เวชกรรมไทย(๒) ระดับบริบาล (Level of care)


ระดับบริบาลเวชกรรมไทยหรือระดับบริการ (Level of care in Thai traditional physician)
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งระดับบริการ(บริบาล) ออกเป็น ๓ ระดับคือ ระดับปฐมภูมิ (Primary care) ระดับทุติยภูมิ (Secondary care) ระดับตติยภูมิ (Tertiry care) แต่อาจจำแนกเพิ่มเติมเป็น ๕ ระดับก็ได้โดยเพิ่มขั้นแรก ๑ เป็น ระดับดูแลตนเอง (Self-care) และระดับ ๕ เป็นระดับความเป็นเลิศ (Super- tertiry / Excellent center) แต่ที่เป็นสากลคือ ๓ ระดับ เพราะSelf care อยู่ใน Primary care และ Excellent center ก็ถือเป็น Tertiry care โดยจำแนกง่ายๆว่า
๑. บริการปฐมภูมิ
เป็นการดูแลขั้นต้นทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ในผู้ป่วยนอกและในชุมชน หรือดูแลได้โดยแพทย์ทั่วไป แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือ นักวิชาการสาธารณสุขใน รพ.สต.(หมออนามัย)
๒. บริการทุติยภูมิ
เป็นการดูแลที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นมีทั้งประเภทผู้ป่วยนอก (Out-patient) และผู้ป่วยใน (In-patient) หรือดูแลด้วยแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก คือ สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
๓. บริการตติยภูมิ
เป็นการดูแลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในในโรคที่ยากซับซ้อน ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสูง หรือใช้เครื่องมือเทคโนโลยีขั้นสูง
ในการจัดระดับบริการเวชกรรมไทย (Level of Thai traditional medical care) ก็สามารถจัดได้เป็น ๓ ระดับเช่นกัน
๑. บริการเวชกรรมไทยปฐมภูมิ (Thai traditinal medical primary care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบผู้ป่วยนอก อาจจัดเป็นคลินิกเวชกรรมไทยในคลินิกเอกชน โรงพยาบาลรัฐและเอกชน
๒. บริการเวชกรรมไทยทุติยภูมิ (Thai traditional medical secondary care
) เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ต้องรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้นหรือผู้ป่วยใน อาจเป็นหอผู้ป่วยรวมหรือหอผู้ป่วยเวชกรรมไทยในโรงพยาบาลแผนปัจจุบันของรัฐหรือเอกชน หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางการแพทย์แผนไทย
๓. บริการเวชกรรมไทยตติยภูมิ (Thai traditional medical tertiary care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยในโรคที่รุนแรง ร้ายแรง รักษายาก ต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉพาะทางการแพทย์แผนไทยที่มีศักยภาพและความพร้อมสูง สามารถรับปรึกษา (Case consult) และรับส่งต่อได้ (Referral system)
ความเข้าใจในระบบบริการและระดับบริการเวชกรรมไทย จะช่วยให้วางระบบได้เหมาะสมและจัดการได้ดี พัฒนาได้ง่าย และที่สำคัญต้องมีโรงพยาบาลเฉพาะทางการแพทย์แผนไทยระดับทุติยภูมิในระดับเขต และระดับตติยภูมิในระดับภาคพัฒนาสถาบันการแพทย์แผนไทยให้เป็นเหมือนสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เป็นสถานพยาบาลระดับ Excellent centerของประเทศไทยด้านการแพทย์แผนไทย เหมือนกรมสุขภาพจิต ที่มีการสร้าง รพ.จิตเวชในเขตต่างๆ และมีสถานพยาบาลใหญ่ๆเช่น รพ.ศรีธัญญา รพ.สมเด็จเจ้าพระยา รพ.สวนปรุง เป็นต้น เมื่อเป็น รพ.เฉพาะด้าน ก็เน้นเฉพาะการแพทย์แผนไทย ไม่ต้องไปพ่วงเอาการแพทย์ทางเลือกใส่ไปด้วย
พิเชฐ บัญญัติ, พ.บ., พท.บ., ส.ม.
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย

หมายเลขบันทึก: 659731เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2019 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2019 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท