวีไว้ใน หนังสือที่เธอถือมา : เรื่องของ 'ซิซีฟัส ผู้ถูกสาปให้กลิ้งก้อนหินขึ้นภูเขา' ความว่า

..........

ซิฟัง! เทพนิยาย!

เล่าขยาย หลายถนัด

เรื่องของ ‘ซิซีฟัส’

กระทำผิด ถึงต้องทัณฑ์

โดยเทพ สาปลงโทษ

หฤโหด หฤหรรษ์

งานหนัก ต้องกัดฟัน

กลิ้งก้อนหิน ขึ้นภูเขา

การงาน อันมีหวัง

อันไร้หวัง ครั้งแล้วเล่า

หินหนัก มิใช่เบา

กลิ้งขึ้นแล้ว ก็กลิ้งลง

.........

นัยยะสำคัญมากที่ได้จากปกรณัมกรีกเรื่องนี้คือ การที่ซิซีฟัสไม่ยอมปฏิบัติตามกฎของเทพเจ้า รวมถึงการท้าทายอำนาจเทพเจ้านั้น เปรียบเสมือนว่าเขามีแนวคิดมนุษยนิยม เชื่อในความเป็นมนุษย์มากกว่า เทพเจ้า มนุษย์สามารถกำหนดเส้นทางเดินชีวิตด้วยตนเองไม่ยอมให้ใครหรือผู้ใดมามีอำนาจเหนือกว่าได้ โดยเฉพาะคติความเชื่อเรื่องการบูชาการนอบน้อมเทพเจ้านั้นไม่มีความหมายกับซิซีฟัสเลย แต่ในขณะเดียวกันเขากลับตายด้วยการมี่เทพเจ้าถูกตัดเส้นด้ายชีวิต นั่นอาจหมายถึงว่า ต่อให้เรามีความรู้ความสามารถมากแค่ไหน สามารถกำหนดเส้นทางเดินของตัวเองได้มากแค่ไหน แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องพ่ายแพ้แก่อำนาจของสัจธรรมที่ว่า ความตายคือจุดสูงสุดของชีวิต ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้นั่นเอง

การกลิ้งหินของ ซิซีฟัส เป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่สอนให้เราทุกคนได้รู้ว่า บางสิ่งบางอย่างที่เราทำไปตลอดชีวิตที่ต้องวนเวียนทำอย่างซ้ำซากทุกวัน เหมือนเช่นการตื่นเช้าขึ้นมา ทำกิจวัตรส่วนตัว ฝ่าการจราจรไปทำงาน ตกเย็นกลับบ้าน ตื่นเช้ามาทำเช่นเดิมอีก หรือบางสิ่งบางอย่างที่เราทำไป แล้วกลับไม่มีสิ่งใดตอบแทนกลับมาหรือไม่มีจุดใดเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตดีขึ้น ทำไปอย่างไม่มีจุดหมาย ก็ไม่ต่างกับการกลิ้งหินของซิซีฟัส

ซิซีฟัสยอมรับโชคชะตาและบทลงโทษนั้น หลังจากที่เขาทำมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาก็สามารถหาสิ่งดี ๆ จากความเลาร้ายและเหนื่อยล้านั้นได้ เมื่อเขากลิ้งหินขึ้นถึงยอดเขา เขาได้พัก เขาคิดว่าอย่างน้อยที่สุด เขาก็ไม่ต้องกินหินนั้นลงไป มันแค่ครึ่งวันเอง แต่ร้านเขาก็แค่ที่มันกลับขึ้นมา เขาไม่ได้กลิ้งหินนั้นไปตลอดเวลาซะเมื่อไหร่ เขาเรียนรู้ ปรับตัว และยอมรับกับมันได้ เขาค้นความสุขในความทุกข์จนได้

ปรัชญาการกลิ้งหินของซิซีฟัส เป็นการบ่งบอกกับพวกเราว่า ในระหว่างการทำงานอันแสนเหน็ดเหนื่อยนั้น เมื่อถึงเวลาเสร็จสิ้นภารกิจ ความเหน็ดเหนื่อยก็จะหายไป เราอาจได้พักเหนื่อยบ้าง อย่างน้อยที่สุดเวลาที่หินขึ้นมาจุดสูงสุดหินก็จะกลิ้งลงเองโดยธรรมชาติโดยไม่ต้องเหนื่อยแรง ระหว่างนั้นอาจมีเวลาให้หยุดคิดอะไรบ้าง ทบทวนบางอย่างบ้าง แล้วค่อยออกแรงกลิ้งขึ้นไปใหม่ หากมนุษย์เราได้รับรู้ความสุขบนความเหนื่อยยาก แม้ว่าความเหนื่อยยากนั้นจะมีมากมายเพียงใด เราก็สามารถรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นได้ และมองหามุมดีๆ ได้นั้นเอง

และหากจะมองให้ลึกลงไปมากกว่านั้น การกลิ้งหินเป็นสัญลักษณ์ของเวลาที่ต้องวนเวียนไปเรื่อยๆ เป็นตัวกำหนดและควบคุมกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ให้ทำไปอยากซ้ำซาก วนเวียนไปเรื่อย ๆ หากเรามองเห็นสิ่งเหล่านี้ มองหาช่องว่างได้ เราอาจหลุดกับดักของเวลาได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

และหากมองให้ลึกลงไปกว่านั้นอีกนิดหนึ่ง การเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ก็ไม่ต่างกับการกลิ้งหินของการกลิ้งหินของ ซิซีฟัส ต้องต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปเรื่อยๆ เป็นวัฏจักรไม่รู้จบ

ท้ายที่สุดแล้วอาจจะตีความได้ว่า "การเกิด" มีราคาที่ต้องจ่ายแพงที่สุดคือ "การตาย" นั่นเอง

เอกสารประกอบการเขียน

คม ชัด ลึก. (2557). เรื่องของ'ซิซีฟัส ผู้ถูกสาปให้กลิ้งก้อนหินขึ้นภูเขา'. ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.komchadluek.net /news/knowledge/191557

Cashmeirene. (2017). ความสุขในการกลิ้งหินของซิซิฟัส (Sisyphus). ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2562, จาก https://m.pantip.com/topic/36550399?

Greek Myths & Greek Mythology. (2013). The Myth Of Sisyphus. ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม, จาก https://www.greekmyths-greekmy...

หมายเลขบันทึก: 666359เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท