เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชา.ตามตำนานคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน.วัดมหาโพธาราม(วัดเจดีย์เจ็ดยอด)ตอนจบ




เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชา.ตามตำนานคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับคำกลอนตอน.วัดมหาโพธาราม(วัดเจดีย์เจ็ดยอด)ตอนจบ

โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

วัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
ปัจจุบันอยู่ตำบลช้างเผือก เมืองเชียงใหม่
คือวัดมหา โพธาราม ล้านนาไทย
ได้สร้างไว้ ๕๐๘ ปี ที่แล้วมา
หรือคือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ที่เรียก ในปัจจุบัน
ใช่วัดเดียวกัน นั่นแหละหนา
วัดมหาโพธาราม เรียกตาม เมืองล้านนา
มีเรื่อง เล่าความมา แต่บรรพ์กาล

เมื่อครั้งสมัย พระเจ้าอนุรุท มหาราช
กษัตริย์ ผู้เก่งกาจ น่าเกรงขาม
เป็นเจ้าเมือง ครองนคร แห่งพุกาม
แผ่อำนาจ สู่สยาม เมืองงามตา


ต่อมา มีกษัตริย์ ครองเมืองต่อ
พระเจ้าติโลมินโล ไม่รั้งรอ หมดกังขา
จำลองอย่าง มหาเจดีย์เมืองพุกาม ทำตามมา
สร้างวัดเจ็ดยอด สวยสง่า งามเหลือใจ

แต่เรื่องเล่า เนื้อความ มาตามนี้
ค้านตำนาน หลายที่ ว่าไม่ใช่
ตำนานโยนก พื้นเมืองเชียงใหม่ ที่เขียนไว้
วัดเจ็ดยอด นั่นใช่ ทำสังคยา เรารู้กัน


พระเจ้าติโลกราช สร้างไว้ ได้ปรากฏ
พระเจดีย์ งามงด เพื่อสร้างสรรค์
สังคยาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ของโลกที่วัดนั้น
เรารู้กัน วัดเจ็ดยอด หรือมหาโพธาราม

ชินกาลมาลีปกรณ์ เขียนเล่า เอาไว้ว่า
พระเจ้าพิลก ราชา ล้านนาสยาม
ได้ฟังธรรม พระสิงหล จับใจความ
อยากปลูก มหาโพธิ์ตาม ใคร่ครวญดู

ทรงพิจารณา หาที่ อันเหมาะสม
อันรื่นรมย์ ต้นมหาโพธิ์ สมควรอยู่
วัดเจ็ดยอด งดงาม สร้างอาราม งามน่าดู
ปลูกมหาโพธิ์ และเป็นที่อยู่ พระอุตตมปัญญา

ด้วยเหตุ ปลูกต้นโพธิ์ อารามนี้
เพราะพระสิงหล นำกิ่งโพธิ์ที่มี เบื้องขวา
ปลูกไว้วัดป่าแดงเชิงดอยสุเทพด้วยศรัทธา
เป็นเหตุผลที่มาชื่อวัดมหา-โพธาราม

ชินกาลมาลีปกรณ์เขียนเล่ากล่าวไว้ว่า
พระเจ้าพิลก ราชา น่าเกรงขาม
ทรงฟังธรรม ซาบซึ้งใน จับใจความ
อาณิสงส์ ปลูกโพธิ์ตาม ด้วยศรัทธา

กาลก่อน มีภิกษุ เคยปลูกไว้
นั่นคือใช่ กิ่งโพธิ์ ณ.เบื้องขวา
ที่วัดป่าแดง เชิงดอยสุเทพ ที่พบพา
พระราชานาม พิลกธิบดี จึงนำไป

แล้วโปรดสร้าง อารามขึ้นใหม่ เหตุผลว่า
ถวายพระ อุตตมปัญญา ด้วยเลื่อมใส
ปลูกต้นโพธิ์ เชิงดอย จากหัวใจ
วัดจึงได้ชื่อว่า...มหาโพธาราม


หมายเลขบันทึก: 660120เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2019 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2019 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท